“ท้องเสีย”แบบไหนควรกินยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ กินผิดเสี่ยงดื้อยา
ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ แบบไหนควรกินยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ เพราะหากกินผิดวัตุประสงค์อาจเสี่ยงเกิดอาการดื้อยาการรักษาครั้งต่อไปต้องใช้ยาที่แพงขึ้นประสิทธิภาพน้อยกว่าเดิม
สภาพอากาศในตอนนี้เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวฝน ไม่ยอมหนาวสักที ทำให้ต้องระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษเพราะเน่าเสียง่ายอาจเผลอกินเข้าไปโดยไม่รู้ตัวเกิดอาหารท้องเสีย อาหารเป็นพิษได้ ซึ่งคนส่วนมากมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่ซื้อยาฆ่าเชื้อกินเองได้ ซึ่งความจริงท้องเสียไม่จำเป็นต้องกินยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะเสมอไป
อาการท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง เป็นอาการที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรืออาหารรสจัดจนทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว โดยส่วนใหญ่แล้วอาการท้องเสียจะหายได้เอง
ท้องเสียไม่ธรรมดา รู้ทันก่อนเสี่ยง “ลำไส้ใหญ่อักเสบ”
"กลืนอาหารลำบาก - ปวดท้องบ่อย" ควรตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหาร
โดยท้องเสียธรรมดา สามารถทดแทนน้ำในร่างกายที่เสียไปด้วยเกลือแร่ แต่หากถ่ายหนักถ่ายไม่หยุดถ่ายเป็นมูกเลือด หรือเป็นน้ำ ร่วมกับปวดท้องบิด ควรพบแพทย์หรือเภสัชเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องท้องเสียแบบไหนควรรับยาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ
กลุ่มคนที่มีอาการท้องเสียมากถ่ายเป็นมูกเลือด หรือมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือน้ำซาวข้าว รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระหายน้ำ ปากคอแห้ง หน้ามืดควร
อาการท้องเสียแบบธรรมดา ถ่ายเหลวไม่มีเลือดปนสามารถหายได้เองหรือดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำที่เสียไปได้และไม่มีอาการขาดน้ำนั้น ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อ
เพราะการกินยายาฆ่าเชื้อหรือยาปฏิชีวนะ พร่ำเพรื่อนั้นอาจทำให้เกิดการดื้อยาได้ เพราะการกินยาชนิดนี้นั้นต้องกินให้ครบตามกำหนด ถึงแม้ว่าอาการป่วยจะดีขึ้นแล้วก็ยังคงต้องกินต่อเนื่อง หากกินยาไม่ครบอาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล และทำให้เกิดการดื้อยาได้ ทำให้การรักษาครั้งต่อไปต้องใช้ยาที่แพง หรืออาจทำให้รักษาได้ยากขึ้นนั่นเอง
แผลในกระเพาะอาหาร อาการปวดท้องจากติดเชื้อ H. PYLORI
วิธีการป้องกันท้องเสียสามารถทำได้
- กินอาการปรุงสุก สะอาด ไม่มีแมลงวันหรือมดตอม
- เช็กก่อนกินเสมอว่าไม่มีกลิ่นที่แปลกไป
- ดื่มน้ำสะอาด
- ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังจากถ่ายอุจจาระ
- ใช้ช้อนกลางเสมอ
ทั้งนี้หากมีอาการปวดท้องและท้องเสียที่ผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องป้องกันการช็อกจากการเสียน้ำนะคะ
ข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลเปาโล
เคล็ดลับปาร์ตี้ “ปิ้งย่าง-หมูกระทะ”ไม่ให้อ้วนปลอดภัยจากอันตรายแฝง
อาการ "ปวดท้อง" อย่าปล่อยไว้ รีบตรวจเช็ก บางโรคอาจต้องผ่าตัด