เช็ก! สัญญาณโรคไตเสื่อม ปัสสาวะสีผิดปกติ-เป็นฟอง ปวดหลัง ใช่หรือไม่?
สัญญาณเตือนโรคไต ที่ร่างกายมักฟ้องออกมาเป็นระยะ แต่เราอาจมองข้าม เช็กลิสต์ความผิดปกติของร่างกายเสี่ยงโรคไตเสื่อม
ไต มีหน้าที่สำคัญที่ คือการสร้างปัสสาวะช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย รักษาความปกติของน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิตสร้างเม็ดเลือดแดงดังนั้นเมื่อใดไตของคุณทำงานน้อย จึงลงมักเกิดปัญหาความดันโลหิตสูง และโลหิตจางตามไปด้วย
จากรายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงที่สุด เพราะ บริโภคโซเดียมมากถึง 3,635 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่า เกลือประมาณ 2 ช้อนชา สูงกว่าปริมาณที่แนะนำเกือบ 2 เท่า
กลุ่มอาหารโซเดียมสูง กินมากเสี่ยงไตวาย-โรคหัวใจ-กระดูกพรุน
เช็กเลย! ปัจจัยเสี่ยงโรคไต และ 11 วิธีป้องกัน ไตแข็งแรง
โซเดียมเกือบทั้งหมดมาจากอาหาร เครื่องปรุงรสต่างๆและอาหารสำเร็จรูปต่างๆซึ่งปัจจุบันคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน โดยเป็นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องรับการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องมากกว่าหนึ่งแสนคน และมีแนวโน้มว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเพิ่มขึ้น 15-20% ต่อปี
อาการหลักของคน “ไต” ไม่ดี
- บวม ในระยะแรกอาจมีเพียงการบวมที่หนังตา และหน้า ต่อมาจะมีการบวมที่ขา และเท้าทั้งสองข้าง หากลองใช้นิ้ว นิ้วกดที่หน้าแข้ง ไว้สักพัก แล้วปล่อยจะมีรอยบุ๋มอยู่แสดงว่าบวมแน่น อาการบวมเช่นนี้เกิดจากการมีน้ำและเกลือเพิ่มขึ้นในร่างกาย อาจเป็นข้อบ่งชี้โรคไต ร่วมถึงโรคหัวใจ และโรคตับ ดังนั้นถ้ามีการบวมทั้งตัวความรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจเช็ค
- ปัสสาวะมีสีเลือด และมีฟองมาก เพราะมี Albumin หรือโปรตีนออกมามาก ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดจากโรคต่างๆ ได้หลายชนิด ไม่เฉพาะเส้นเลือดฝอยของไตอักเสบ แต่ยังมีโรค นิ่ว เนื้องอกของทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรืออุบัติเหตุกับทางเดินปัสสาว
- ปัสสาวะบ่อย อาจเป็นอาการของโรคไตวายในระยะแรก ดังนั้นถ้ามีอาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะหากมากกว่าวันละ 3 ลิตร หรือตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรักษา อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อยอาจจะไม่ได้เกิดจากโรคไต แต่เกิดจากสาเหตุอื่นเช่นโรคเบาหวาน,กระเพาะปัสสาวะอักเสบ,การดื่มน้ำมากเกินไป เป็นต้น
- ปัสสาวะน้อยลง หากดื่มน้ำมากแต่ปัสสาวะไม่ออกมากตามหรือปัสสาวะไม่ออกเลย มักเกิดจากการทำงานของไตเสียไป หรือมีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ หากมีอาการลักษณะนี้ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาโดยทันที
- มีอาการปวดบั้นเอวหรือบริเวณสีข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง)อาจจะพบที่บริเวณเอวเกิดจากรอยโรคที่บริเวณไต โดยสาเหตุมักเกิดจาก นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดจากโรคถุงน้ำที่ไต หรือเนื้องอกของไตได้
วิธีดูแลไตไกลโซเดียม แนะปริมาณโปรตีนตามไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะผู้ป่วยไตเสื่อม
สัญญาณชัดโรคไตเสื่อม คือการที่ไตเสื่อมการทำงานลงอย่างช้าๆและมีการสูญเสียเนื้อไต และมักจะแสดงอาการเมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น อาการที่สังเกตได้มีดังนี้
- ผิวหนังมีสีซีดหรือคล้ำขึ้น อาจมีอาการคันด้วย
- เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ขี้หลงขี้ลืม ความจำไม่ดี
- ปวดหัวง่าย จาม คัดจมูก เป็นหวัดง่าย
- ปัสสาวะสีแดงหรือเข้มขึ้นปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยหลับไม่สนิทหรือนอนไม่ค่อยหลับ
- กล้ามเนื้อกระตุก ปวดตามตัว ปลายเท้าและปลายมือชาเนื่องจากปลายประสาทอักเสบ เป็นตะคริวและชัก
ทั้งนี้หากไตวายมาก จะมีการคั่งของเกลือและน้ำ ความดันโลหิตสูง มีอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย บางรายมีอาการเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
แนวทางการชะลอการเสื่อมของไต
- ควบคุมความดันโลหิตสูงเกิน 140/90 มม.ปรอท
- งดสูบบุหรี่เหล้า กาแฟ จำกัดโซเดียมน้อยกว่า 2 กรัม/วัน (เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา)
- ผู้ที่มีเบาหวานร่วมด้วย จะต้องคุมน้ำตาลให้น้อยกว่า 120 มก/ดล
- จัดอาหารเพื่อบำบัดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาหารโปรตีนต่ำจะช่วยชะลอการเสื่อมของไตได้
- งดการใช้ซอสปรุงรสที่มีเกลือมาก ผักผลไม้ดองเค็ม อาหารสำเร็จรูป
- ใช้ยาตามแพทย์จะเป็นผู้สั่ง
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล
เช็กเลย! ปัจจัยเสี่ยงโรคไต และ 11 วิธีป้องกัน ไตแข็งแรง
“ปลาร้า”กินพอดีได้แหล่งโปรตีนขั้นเลิศ กินมากไปโซเดียมสูงเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง