“ปวดเรื้อรัง”สัญญาณ“มะเร็งกระดูก”อายุน้อยเสี่ยง! เผยวิธีรักษาไม่สูญเสียอวัยวะ
มะเร็งกระดูก ภัยเงียบ พบมากในคนอายุน้อย สาเหตุยังไม่ชัดเจน คาดเกิดจากเซลล์กระดูกผิดปกติเอง หรือ มะเร็งลุกลามมาจากส่วนอื่น แนะวิธีสังเกตอาการหาก ปวดกระดูกหนักแบบเรื้อรังหรือกระดูกหักไม่ทราบสาเหตุ รีบพบแพทย์ เจอเร็วไม่สูญเสียอวัยวะ
โรคมะเร็งกระดูก (Bone cancer หรือ Malignant bone tumor) เป็นโรคมะเร็งที่พบในเด็กโต จนถึงวัยรุ่นหนุ่มสาวช่วงอายุที่พบมากที่สุดในอายุประมาณ 10-20 ปีซึ่งโรคมะเร็งกระดูกพบได้เพียงประมาณ 6% ของโรคมะเร็งในเด็กทั้งหมดแต่ก็อาจพบในช่วงอายุอื่นๆได้บ้างทั้งในเด็กเล็กจนถึงในผู้สูงอายุ ส่วน สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งกระดูก ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสริมที่เพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งกระดูก อาทิ
- ได้รับอันตรายจากการล้ม
- ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีในปริมาณมากๆ เป็นต้น
- ความผิดปกติของยีนในร่างกาย
วิธีแก้ท้องอืดปรับสมดุลลำไส้ ปล่อยทิ้งไว้นานอาจเป็นสัญญาณโรคมะเร็ง
- เกิดจากกระตุ้นโดยสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี ยาฆ่าแมลง สารรังสี เป็นต้น
- เกิดขึ้นจากการรักษาในปัจจุบัน เช่น การให้เคมีบำบัด การให้รังสีรักษา เหล่านี้กระตุ้นทำให้เกิดมะเร็งขึ้นโดยง่ายนอกจากนี้เป็นเรื่องการเปลี่ยน
- “มะเร็งกระดูกชนิดปฐมภูมิ” ที่เกิดจากเซลล์ของกระดูกเอง พบได้ไม่บ่อยได้แก่
- มะเร็งชนิดออสติโอซาโคม่า จะพบในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี
- มะเร็งกระดูกอ่อน พบในกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 45 ปีขึ้นไป จะพบที่บริเวณกระดูกขาโดยรอบเข่า กระดูกต้นแขน และกระดูกเชิงกราน เป็นส่วนใหญ่
- “มะเร็งกระดูกชนิด ทุติยภูมิ” เป็นมะเร็งที่ลุกลามจากมะเร็งอวัยวะอื่นในร่างกายมายังกระดูก ซึ่งพบได้บ่อย มะเร็งต้นกำเนิดที่พบมาก เช่น มะเร็งเต้านม ปอด ต่อมไทรอยด์ ต่อมลูกหมาก ไต เป็นต้น เมื่อมะเร็งแพร่กระจายมายังกระดูกทำให้กระดูกอ่อนแอลงและหักได้ เนื่องจากเซลล์มะเร็งทำลายกระดูก เซลล์มะเร็งสามารถกระจายไปยังกระดูกทุกชิ้นในร่างกาย ที่พบบ่อย คือกระดูกสันหลัง รองลงมาคือ กระดูกสะโพก
สัญญาณมะเร็งกระดูก
- อาการปวดแบบทุกข์ทรมานตลอดเวลา และมีปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ปวดในเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน
- มีก้อนเกิดขึ้น มีการผิดรูปของอวัยวะ เช่น แขนขาผิดรูป
- กระดูกหักแบบไม่มีเหตุในการที่จะหัก เช่น เดินแล้วหัก
- อาการของทางระบบประสาท เช่น อาการชา อาการอ่อนแรง จนกระทั่งเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น
“มะเร็งต่อมลูกหมาก” โรคคุณผู้ชายต้องระวังปัจจัยเสี่ยงก่อนลุกลาม
การรักษาโรคมะเร็งกระดูก
ใช้การผ่าตัดเป็นหลัก โดยทำร่วมกับการฉายแสงและการให้เคมีบำบัดเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งให้หมดไป โดยปัจจุบันมีการแนะนำให้ทำการผ่าตัดแบบเก็บอวัยวะ (limb-salvage/limb-sparing surgery) เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า คือสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ โดยไม่สูญเสียแขนหรือขา
ในปัจจุบัน มีการใช้อุปกรณ์ทดแทนอวัยวะ (endoprosthesis) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยลดความกังวลที่ไม่ต้องตัดอวัยวะออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็ก โดยวิธีการผ่าตัดที่มีการใช้อุปกรณ์ทดแทนนั้น แพทย์จะทำการตัดกระดูกและเนื้อเยื่อรอบข้างออก ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นสามารถผ่าตัดเอาเนื้องอกหรือมะเร็งออกได้โดยไม่ต้องตัดแขนหรือขาที่เป็นโรคออก หลังจากนั้นแพทย์จะใส่โลหะข้อเทียมชนิดพิเศษแทนกระดูกส่วนที่ถูกตัดออกไป โดยข้อโลหะเทียมชนิดพิเศษนี้มีความแข็งแรงและทนทาน ช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ มีอวัยวะครบถ้วน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าการผ่าตัดที่ต้องเสียอวัยวะ
ทั้งนี้ อาจมีผู้ป่วยบางรายที่จำเป็นต้องตัดแขนหรือขาออกเพราะก้อนเนื้องอกนั้นมีขนาดใหญ่มาก หรือมีการทำลายเส้นเลือดและเส้นประสาทใหญ่ข้างเคียงจนไม่สามารถผ่าตัดในแบบที่เก็บแขนหรือขาไว้ได้ ดังนั้นการจะเลือกผ่าตัดแบบใดก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของโรคที่เป็นด้วย
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล,โรงพยาบาลพญาไท, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
7 สัญญาณ “โรคมะเร็ง” เนื้อร้ายคุกคามชีวิตรู้เร็วรักษาได้
แผลในปากไม่ยอมหาย! 1 ใน สัญญาณ“มะเร็งช่องปาก” เจอเร็วรักษาได้