ฝุ่น PM2.5 กระตุ้นภูมิแพ้-ปวดหัวไมเกรน อาการแพ้และวิธีการหลีกเลี่ยง
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน 70 พื้นที่ของกรุงเทพฯ ซึ่ง แอพพลิเคชั่น IQAir รายงานสภาพอากาศของกรุงเทพ ประเทศไทย ในเวลา 10.00 น. ขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากประเทศ คูเวต และมุมไบ อินเดีย ซึ่งหลายคนอาจจะมีอาการคันตามตัว ไอจาม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ฝุ่น PM 2.5 ภัยร้ายตัวจิ๋วที่บั่นทอนสุขภาพ และยากที่จะหลีกหนี สามารถเข้าไป กระตุ้นอาการภูมิแพ้อากาศ คัดจมูกไปจนปวดไมเกรน หรือผดผื่นคันเพราะปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง รวมทริคดูแลสุขภาพทั้งประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วยภูมิแพ้และไซนัมอักเสบ
ฝุ่น pm 2.5 คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีอันตรายและมีผลกระทบต่อสุขภาพ เราสามารถพบฝุ่น pm 2.5 ได้ ในบรรยากาศทั่วไป โดยสามารถพบได้ทั้งภายนอกอาคารและภายในอาคาร โดยภายนอกอาคารพบได้จากการเผาไหม้ทางการเกษตร การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซลทั้งในยานพาหนะและอุตสาหกรรม ในอาคารอาจเกิดจากการทำอาหารที่มีการเผาไหม้ เช่น ปิ้งย่างด้วยเตาถ่าน แต่ถึงแม้จะไม่มีการกำเนิดฝุ่น pm 2.5 ในอาคาร ด้วยขนาดของฝุ่น pm2.5 ที่เล็กมาก จากงานวิจัยพบว่าสามารถลอดผ่านตามช่องประตู หน้าต่างเข้ามาภายในอาคารได้
จากการวิจัยพบว่าฝุ่นละอองที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้สามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจผ่านโพรงจมูกเข้าไปถึงถุงลมในปอด ทำให้เกิดการอักเสบ และการระคายเคืองเรื้อรัง และฝุ่นละอองจะมีพิษมากขึ้น หากฝุ่นละอองนั้นเกิดจากการรวมตัวของก๊าซบางชนิด
ระดับความหนาแน่นของฝุ่น กับ ผลกระทบต่อสุขภาพ
- ที่ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 51 ถึง 100 : คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ อาจเริ่มมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจเหนื่อยได้ หากอยู่ในที่กลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน
- ที่ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 101 ถึง 150 : คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ จะมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจหอบเหนื่อยได้ คนไข้กลุ่มนี้ควรเลี่ยงการออกไปในที่กลางแจ้ง
- ที่ระดับความเข้มข้นของดัชนีคุณภาพอากาศ ( Air Quality Index : AQI) 151 ขึ้นไป : คนไข้กลุ่มที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ จะมีอาการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม หายใจหอบเหนื่อยได้ คนไข้กลุ่มนี้ไม่ควรออกไปในที่กลางแจ้ง ส่วนบุคคลกลุ่มอื่นควรเลี่ยงการออกไปในที่กลางแจ้ง อาจทำให้มีอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก จาม คัดจมูก หรือผิวหนังอักเสบ ผื่นคันได้
อาการแพ้ฝุ่น pm 2.5
ดูแลตัวเองยังไงในช่วงที่อากาศหนาแน่นด้วย ฝุ่น pm 2.5
- เช็กค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน ผ่านแอพพิเคชัน
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ทานอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้มากๆ รับประทานผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ
- หลีกเลี่ยงการออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง หากเป็นวันที่ค่าของฝุ่น pm 2.5 เกินค่ามาตรฐาน
- ออกกำลังกายภายในอาคารแทน ปิดประตูหน้าต่างให้สนิทป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นเข้ามาในอาคาร
- ในผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบ และหอบหืด ควรใช้ยาสูดทางปาก และยาพ่นจมูกต่อเนื่อง หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ พิจารณาการล้างจมูกอาจช่วยลดทั้งฝุ่น pm 2.5 ในทางเดินหายใจส่วนบน และสารก่อภูมิแพ้ได้
- แนะนำใช้เครื่องฟอกอากาศที่มี HEPA ( High efficiency particulate air) filter เพื่อช่วยกรองฝุ่น pm 2.5 ภายในอาคาร
- ใส่หน้ากาก N95
- ในผู้ป่วยกลุ่มภูมิแพ้ผิวหนัง แนะนำใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิด และหลังกลับเข้ามาภายในอาคารแนะนำเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำ สระผมชำระล้างร่างกายที่อาจนำพาฝุ่นเข้ามาภายในอาคาร
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบางพญาไท และ โรงพยาบาลเปาโล