“โซดาไฟ” รู้จักพิษผิวไหม้-เสี่ยงตาบอดและวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
หลายต่อหลายครั้งที่ เราได้ยิน อันตรายของ “โซดาไฟ” หรือโซเดียม ไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) ที่ใช้ในครัวเรือน ซึ่งแต่ละเคสรุนแรงและไม่ควรมองข้ามด้านความปลอดภัย รู้จักคุณสมบัติ พิษโซดาไฟ และวิธีป้องกัน รอบด้าน
โซเดียม ไฮดรอกไซด์ (Sodium hydroxide) หรือ โซดาไฟ (caustic soda) สูตรทางเคมี คือ NaOH มีสมบัติเป็นเบสแก่ และมีฤทธิ์กัดกร่อน ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ อุตสาหกรรมสบู่และสารซักล้าง เป็นต้นและเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน โดยส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นน้ำยาทำความสะอาดท่อ ซึ่งมีฤทธิ์เป็นเบสรุนแรงและเป็นกรดรุนแรง สามารถกัดกร่อนได้ทันทีที่ถูกพื้นผิวและละลายในน้ำได้ดีเยี่ยม
“ไซยาไนด์” วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 พิษแบบฉับพลันรุนแรง
“ไซยาไนด์” ในมันสำปะหลัง-หน่อไม้สด อันตรายหรือไม่?
โซดาไฟมีลักษณะเดินเป็นของแข็ง (ในรูปแบบผง เกล็ด เป็นแท่งหรือ เม็ดกลม) สีขาว ไม่มีกลิ่น ดูดความชื้นและคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535จุดหลอมเหล 318 องศาเซลเซียส
ข้อมูลพิษวิทยาของโซดาไฟ
- การหายใจเข้าไป ระคายเคืองจมูก คอ ปอด ไอ แสบคอ หายใจถี่ หายใจลำบาก
- การสัมผัสทางผิวหนัง กัดกร่อนผิวหนัง ผิวหนังเป็นผื่นแดง ผิวหนังไหม้
- การสัมผัสทางดวงตา กัดกร่อนดวงตา ตาแดง ตามัว ดวงตาไหม้อย่างรุนแรง อาจตาบอดได้
- การกลืนกิน แสบคอและหน้าอก ปวดท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ช็อก อาจหมดสติ หรือเสียชีวิต
- อาการที่ปรากฏเด่นชัด แสบร้อน ไอ หายใจมีเสียง หลอดลมตอนบนอักเสบ หายใจถี่ ปวดหัวคลื่นไส้ และอาเจียน
ข้อควรระวังเมื่อใช้โซดาไฟ
- หลีกเลี่ยงการหายใจเอาฝุ่นสารเข้าไป
- สวมถุงมือป้องกัน/ชุดป้องกัน/อุปกรณ์ป้องกันดวงตา/อุปกรณ์ป้องกันหน้า
- จัดเก็บในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศได้ดี ปิดภาชนะบรรจุให้แน่น จัดเก็บในสถานที่ที่ปิดล็อกได้
- ถ้าหายใจเข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปยังที่ที่มีอากาศ บริสุทธิ์ และให้พักผ่อนในลักษณะที่หายใจได้สะดวก
- ถ้าสัมผัสผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนทั้งหมดออกทันที ล้างด้วยสบู่และน้ำปริมาณมาก
- ซักเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารให้สะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่
- หากเข้าตา ล้างด้วยน้ำเป็นเวลาหลาย ๆ นาที ให้ถอดคอนแทคเลนส์ออก หากถอดออกได้ง่าย ให้ล้างตาต่อไป 15 นาที และนำตัวส่งแพทย์ทนที
- ถ้ากลืนกิน ให้ล้างปาก ห้ามทำให้อาเจียน และนำตัวส่งแพทย์ทนที
- หลีกเลี่ยงการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การจะใช้สารเหล่านี้คุณต้องแน่ใจว่าได้ใส่อุปกรณ์ป้องกันแล้วเป็นอย่างดี ทั้งถุงมือแว่นตา และหน้ากากปิดจมูก เพื่อป้องกันการกระเด็นมาถูกผิวหนังและดวงตา เพราะฤทธิ์ของมันเพียงน้อยนิดก็พอที่จะทำให้เกิดแผลไหม้พุพองและหากเข้าตาก็อาจตาบอดได้
ยาต้านพิษไซยาไนด์“โซเดียมไทโอซัลเฟต”วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ กรมอนามัย ได้ออกมาเตือนถึงการใช่กระดาษทิชชูซับมันอาหาร ว่า เนื้อเยื่อเล็กๆ ของกระดาษทิชชูจะติดในอาหาร ทําให้เราได้รับสารเคมี ต่ างๆ ได้เนื่องจากกระดาษทิชชูผลิตมาจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ โดยมีวัตถุดิบ คือ ต้นไม้ เช่น ต้นไผ หรือต้นไม้อื่นๆ แต่ปัจจุบันมีการนํากระดาษหมุนเวียนใหม่ เช่น กระดาษ A4 ที่ใช้แล้ว นําไปผลิตกระดาษทิชชู หรือแม้แต่กระดาษฟางที่ผลิตจากฟางข้าว ซึ่ง ในกระบวนการตีวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อต้องใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ และเพื่อความขาวน่าใช้ จึงมีการใช้สารคลอรีนฟอกขาวและมีสารไดออกซิน ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็งเป็นส่วนประกอบด้วย เมื่อโซดาไฟทําปฏิกิริยากับโปรตีนและไขมันจะมีฤทธิ์ กัดกร่อนเนื้อเยื่อรุนแรง หากได้รับอย่างสะสมต่อเนื่อง อาจทำให้มีอาการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจส่วนบน ทําให้จาม ปวดคอ นํ้ ามูกไหล ปอดอักเสบรุนแรง หายใจขัด การสัมผัสถูกผิวหนังจะระคายเคืองรุนแรง เป็นแผลไหม้และพุพองได้ การ กลืนกินทําให้แสบไหม้บริเวณปาก คอ และกระเพาะอาหาร
ฉะนั้นควรเลือก กระดาษซับมันที่ผลิตมาเพื่อใช้กับอาหารโดยเฉพาะ และต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐานระดับสากล เช่น HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นมาตรฐานการผลิตที่มีมาตรการป้องกันอันตราย ที่ผู้บริโภคอาจได้รับจากการบริโภคอาหาร
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะทำงานวิชาการด้านความปลอดภัยสารเคมีอันตราย,กรมอนามัย และ กองควบคุมวัตถุเสพติด อย.
ขอบคุณภาพจาก : wikipedia
อย. เตือน อย่าใช้น้ำยาซักผ้าขาวร่วมกับน้ำยาล้างห้องน้ำ ย้ำเกิดก๊าซพิษอันตรายถึงชีวิต
ซีเซียม-137 สารกัมมันตรังสีอันตราย สัมผัสอาจผิวไหม้พุพอง สะสมนานก่อมะเร็งได้