อาการ-ความเสี่ยง"มะเร็งปอด" ที่คนไทยเสียชีวิตวันละ 40 คน
บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้านับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด แต่ยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยอายุน้อยลงต่อเนื่อง เช็กความเสี่ยง-อาการและวิธีรักษาได้ที่นี้!
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยสถิติปลายปี 2565 ว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดวันละกว่า 40 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่ากังวลอยู่ไม่น้อย ทั้งผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในไทยยังพบในช่วงอายุน้อยลงดังนั้นไม่ควรชะล่าใจกับสัญญาณหรือความเสี่ยงต่างๆ เพราะแม้ว่าจะดูแข็งแรงดี แต่ทุกคนมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดได้!
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด
-
บุหรี่ สาเหตุหลักที่ทุกคนทราบถึงพิษภัยของบุหรี่อยู่แล้ว ว่า ในบุหรี่หนึ่งมวนมีทั้งนิโคตินและสารพิษมากมาย และเข้าสู่ปอดได้โดยตรง
“มะเร็งปอด” ที่ไม่ใช่แค่สูบบุหรี่กับ 7 สัญญาณเตือนโรคระยะแรก
มะเร็งปอด ไอเรื้อรังแบบไหนสัญญาณเตือน ลุมลามไปอวัยวะไหนได้บ้าง?
โดยมีการสะสมตามจำนวนปีและปริมาณที่สูบ จึงส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสองจากคนใกล้ชิดเป็นประจำก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน
-
บุหรี่ไฟฟ้า เป็นที่นิยมอยู่มากในปัจจุบัน แม้ผู้สูบจะได้รับสารต่างๆ น้อยกว่าการสูบบุหรี่แบบปกติ แต่ในบุหรี่ไฟฟ้าก็ยังมีสารก่อมะเร็งอย่างนิโคตินและไนโตรซามีนอยู่เช่นเดิม
-
การได้รับสารเคมี เช่น แอสเบสทอสหรือแร่ใยหิน ที่มักมีอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ เหมืองแร่ ก่อสร้าง หากสูดดมบ่อยๆ ก็เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน
-
ฝุ่นและควัน โดยฝุ่นที่อยู่ใกล้ตัวเราที่สุดคือ ฝุ่น PM.2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นผงขนาดเล็กที่เมื่อหายใจเข้าไปแล้ว ฝุ่นเหล่านี้จะสะสมอยู่ในปอดและก่อให้เกิดอาการอักเสบ
-
ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด
อาการของโรคมะเร็งปอด
ส่วนใหญ่โรคมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นมักไม่แสดงอาการ ถ้าเริ่มมีอาการเมื่อไหร่ นั่นหมายถึงอยู่ในระยะลุกลามแล้ว โดยมีอาการที่พบมักมีดังนี้
- ไอเรื้อรัง
- หายใจลำบาก
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- เสียงแหบ
- เหนื่อยง่าย เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
ชนิดและระยะของโรคมะเร็งปอด
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก มี 2 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลาม และพบเซลล์มะเร็งในปอด 1 ข้าง หรืออวัยวะข้างเคียง
- ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งลุกลาม เริ่มแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก มี 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดน้อยกว่า 5 ซม. ส่วนใหญ่มักแสดงอาการไม่มากนัก
- ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายในปอดหรือต่อมน้ำเหลือง อาจมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม.
- ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียง ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ขึ้น
- ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งกระจายไปยังส่วนที่อยู่ไกลขึ้น เช่น กระดูก ตับ หรือสมอง เป็นต้น
ผู้หญิงเสี่ยงมะเร็งมากกว่าผู้ชาย? เช็ก 5 มะเร็งที่พบมาก-สัญญาณเตือน
การรักษาโรคมะเร็งปอด
-
การผ่าตัด ใช้กับการรักษามะเร็งในระยะแรกที่ยังไม่แพร่กระจาย หรือกระจายไปไม่ไกล โดยผ่าตัดนำก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อใกล้เคียงออก
-
การใช้เคมีบำบัด เป็นการให้ยาที่ทำลายเซลล์มะเร็ง และบรรเทาอาการปวดก่อนผ่าตัด ผ่านการฉีดยาเข้าเส้นเลือด
-
การฉายรังสี เป็นการใช้แสงที่มีพลังความเข้มข้นสูงฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ และกลุ่มที่มะเร็งลุกลามเฉพาะที่ วิธีนี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ
มะเร็งหลายชนิด หากได้รับการตรวจพบเร็ว คือพบในระยะแรกหรือระยะก่อนมะเร็ง จะมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ค่อนข้างสูง ที่สำคัญคือเราทุกคนไม่ควรประมาท หากเราใส่ใจในการดูแลสุขภาพควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง ไม่ว่าจะจากพฤติกรรม พันธุกรรม และอายุที่มากขึ้นหากพบก็จะทำให้รักษาได้ทันท่วงที และมีทางเลือกในการรักษามากขึ้นอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท
ภาพจาก : Shutterstock
“บุหรี่ไฟฟ้า” อันตรายน้อยกว่า-ช่วยเลิก “บุหรี่มวน”ได้จริงหรือไม่ ?
ผลสำรวจวัยรุ่นติดบุหรี่ไฟฟ้าเนื่องจากเพื่อนชวน-พบสูบร่วมบุหรี่มวน