คัดกรองโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก ทำไมต้องตรวจมะเร็งลำไส้ใหญ่?
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะโลหิตจาง คือการขาดธาตุเหล็ก แนะวิธีการคัดกรองโดยเฉพาะในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน อาจต้องตรวจค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้และแนวทางการรักษาตามแพทย์แนะนำ!
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะโลหิตจาง เพราะธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบหลักในการสร้างเม็ดเลือดแดง หากไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง และขนาดเล็กลง ทำให้นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ลดลงตามไปด้วย สาเหตุของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก มักเกิดจากการสูญเสียเลือดเรื้อรัง โดยเฉพาะการเสียเลือดไปทางประจำเดือน และการเสียเลือดในทางเดินอาหาร หรือเกิดจากการทานอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย
อ่อนเพลีย- ใจสั่น สัญญาณภาวะโลหิตจาง เผยสาเหตุเลือดจางอันตราย!
คนไทยกว่า 22 ล้านคนเป็น“พาหะธาลัสซีเมีย” โรคพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุด
Freepik/freepik
คัดกรองโลหิตจาง

อาการภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
- เหนื่อยง่าย
- อ่อนเพลีย
- วูบ หน้ามืด เวียนศีรษะ
- ง่วงนอนมากกว่าปกติ
- หัวใจเต้นเร็ว
- ใจสั่น เจ็บหน้าอก
- เล็บเปราะง่าย ผมร่วง
- ผิวแห้ง ตัวซีด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางราย เมื่อร่างกายมีการปรับตัวต่อภาวะโลหิตจางอาจทำให้ไม่รู้สึกว่ามีอาการที่ผิดปกติไป นี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยบางรายตรวจพบภาวะโลหิตจางจากการมาตรวจสุขภาพประจำปี
ตรวจคัดกรองโรคโลหิตจาง
- ตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ซึ่งสามารถตรวจพบภาวะโลหิตจางร่วมกับขนาดเม็ดเลือดแดงตัวเล็กได้
- การตรวจร่วมกันระหว่าง Serum iron, Total Iron Binding Capacity (TIBC), Transferin saturation, และ Ferritin เพื่อหาปริมาณธาตุเหล็กในร่างกายว่าต่ำกว่าปกติหรือไม่
- การตรวจโดยสูตินรีแพทย์ในผู้ป่วยหญิงที่มีประจำเดือนมากกว่าปกติ เพราะอาจเป็นต้นเหตุของการขาดธาตุเหล็กจนก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้เช่นกัน
- ตรวจหาภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารเรื้อรัง โดยเฉพาะในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โดยการตรวจหาเลือดในอุจจาระ และอาจต้องตรวจด้วยวิธีส่องกล้องทางเดินอาหารเพิ่มเติม เพื่อค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้
สาเหตุภาวะซีด โลหิตจางในเด็ก ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่พ่อแม่ต้องระวัง!
แนวทางการรักษาโรคโลหิตจาง
- ใช้ยาธาตุเหล็ก ทั่วไปแพทย์จะให้ทานต่อเนื่องอย่างน้อย 3-6 เดือน
- การฉีดธาตุเหล็ก มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาชนิดรับประทาน หรือต้องการเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของเลือดอย่างรวดเร็ว
- การให้เลือด จะให้เฉพาะกรณีต้องการเพิ่มปริมาณความเข้มข้นเลือดอย่างรวดเร็ว
- ตรวจและรักษาสาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
- เข้าพบแพทย์ตามนัด เพื่อตรวจติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากอาจกลับมาเป็นซ้ำได้
อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ซื้อธาตุเหล็กมารับประทานเอง เนื่องจากในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียซึ่งมีภาวะโลหิตจางเหมือนกัน จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะธาตุเหล็กเกินสะสมในร่างกายได้ จึงแนะนำให้หาสาเหตุให้ชัดเจนก่อนเริ่มการกินยา และเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสมตามสาเหตุ
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 1
แหล่งวิตามินบี 12 ลดอัลไซเมอร์ผู้สูงอายุได้ 4 เท่า ป้องกันโลหิตจาง