หยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากอะไร สัญญาณแบบไหนต้องรีบพบแพทย์!
นอนกรน หนึ่งในสัญญาณ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจลุกลามเกิดเป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจหรือซึมเศร้าได้เลย!
นอนกรนเสียงดังจนคนข้างๆ ยังตื่น อาจไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นแค่เพราะความเหนื่อยล้าอย่างที่เข้าใจ แต่นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ปัญหาจากโครงสร้างอวัยวะที่หากปล่อยให้เรื้อรังอาจนำไปสู่โรคที่รุนแรนกว่าเดิม!
โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OSA) เกิดจากอะไร
ปกติแล้วเวลาที่เรานอนหลับจะมีการยุบตัวของทางเดินหายใจส่วนบน ที่เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณคอหอยหย่อนตัว
นอนกรน เกิดจากอะไร ปล่อยไว้ไม่รักษาได้หรือไม่ ?
คุณภาพการนอนที่ดี กำจัดขยะในสมองได้ ตื่นมาสดชื่นไม่ต้องพึ่งคาเฟอีน!
ประโยชน์ฮอร์โมนระหว่างการนอนหลับ เทคนิคสำหรับหลับยาก! " src="https://img.pptvhd36.com/health/thumbor/2024/07/28/cusArticle-7d43029.jpg" style="width: 1600px; height: 900px;" data-photo-license="Freepik/freepik" data-photo-description="ปัญหาการนอน" />ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาในคนทั่วไป แต่ในผู้ที่มีโรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือ obstructive sleep apnea (OSA) ที่กล้ามเนื้อนี้มีการหย่อนตัวมากเกินไป…จนทำให้ลมหายใจผ่านได้น้อยกว่าปกติ หรือไม่สามารถผ่านเข้าออกได้ (หยุดหายใจ) ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือเกิดปัญหาเรื่องการนอนหลับตามมาได้
หยุดหายใจขณะหลับ (OSA) สามารถส่งผลต่อสุขภาพได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย มึนศีรษะ ง่วงนอนในระหว่างวันมากกว่าปกติ จนกระทบต่อการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งหากปล่อยให้ภาวะนี้เกิดต่อเนื่องไปนานๆ ยังสามารถนำไปสู่การเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและภาวะซึมเศร้าได้ รวมทั้งยังอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนที่นอนร่วมห้องเดียวกันได้อีกด้วย
นอนแบบไหนอันตราย!
- นอนกรนดังมากเป็นประจำ เสียงกรนดังไม่สม่ำเสมอ หายใจแรง
- คนที่นอนร่วมห้องสังเกตเห็นว่า มีอาการหายใจติดขัด หยุดหายใจขณะหลับ คล้ายสำลักน้ำลาย สะดุ้งผวา เหมือนขาดอากาศ
- นอนหลับไม่สนิทดี มีฝันร้ายหรือละเมอขณะหลับ นอนกระสับกระส่าย
- นอนเยอะ นอนหลับเต็มที่ แต่กลับไม่สดชื่น ขาดสมาธิ รู้สึกง่วงนอนมากในตอนกลางวัน ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียนที่แย่ลง หรือเกิดอุบัติเหตุบ่อย
- นอนเต็มที่แต่กลับมีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย เหมือนคนอดนอนเรื้อรัง
- หลังตื่นนอนมักมีอาการปวดหรือมึนศีรษะ
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ภาวะหัวใจวาย ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และอื่นๆ
ในการตรวจเพื่อค้นหาภาวะหยุดหายใจ แพทย์ต้องซักประวัติและสอบถามข้อมูลเพื่อประกอบการวินิจฉัย พร้อมตรวจเช็กร่างกายทางหู คอ จมูก และระบบทางเดินหายใจแบบละเอียด รวมถึงใช้การทดสอบการนอนหลับ (sleep test) เพื่อประเมินการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายในขณะนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของสมอง หัวใจ การหายใจ และกล้ามเนื้อ เพื่อวินิจฉัยประเภทและความรุนแรงของโรค รวมทั้งสามารถวิเคราะห์คุณภาพการนอนของบุคคลนั้นๆ ได้อีกด้วย
Sleep Test ตรวจคลื่นสมอง ป้องกันโรคหยุดหายใจขณะหลับอันตราย
วิธีรักษาหยุดหายใจขณะหลับ
- ปรับเวลาการเข้านอน-ตื่นนอนให้เป็นเวลาเดิมแบบสม่ำเสมอ โดยกำหนดเวลาการนอนพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
- ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอนหลับ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรืออื่นๆ โดยไม่จำเป็น
- ปรับการกินการออกกำลังกาย เพื่อควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน เนื่องจากมีผลต่อการตีบแคบของทางเดินหายใจ
- ปรับท่าทางในการนอน โดยหลีกเลี่ยงท่านอนหงาย เนื่องจากทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ง่ายกว่าท่านอนตะแคง ซึ่งอาจใช้หมอนเป็นตัวช่วยในการปรับท่าทาง
- ใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (positive airway pressure) หรือ PAP ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับสวมใส่บริเวณใบหน้าขณะหลับ โดยเครื่องจะทำหน้าที่เป่าลมเข้าไปเพื่อขยายทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ให้เกิดการยุบตัวหรืออุดกั้น
- ใส่อุปกรณ์ในช่องปาก (oral appliances) ขณะนอนหลับ ซึ่งจะทำหน้าที่ช่วยยึดลิ้นให้ยื่นมาทางด้านหน้า เพื่อป้องกันลิ้นตกและอุดกั้นทางเดินหายใจในขณะที่หลับ
- ผ่าตัด เพื่อเพิ่มขนาดช่องทางเดินหายใจส่วนบน หรือเพิ่มความตึงตัวของเนื้อเยื่อในตำแหน่งที่อาจเป็นสาเหตุของโรค ซึ่งอาจเป็นตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง โดยวิธีนี้อาจใช้เป็นทางเลือกเสริมร่วมกับวิธีอื่นๆ
โดยแต่ละวิธีการรักษาแพทย์จะเป็นผู้แนะนำให้เหมาะกับคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรักษาที่แม่นยำและปลอดภัย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3
“นอนไม่หลับ” ต้นตอปัญหาสุขภาพ เทคนิค Sleep Hygiene ช่วยหลับง่ายขึ้น!