6 ท่ายืดคอและบ่า แพทย์เผยประคบร้อนช่วยทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นมากขึ้น
อาการเหนื่อยสะสมทำให้เกิดอาการล้าบริเวณคอและบ่าได้ แพทย์แนะ 6 ท่าช่วยบรรเทาอาการได้ แนะประคบอุ่นควบคู่ ช่วยลดการปวดตึงเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
หากกล้ามเนื้อคอและบ่ามีอาการตึงมาก อาจเกิดอาการปวดคอบ่า และศีรษะ มึนงง หูอื้อ รวมถึงมีอาการชาร้าวไปที่แขน ศีรษะ ซึ่งจะสามารถทำให้จำกัดการเคลื่อนไหวของคอด้วย ทั้งยังส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
6 ท่ายืดกล้ามเนื้อคอและบ่า
- ท่าที่ 1
- นั่งหรือยืนตัวตรง
- ก้มศีรษะให้ทางชิดอก ให้รู้สึกตึงต้นคอบริเวณด้านหลัง ค้างไว้ 10 วิ จำนวน 10 ครั้งต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน
คอแข็ง-ร้าวลงแขน สัญญาณ“หมอนรองกระดูกคอเสื่อม” อันตรายจากพฤติกรรม
นวดแผนไทย VS กายภาพบำบัด แตกต่างอย่างไร? เผยข้อห้ามและใครบ้างไม่ควรนวด

- ท่าที่ 2
- นั่งหรือยืนตัวตรง
- เงยศีรษะไปด้านหลัง ให้รู้สึกตึงบริเวณคอด้านหน้า
- ค้างไว้ 10 วิ จำนวน 10 ครั้งต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน
- ท่าที่ 3
- นั่งหรือยืนตัวตรง
- ใช้มือด้านซ้ายเอื้อมแตะศีรษะด้านขวา พร้อมอกแรงดึงไปทางด้านซ้าย(เบาๆ)
- ค้างไว้ 10 วิ จำนวน 10 ครั้งต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน
- สลับซ้ายขวา ทำในลักษณะเดียวกัน
- ท่าที่ 4
- นั่งหรือยืนตัวตรง
- หมุนศีรษะไปด้านซ้าย จากนั้นก้มศีรษะลง ใช้มือด้านซ้ายกดศีรษะลง จะรู้สึกตึงตั้งแต่บริเวณต้นคีอจนถึงสะบักด้านขวา
- ค้างไว้ 10 วิ จำนวน 10 ครั้งต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน
- สลับซ้ายขวา ทำในลักษณะเดียวกัน
- ท่าที่ 5
- นั่งหรือยืนตัวตรง
- หมุนศีรษะไปทางด้านซ้าย จากนั้นให้เงยศีรษะขึ้น
- แล้วใช้มือซ้ายมาจับเวณเหนือกกหูหรือขมับขวา
- จากนั้นก็กดมือลง ซึ่งจะรู้สึกตึงตั้งแต่ใต้คางด้านขวาไปจนถึงไหปลาร้า
- ท่าที่ 6
- เอียงศีรษะไปทางด้านซ้าย
- จากนั้นจับบริเวณเหนือกกหูด้านขวาแล้วยืดออก
- ให้รู้สึกตึงตั้งแต่บริเวณใต้กกหู จนถึงไหปลาร้า
- ค้างไว้ 10 วิ จำนวน 10 ครั้งต่อรอบ ทำ 3 รอบต่อวัน
- สลับซ้ายขวา ทำในลักษณะเดียวกัน
วิธีบริหารคอลดความตึงตัวเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ป้องกันโรคกระดูกคอเสื่อม
6 ท่าที่กล่าวมา มีประโยชน์จะช่วยลดการปวดตึงเพิ่มการไหลเวียนของเลือด เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว ทำให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่นมากขึ้น เราสามารถใช้การประคบอุ่นก่อนการยืดกล้ามเนื้อได้ เพื่อความร้อนนั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยืดกล้ามเนื้อได้มากขึ้น
ซึ่งการประคบร้อน เหมาะกับอาการบาดเจ็บเรื้อรัง ทำเพื่อหวังผลจให้หลอดเลือดขยายตัว เปิดให้ เลือดมาเลี้ยงในบริเวณที่ปวดได้ดีขึ้น หลังจากนั้นหลอดเลือดบริเวณนั้นก็จะหดกลับไปเหมือนเดิม หากเกิดอาการปวดแบบฉับพลัน ไม่ควรใช้การประคบร้อนในทันที แต่ควรประคบเย็นเพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักเสียก่อน หลักการประคบร้อน คือการใช้ความร้อนพอประมาณวางไว้ที่บริเวณที่มีอาการปวด 15 -20 นาที แล้งจึงค่อยเอาออก
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล รังสิต