3 ฝุ่นควัน เสี่ยงมะเร็งปอด แพทย์ย้ำ PM2.5 กระตุ้นอักเสบเรื้อรังนำไปสู่สารพัดโรค
บุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอดอันดับต้นๆ นอกจากนี้มลภาวะอย่าง PM2.5 และควันธูปก็เสี่ยงไม่แพ้กัน แพทย์ย้ำ ค่า PM 2.5 สูงมากไม่ควรออกนอกบ้าน หากจำเป็นให้สวมหน้ากากอนามัย
หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่าควันจากบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็งปอด แต่ไม่ใช่แค่ควันจากบุหรี่เท่านั้น เพราะมลพิษทางอากาศอย่างฝุ่น PM2.5 และควันจากธูปก็มีผลทำร้ายทำลายปอดได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรละเลยและทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
ฝุ่นควันทำร้ายปอด
- บุหรี่
แน่นอนว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงแรกๆ ที่ควรคำนึงถึง โดยเฉพาะคนที่สูบบุหรี่มากกว่า 30 Pack-year ในช่วงอายุ 55 – 75 ปีจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง (high risk) ที่จะเกิดมะเร็งปอด
หมอธีระ เผยวิจัยล่าสุดพบฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยง โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ขึ้น 12%
ระยะและชนิดมะเร็งปอด เผยวิจัยฝุ่นPM2.5 เพิ่มเสี่ยง 1.4 เท่าเทียบบุหรี่

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยใหม่จากทางฝั่งยุโรปที่ระบุว่า แม้คนที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 Pack-year ก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดได้เช่นกัน
ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจึงควรต้องพบแพทย์และตรวจเช็กปอดอย่างสม่ำเสมอด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รังสีต่ำ ที่สำคัญงดสูบบุหรี่เพื่อลดความเสี่ยงมะเร็งปอดได้ดีที่สุด
ไม่สูบแค่สูดควันก็เสี่ยง!
กว่า 90 % ของผู้ป่วยโรคปอดโดยเฉพาะมะเร็งปอดในปัจจุบันล้วนมีสาเหตุสำคัญมาจากการสูบบุหรี่ แต่ที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือกว่าร้อยละ 30 ของคนที่เป็นมะเร็งปอดคือคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่จากคนใกล้ชิด และผู้ที่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะทั่วไป เพราะในบุหรี่ 1 มวนมีสารพิษกว่า 60 ชนิดที่เป็นอันตรายกับร่างกาย และสารพิษเหล่านั้นยังสามารถตกค้างอยู่ในพื้นที่ที่เคยมีคนสูบบุหรี่ได้นานถึง 6 เดือน ไม่จะไม่มีควันแล้วก็ตาม ดังนั้นแม้จะไม่สูบหรี่ก็มีโอกาสเสี่ยงโรคถุงลมปอดโป่งพอง รวมถึงเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อยหอบตลอดชีวิต เพราะร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมเนื้อปอดที่ถูกทำลายจากบุหรี่ได้
- ฝุ่น PM 2.5
ฝุ่นละอองควัน (Particulate Matter หรือ PM) 2.5 คือ สสารขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หลายคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่แต่ตรวจคัดกรองแล้วพบว่าเป็นมะเร็งปอด ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมลพิษทางอากาศ โดยทวีปเอเชียพบปัญหานี้ค่อนข้างมาก รวมถึงไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะประชากรได้รับมลพิษ PM 2.5 สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และมีความผิดปกติทางพันธุกรรมชื่อว่า EGFR Mutation ที่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอดได้ ซึ่งพบบ่อยในคนเอเชียมากกว่ายุโรปและอเมริกัน เมื่อฝุ่นควันขนาดเล็กเข้าไปอยู่ในปอด ร่างกายจะพยายามกำจัด แต่หากกำจัดไม่ได้จะเข้าไปฝังตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ในระยะยาวพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็ง นำไปสู่โรคมะเร็งปอด หัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาตได้
หากวันไหนที่ค่า PM 2.5 สูงมากไม่ควรออกนอกบ้าน เปิดเครื่องฟอกอากาศภายในบ้าน ถ้าจำเป็นต้องออกจากบ้านควรใส่หน้ากากที่ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5
- ควันธูป
การใช้ธูปที่เพิ่มขึ้นและได้รับควันธูปเป็นระยะเวลายาวนานส่งผลกระทบกับเนื้อเยื่อปอดและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์ ซึ่งไปสู่การเกิดโรคมะเร็งปอดได้ เพราะธูปมีสารก่อมะเร็งอย่างเบนซีน บิวทาไดอีน และเบนโซเอไพรีน อีกทั้งทำให้เกิดอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 และ 10 ไมครอน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปอด เช่น มีประวัติมะเร็งปอดในครอบครัว โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด แนะนำให้เลี่ยงการจุดธูปและสถานที่ที่มีควันธูป
วิจัยเผยไม่สูบบุหรี่ก็เป็นมะเร็งปอด กว่าครึ่งเป็นผู้หญิง เปิด 5 ปัจจัยเสี่ยง
ตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดในปัจจุบันสามารถทำได้โดยตรวจเอกเซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (Low – Dose Computed Tomography Scan: LDCT) สามารถตรวจหาก้อนมะเร็งได้อย่างชัดเจน ให้ภาพสามมิติที่รายละเอียดดีกว่าการเอกซเรย์ทั่วไป ตรวจได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร หรือเจาะเลือด ใช้เวลาตรวจไม่นานประมาณ 5 – 15 นาที ช่วยให้พบมะเร็งปอดได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โอกาสรักษาหายได้มากขึ้น เพิ่มอัตราการรอดชีวิต หากอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงควรตรวจประจำทุกปี
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ โรงพยาบาลเปาโล
สัญญาณมะเร็งปอดระยะแรก ไอเรื้อรังแบบไหนต้องรีบคัดกรองมะเร็ง
3 วิตามินสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอวัย ลดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ