เช็ก! ปริมาณคาเฟอีนในเครื่องดื่ม กินเกินลิมิตเสี่ยงใจสั่น-ความดันสูง
หลายต่อหลายครั้งที่เราเคยได้ยินพิษของคาเฟอีน หรือ ผลข้างเคียงของคาเฟอีน แล้วเคยสงสัยไหมว่า กาแฟ ชา หรือช็อกโกแลตแก้วโปรดของคุณนั้น มีปริมาณคาเฟอีนอยู่เท่าไหร่ ?
หลายคนเป็นคอกาแฟ และทราบดีว่าเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะมากสำหรับในตอนเช้าเพื่อทำให้สมองตื่นตัวและกระปรี้กระเปร่า จาก “คาเฟอีน” อีกทั้งหากดื่มมากเกินไปหรือกับบางคนที่ไม่ถูกกับคาเฟอีน อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ใจสั่นและความดันโลหิตเพิ่มชั่วขณะ มีสารที่ส่งผลรบกวนระดับไขมันในเลือด ด้วยเหตุนี้การดื่มกาแฟโดยเฉพาะในปริมาณมากอาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่เป็นโรคบางอย่าง
เตือน "กาแฟขวด" ดื่มบ่อยเพิ่มน้ำหนัก ซื้ออย่างไรให้สุขภาพดี
"ชา" หรือ "กาแฟ" เช็กประโยชน์ เลือกเครื่องดื่มให้เหมาะกับเรา
อย่างไรก็ตามในกาแฟมีสารประเภทแอนติออกซิแดนต์ (antioxidants) ซึ่งช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระ จึงอาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่างได้เช่นกัน และรู้หรือไม่? ไม่ใช่แค่กาแฟที่มีคาเฟอีน
ปริมาณคาเฟอีน ในเครื่องดื่ม
- กาแฟสด/แอสเพรสโซ่ 1 ชอต 80 มิลลิกรัม
- กาแฟสำเร็จรูป 1 แก้ว 100 มิลลิกรัม
- ชาเขียว 1 แก้ว 45 มิลลิกรัม
- ใบชาชง 5 กรัม 75 มิลลิกรัม
- น้ำอัดลม 1 กระป๋อง 32 มิลลิกรัม
- ชานม 1 แก้ว 75 มิลลิกรัม
- เครื่องดื่มโกโก้ 1 แก้ว 30 มิลลิกรัม
- ดาร์ดชอคโกแลค 50 กรัม 50มิลลิกรัม
แม้ว่าผลการศึกษาด้านระบาดวิทยาที่ผ่านมาจะพบว่า การบริโภคกาแฟในคนสุขภาพดีทั่วไปไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งการบริโภคในปริมาณปานกลางอาจช่วยลดความเสี่ยงได้เล็กน้อยต่อโรคบางอย่าง อย่างไรก็ตามผู้ที่มีโรคประจำตัวดังกล่าวข้างล่างนี้ ควรระมัดระวังการบริโภคกาแฟ เพราะอาจได้รับผลกระทบจากฤทธิ์ของคาเฟอีนและสารกลุ่มไดเทอร์พีนในกาแฟได้
ดื่มกาแฟก่อนอาหารเช้า อาจกระตุ้นกรดไหลย้อน-น้ำตาลพุ่ง เครียดกว่าเดิม?
- โรคนอนไม่หลับ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟก่อนเข้านอน
- โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมอาการไม่ได้ ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟปริมาณมากในเวลาใกล้เคียงกัน เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตทั้งขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวเพิ่มขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังการดื่มและอาจเพิ่มอยู่นาน 3 ชั่วโมง ส่วนผู้ที่คุมความดันโลหิตได้ดีอาจไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
- โรคไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟสดหรือกาแฟต้มที่ไม่ผ่านการกรอง เพราะอาจทำให้คุมระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้ไม่ดี
- โรคกระดูกพรุน เนื่องจากคาเฟอีนเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ อาจทำให้ความหนาแน่นแร่ธาตุในกระดูกลดลงเล็กน้อย แม้ไม่ถึงระดับที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก แต่ควรระมัดระวังในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะผู้ที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
- ผู้หญิงมีครรภ์หากดื่มกาแฟปริมาณมากตลอดช่วงตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกแรกคลอดมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือคลอดก่อนกำหนด บางการศึกษายังกล่าวถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร ส่วนผู้หญิงที่ให้นมบุตรหากดื่มกาแฟจะมีคาเฟอีนถูกขับออกทางน้ำนมได้ ซึ่งแม้ว่าคาเฟอีนในน้ำนมไม่ได้ส่งผลเสียร้ายแรงต่อทารกแต่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมบางอย่างของทารกอันเกิดจากฤทธิ์คาเฟอีนที่กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เช่น นอนน้อยลง ตื่นง่าย กระสับกระส่าย งอแง อยู่ไม่สุข ดูดนมได้ไม่ดี
ทั้งนี้ไม่ควรดื่มคาเฟอีนในปริมาณที่สูงเกินกว่า 300 มิลลิกรัม และควรดูฉลากก่อนเลือกซื้อเครื่องดื่มตามร้านสะดวกซื้อ ทำให้มีโอกาสเกิดอาการใจสั่นหรือเต้นเร็วกว่าปกติได้ อย่างไรก็ตามจะขึ้นอยู่กับความไวต่อคาเฟอีนของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกันหากรู้สึกใจเต้นแรงและมีอาการผิดปกติ ให้รีบพบแพทย์
ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยฯ
8 เครื่องดื่มทดแทนกาแฟ ลดคาเฟอีนอุดมด้วยประโยชน์ เลิกกาแฟได้ไม่หักดิบ
8 เครื่องดื่มทดแทนกาแฟ ลดคาเฟอีนอุดมด้วยประโยชน์ เลิกกาแฟได้ไม่หักดิบ