เปิดสรรพคุณ“ตะไคร้” สมุนไพรไทย แก้ดับร้อน มีเกลือแร่จำเป็นหลายชนิด
ตะไคร้ ผักสมุนไพรครัวเรือน นอกจากดับคาวอาหาร เป็นเครื่องต้มยำแล้ว ยังมีสรรพคุณ และเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เผยสรรพคุณและประโยชน์เพื่อสุขภาพ ข้อควรระวังที่ต้องอ่าน!
ตะไคร้ เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักพืชสมุนไพรชนิดนี้มาบ้างแล้ว เพราะแทบจะมีอยู่ในก้นครัวที่บ้านของทุกบ้านตั้งแต่ในอดีตแล้ว โดยตะไคร้ มีถิ่นกำเนิดในแถบเขตร้อนของทวีปเอเชีย ทั่วไปแล้ว ตะไคร้ จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ซึ่งนิยมนำเหง้า ลำต้น และ ใบ มาเป็นส่วนประกอบในอาหาหลายชนิด เช่น ต้มยำ ยำตะไคร้ หรือเครื่องดื่มสมุนไพร น้ำตะไคร้ ช่วยดับร้อน แก้กระหายได้เป็นอย่างดี สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
มะกรูด ผักคู่ครัวไทย สารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยการนอนหลับได้!
“ชะอม” ผักกลิ่นฉุนแต่อร่อย เปิดประโยชน์และโทษที่บางคนควรหลีกเลี่ยง!
ตะไคร้ มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และยังมีวิตามินเอ รวมอยู่ด้วย
สรรพคุณตะไคร้
- รสฉุน แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ
- แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้ บำรุงไฟธาตุ
- ทำให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย
- แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย ฟกช้ำจากหกล้ม ขาบวมน้ำ
- แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ขับปัสสาวะ ประจำเดือนมาผิดปกติ
- แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด
- แก้เสียดแน่น แสบบริเวณหน้าอก ปวดกระเพาะอาหารและขับปัสสาวะ
- บำรุงไฟธาตุ ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะพิการ
- เกลื้อน แก้อาการขัดเบา
- ใบสด มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
- ต้น มีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้ผมแตกปลาย เป็นยาช่วยให้ลมเบ่งขณะคลอดลูก ใช้ดับกลิ่นคาว แก้เบื่ออาหาร บำรุงไฟธาตุให้เจริญ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วปัสสาวะพิการ แก้หนองใน
สารเคมีในตะไคร้
- ในใบมีน้ำมันหอมระเหย 0.4-0.8% ประกอบด้วย Citral 75-85 % Citronellal, Geraniol Methylheptenone เล็กน้อย , Eugenol และ Methylheptenol
- รากตะไคร้ มีอัลคาลอยด์ 0.3%
"พริกขี้หนู" สรรพคุณทางยา ช่วยเจริญอาหาร ลดไขมันเลว คุมน้ำหนักได้
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
- การบริโภคตะไคร้ หรือ การใช้ตะไคร้ทาบนผิวหนังเพื่อจุดประสงค์ทางการรักษาโรค อาจจะปลอดภัยหากใช้ตะไคร้ในช่วงเวลาสั้นๆ ภายใต้การดูแล และคำแนะนำจากแพทย์
- การสูดดมสารที่มีส่วนประกอบของตะไคร้ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย และเป็นพิษต่อร่างกายได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพปอด
- ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร และศึกษาข้อมูลบนฉลากให้ถี่ถ้วนก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ที่มีสารสกัดมาจากตะไคร้ก่อนเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหลังการบริโภค
- ระวังการใช้ตะไคร้และผลิตภัณฑ์จากตะไคร้ในคนที่เป็นต้อหิน (glaucoma) เนื่องจาก citral จะทำให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้น
ขอบคุณข้อมูลจาก : โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และ distha
ประโยชน์ “ชามะลิ” เผยสรรพคุณทางยา ของขวัญแทนใจวันแม่แห่งชาติ 2567
“ขมิ้นชัน” มีสารสีทอง เผยสรรพคุณต้านการอักเสบ และผลข้างเคียง