3 โรค Eating disorder ความผิดปกติทางการกิน อ้วน-ผอมไป อันตรายถึงชีวิต
อย่าไปทักใครว่า อ้วนขึ้นหรือผอมลง เพราะนอกจากจะเสียมารยาทแล้วคุณอาจจะยังไม่รู้จัก โรค Eating disorder ซึ่งเป็นพฤติกรรมความผิดปกติในการกินอาหารที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย
Eating disorder คือ โรคที่มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ ทางการแพทย์แล้วถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เป็นสาเหตุหรือมีส่วนเกี่ยวข้องที่ทําให้น้ำหนักตัวมากหรือน้อยกว่าปกติชัดเจนหรือทําให้มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวอย่างมากจนเป็นอันตรายต่อชีวิต และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย
รู้จัก Eating Disorder 3 ประเภทที่ควรรู้!
- โรคคลั่งผอม(Anorexia Nervosa)
อะนอเร็กเซีย (Anorexia Nervosa) ผู้ป่วยมีความคิดหมกมุ่นเกี่ยวกับรูปร่างที่ผิดปกติ โดยคิดว่าต้องรักษารูปร่างให้ผอมบางอยู่เสมอ
หิวดึกบ่อย! เสี่ยง Night Eating Syndrome พฤติกรรมเกี่ยวข้องซึมเศร้า
“แพนิค” ไม่ใช่แค่ตกใจ แต่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทอัตโนมัติแนะวิธีบรรเทา
กลัวน้ำหนักขึ้นแม้จะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์อยู่แล้วแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- กลุ่มที่พยายามจำกัดปริมาณการกินอาหาร หรือออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
- กลุ่มที่กินอาหารมากผิดปกติเป็นช่วงสั้น ๆ แล้วล้วงคอให้อาเจียน หรือใช้ยาระบายเพื่อลดน้ำหนักและรักษารูปร่าง
อาการที่พบบ่อยคือ ร่างกายผอมแห้ง ทนความหนาวไม่ได้ อ่อนเพลีย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เวียนศีรษะและเป็นลมจากการขาดน้ำ ท้องอืด และท้องผูกอย่างรุนแรง เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้กระดูกบาง ผมบางและร่วง เล็บเปราะง่าย หากอาการรุนแรงอาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง หัวใจ อวัยวะภายในล้มเหลวและเสียชีวิต
- โรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder)
โรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากผิดปกติ ไม่สามารถคุมตัวเองได้ ไม่หิวก็ยังรับประทาน ที่สำคัญจะรับประทานจนอิ่มแบบที่ไม่สามารถรับประทานอาหารอื่น ๆ ต่อได้ หลังจากนั้นจะรู้สึกโกรธตัวเองที่ทำพฤติกรรมแบบนี้ลงไป ที่น่าสนใจคือโรคนี้ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกช่วงวัย อาการของโรคคือการกินแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ กินปริมาณมากในเวลาที่รวดเร็วกินคนเดียวเพราะรู้สึกอาย กินเสร็จแล้วจะรู้สึกผิด โกรธ เศร้า รังเกียจ โทษตัวเอง ซึ่งอาการจะชัดเมื่อกินไม่หยุดต่อเนื่อง 3 เดือนขึ้นไป
นอกจากโรคกินไม่หยุดจะเพิ่มความเสี่ยงโรคเรื้อรังอย่างโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ยังส่งผลกับระบบทางเดินอาหารโดยตรง
เช็ค 7 สัญญาณโรคทางจิตเวช พบ 1 ข้อควรปรึกษาจิตแพทย์
- ภาวะการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร (Pica)
ภาวะการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารจัดเป็น Eating Disorder ประเภทหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอยากกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร และไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น น้ำแข็ง กระดาษ สบู่ ดิน เส้นผม ฝุ่น ไหมพรม โคลน และกรวด ซึ่งการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารอาจเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ ติดเชื้อ และขาดสารอาหาร
ภาวะการกินสิ่งที่ไม่ใช่อาหารจะพบได้บ่อยในเด็ก คนที่ตั้งครรภ์ และคนที่เป็นโรคออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) หรือมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ที่ชอบหยิบสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ เข้าปากถือเป็นพัฒนาการตามวัย และไม่จัดเป็นความผิดปกติ
หากสังเกตว่าตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการของ Eating Disorder ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสมเพราะในผู้ป่วยบางรายอาจมีซึมเศร้าปนอยู่ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ และ pobpad
ภาพจาก : shutterstock
อารมณ์รุนแรง-หูแว่ว สัญญาณเสี่ยงไบโพลาร์ในเด็ก ปัจจัยและวิธีสังเกต
10 ตุลาคม วันสุขภาพจิตโลก พบสถิติผู้ป่วยจิตเวชเพิ่ม 2 เท่าในรอบ 6 ปี