พฤติกรรมพ่อแม่บงการชีวิตลูก ทำร้ายเด็กทางอ้อมไม่รู้ตัว
หลายคนเป็นพ่อแม่ครั้งแรกในชีวิต ทำให้อาจมองข้ามวิธีเลี้ยงลูกที่ถูกต้อง ส่งผลเสียระยะยาวและแผลใจที่ยากจะแก้
ความคิดความเชื่อ 'ลูกเป็นสมบัติของพ่อแม่' ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองบางคนเลี้ยงลูกไปในทางที่ผิด ที่อาจส่งผลเสียระยะยาวต่อลูกในอนาคตได้ ทำให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างน้อยลง พูดช้า ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นยาก ไม่กล้าตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่กล้าแสดงออกในสิ่งที่คิดหรือต้องการจริงๆ มาดูกันว่ามีพฤติกรรมใดบ้างที่เป็นการทำร้ายลูกทางอ้อม เช่นปล่อยให้เล่นมือถือ เปิดทีวีให้ดูตลอดเวลาเพื่อจะได้สงบและนิ่ง พูดคำว่า “อย่า ไม่ ห้าม” จนติดปาก ลงโทษลูกด้วยอารมณ์และใช้ความรุนแรง
รู้ทันกลลวง “Child Grooming” หนึ่งในรูปแบบการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก
อารมณ์รุนแรง-หูแว่ว สัญญาณเสี่ยงไบโพลาร์ในเด็ก ปัจจัยและวิธีสังเกต
เลี้ยงลูกแบบผิดที่ส่งผลกระทบต่อทางร่างกายและจิตใจเด็ก
- คาดหวังกับลูกมากเกินไป ไม่ได้ใส่ใจว่าสิ่งที่พ่อแม่คาดหวังนั้นตรงกับความรู้สึก และความต้องการของลูกหรือไม่
- ควบคุมลูกมากเกินไป ลูกต้องทำตามที่พ่อแม่สั่ง เดินตามเส้นทางชีวิตที่พ่อแม่กำหนดไว้
- บังคับให้ลูกดูแลครอบครัว ให้ลูกหาเงินเลี้ยงพ่อแม่ ทดแทนบุญคุณ
- ไม่ให้อิสระกับลูก ทั้งด้านความคิดและการกระทำ คิดว่า ลูกเชื่อและทำตามพ่อแม่บอกทุกอย่างจะดีเอง
- ไม่มีพื้นที่ส่วนตัวลูก ผู้ปกครองเข้าไปก้าวก่ายเรื่องของลูกทุกๆ เรื่อง เช่น หยิบมือถือของลูกมาดูมาใช้โดยไม่ขออนุญาต หรือยุ่งกับเรื่องส่วนตัวของลูก
- ละเลยความต้องการของลูก ทั้งร่างกายและจิตใจ
- แย่งอำนาจปกครองลูก เมื่อพ่อแม่มีปัญหากันและจะแยกทาง พ่อแม่แย่งกันดูแลลูก หรือบางครอบครัวปัดความรับผิดชอบให้อีกฝ่าย โดยไม่ได้ถามความรู้สึกหรือความต้องการของลูก
- ใช้ความรุนแรงกับลูก เป็นที่ระบายหรือรองรับอารมณ์ เมื่อรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ จะดุด่า หรือทำโทษลูก
- ล่วงละเมิดทางเพศลูก
รู้จักเด็ก “ดิสเล็กเซีย” (Dyslexia) อ่าน-สะกดไม่คล่อง ความบกพร่องการเรียนรู้
วิธีเป็นพ่อแม่ที่ลูกควรเจอ
- ให้การเลี้ยงดูขั้นพื้นฐาน หรือการดูแลในชีวิตประจำวัน เช่น จัดให้มีอาหาร น้ำดื่ม ความอบอุ่น ที่อยู่อาศัย ความสะอาดและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งการมีสุขอนามัยที่เหมาะสม เป็นต้น
- ให้หลักประกันว่าลูกจะปลอดภัย ดูแลให้เด็กมั่นใจว่า จะได้รับการปกป้องจากภัยอันตรายทั้งทางกายภาพ หรือภัยจากบุคคล การกระทำความรุนแรงทุกรูปแบบ
- ให้ความอบอุ่นทางอารมณ์ เป็นที่พึ่งทางใจให้ลูก ให้เด็กมั่นใจว่าได้รับการตอบสนองต่อความจำเป็นพื้นฐานทางอารมณ์ มีการสัมผัสทางกาย การปลอบโยนและการกอด อย่างเหมาะสมและพอเพียงที่จะทำให้เด็กรับรู้ถึงความอบอุ่น การชื่นชมและกำลังใจ
- ให้การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการทางความคิดของเด็ก ด้วยการกระตุ้นการคิด ให้กำลังใจและให้โอกาสทางสังคม เช่น เอื้อให้เด็กมีศักยภาพทางความคิด ผ่านการมีปฏิสัมพันธ์ การสื่อสาร สนับสนุนการเล่นและเล่นกับเด็ก
- ให้คำแนะนำและขอบเขต เป็นแบบอย่างให้กับเด็ก ในการแสดงพฤติกรรม การควบคุมอารมณ์
ทั้งนี้ควรปฏิบัติต่อเด็กอย่างเสมอต้นเสมอปลาย เช่น ทำให้มั่นใจว่าความผูกพันจะดำรงอยู่ มีการตอบสนองทางอารมณ์ที่อบอุ่นสม่ำเสมอ การตอบสนองของพ่อแม่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปตามพัฒนาของเด็ก
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมกิจการเด็กและเยาวชน และ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
ภาพจาก :Freepik
แยกให้ออก! เด็กติดเกม หรือ จิตเวช ความเครียดจากความกดดันต้องรีบรักษา!
แม่มือใหม่ต้องรู้! ฝากครรภ์เมื่อไหร่? - ลูกน้อยมีพัฒนาการอะไรบ้าง?