เตือน "โควิด" ขาขึ้น จ่อเข้าอาฟเตอร์ช็อก คาดพีคช่วง ก.ย.
สธ.ส่งสัญญาณเตือน "โควิด" ขาขึ้น กำลังเข้าสู่อาฟเตอร์ช็อก คาดเดือน ก.ย. อาจเจอป่วยรักษา 4 พันราย หลังเชื้อโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ BA.4 BA.5 ทำยอดผู้ติดเชื้อโควิดของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า หลังเชื้อโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ BA.4 BA.5 ทำยอดผู้ติดเชื้อโควิดของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดการณ์ว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่และเสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.2565 เป็นต้นไป ถึงปี 2566 หลังจากการเกิดระลอกใหญ่ของโอมิครอนช่วง ม.ค.ที่ผ่านมา คาดว่าจะเกิดเวฟเล็กๆ เป็นอาฟเตอร์ช็อกตามมา จากการผ่อนคลายมาตรการ
โควิดวันนี้ (5ก.ค.65) ป่วยปอดอักเสบเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ป่วยกำลังรักษา 24,435 ราย
คันไม่ใช่เรื่องเล็ก!เช็กอาการ“ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง”โรคบั่นทอนคุณภาพชีวิต
เวฟที่จะเจอคือ ช่วงสัปดาห์นี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 35 หรือช่วง 10 สัปดาห์จากนี้ไปจนถึง ก.ย.จะเป็นช่วงพีคสุด โดยขณะนี้มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นแล้ว เบื้องต้นเราคาดการณ์จากมาตรการผ่อนคลายเดิมคือ สวมหน้ากาก หากยังสวมหน้ากาก คาดว่า ก.ย.ไม่ควรจะเกิน 4 พันรายต่อวัน แต่ถ้าผ่อนคลายมาตรการกันหมด ไม่สวมหน้ากาก ก็อาจจะเกินจากนี้ได้ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก็มีหลายจังหวัดที่ตัวเลขอัตราครองเตียง ของผู้ป่วยหนัก มากขึ้น โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร พบ 35.60% แล้ว
ขณะที่เพจ ชมรมแพทย์ชนบท ได้เผยเอกสารจากปลัดกระทรวงสาธารณสุข สั่งการ ด่วนที่สุด ถึง ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขต ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 โดยระบุว่า “ส่งสัญญานเตือน เตรียมพร้อมรับโควิด19 ระลอกใหม่ โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีหนังสือสั่งการด่วนที่สุดให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขต ให้หน่วยบริการสุขภาพในสังกัด เตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์โควิด19 ระลอกใหม่ ที่มีแนวโน้ม ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น ในหลายพื้นที่ ทั้งเตรียมสำรองเตียง รับผู้ป่วยหนักและการรับส่งต่อ "ขอประชาชนอย่าได้ประมาท”
ส่วน กรณีที่ นายอนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค เตือนให้คอยจับตาดูไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 หลังพบแล้วในประเทศอินเดียเป็นส่วนใหญ่ และเริ่มพบในอีกหลายประเทศ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มี BA.2.75 ในประเทศไทย แต่ยังคงเฝ้าระวังเข้ม
ล้วง "ตับ" รู้ลึกความสำคัญ แนะ 8 เคล็ดลับดูแลให้สุขภาพดี
“อนุทิน”แนะแรงงานใกล้ชิด นทท. ฉีดกระตุ้นทุก 4-6 เดือน รับโควิดโรคประจำถิ่น