เคล็ดไม่ลับ! ปลอดภัยจาก “ฟอร์มาลิน” ทั้งในอาหารและอากาศ
“หมอโอ๊ต” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แนะวิธีลดปนเปื้อน สารอันตรายอย่าง “ฟอร์มาลิน” ด้วยการแช่ด่างทับทิมและน้ำเกลือ ไขความลับต้นไม้ชนิดไหนช่วยดูดซับฟอร์มาลินในอากาศ
เป็นกรณีที่ยังคงเป็นกระแสเตือนภัยในทุกยุคทุกสมัย จากสารปนเปื้อนในอาหาร อย่างฟอร์มาลิน ที่ต้นเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ บุกจับสถานประกอบการผลิตแปรรูปวัตถุดิบเนื้อสัตว์รายใหญ่ จ.ชลบุรี พบวัตถุดิบแช่ฟอร์มาลินรายใหญ่ ส่งขายร้านอาหาร กว่า 66 ร้าน
ขณะที่ล่าสุด พบกรณี ผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่ง โพสต์เตือนอุทาหรณ์ เป็นภาพผื่นขึ้นแดงทั้งตัว ซึ่งเกิดขึ้นหลังกินหมูกระทะ และมีอาการหนักเกือบเสียชีวิตเพราะ หายใจไม่ออกความดันสูง โดยแพทย์วินิจฉัยว่า อาจเกิดจากการแพ้ สารเคมีที่แช่พวกหมึกกรอบและซีฟู้ด
อาหารปนเปื้อน "ฟอร์มาลีน" | อาการน่าเป็นห่วง EP.42
อาหารแช่ฟอร์มาลิน สารก่อมะเร็ง-พิษถึงชีวิต แนะวิธีเลือกซื้ออาหารสด
คุณหมอโอ๊ต นายแพทย์พงศกร จินดาวัฒนะ ผู้อำนวยการอาวุโสโครงการพิเศษพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสาร ประจำศูนย์การแพทย์ รพ.กรุงเทพ ระบุว่า สารฟอร์มาลิน เป็นสารประกอบซึ่งมีเคมีชนิดหนึ่ง เรียกว่า ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ประมาณ 37% คุณสมบัติช่วยรักษาเนื้อเยื่อไม่ให้ย่อยสลาย ซึ่งจะนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านการแพทย์และอุตสาหกรรมและอย่างที่เราทราบกันว่า “ใช้รักษาสภาพของศพ” ซึ่งมีพ่อค้าแม่ค้าหัวใส การนำมาใช้ผิดประเภท เพื่อคงสภาพของสดให้อยู่ได้นานเป็นสัปดาห์ (ขึ้นอยู่กับความเข้มข้น)ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย เนื่องจากมีอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะผู้มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับตับและไตที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
วิธีสังเกตอาหารแช่ฟอร์มาลิน
- ดมกลิ่น แม้ฟอร์มาลินจะมีสีใสมองยากด้วยตาเปล่า แต่มีกลิ่นที่ฉุน
- ลักษณะของเนื้อ โดยปกติ ถ้าอาหารจะสดต้องสดทั้งตัว แต่ถ้าสดหรือเปื่อยเป็นหย่อมๆ ชัดเลยว่า 99 % มีการแช่ฟอร์มาลินมาอย่างแน่นอน
- ไม่เป็นธรรมชาติ หากผักถูกแช่ฟอร์มาลินมา มักจะมีความกรอบและเขียวที่ผิดปกติ และมีกลิ่นของสารเคมี
วิธีช่วยลดความเข้มข้นของฟอร์มาลิน
- แช่อาหารด้วยด้วยด่างทับทิม 20 เกล็ด ผสมในน้ำ 4-5 ลิตร ประมาณ 5-10 นาที และล้างออกด้วยน้ำสะอาด
- แช่ด้วยน้ำเกลือ 1 ส่วน ต่อน้ำ 9 ส่วน ประมาณ 30 นาที
วิธีล้างฟอร์มาลินในร่างกาย
คุณหมอโอ๊ต ระบุว่า โดยปกติหากไม่ได้รับปริมาณที่มากร่างกายจะมีกลไกปกป้องตัวเองและขจัดมันทิ้งไปแต่หากได้รับปริมาณที่มาก อาจมีอาการ แน่นคอ แสบคอ คลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากฟอร์มาลินมีฤทธิ์เป็นกรดที่อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติในทางเดินอาหารได้ อาจถึงกับ “ไตวาย” ได้ แม้ในการแช่อาหารอาจไม่ได้เข้มข้นถึงทำให้เสียชีวิต ได้แต่มีงานวิจัย ชี้ชัดว่า หากร่างกายได้รับการสะสมจากฟอร์มาลินอาจก่อให้เป็นมะเร็งได้ อาทิ มะเร็งโพรงจมูก เป็นต้น ซึ่งแม้เนื้อสัตว์ที่ผ่านการแช่ฟอร์มาลินจะผ่านการปรุงสุก ทั้งปิ้งย่าง หรือ การต้ม ก็ไม่สามารถชะล้างและยังมีสารตกค้างอยู่ ต้องผ่านการล้างด้วยด่างทับทิม หรือ น้ำเกลือ
หน้าร้อนแนะวิธีเลือกซื้อ "อาหารทะเล" เลี่ยงสารเคมีเป็นพิษต่อร่างกาย
กินหมูกระทะ เสี่ยง “โรคไข้หูดับ” อันตรายถึงขั้นหูหนวก-เสียชีวิต
ฟอร์มาลินอยู่ในอากาศ ?
ความจริงแล้วสารเคมีฟอร์มาลิน นั้นไม่ได้อยู่แค่ในอุตสากรรมเท่านั้น แต่ยังพบในอากาศแม้จะมีอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งมีงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์องค์การอวกาศนาซา ที่ทำการวิจัยต้นไม้กับสารพิษ ที่พบว่าต้นไม้บางประเภทมีคุณสมบัติ ดูดซับสารพิษในอากาศ อย่าง ฟอร์มาลิน หรือ ฟอร์มาลดีไฮด์ ในอากาศได้ คือ สาวน้อยประแป้ง,ต้นเยอบีร่า,ต้นวาสนา,ต้นอธิษฐาน
ทั้งนี้เตือนผู้ควรบริโภคอย่างมีสติและสังเกตก่อนบริโภค และให้ตระหนักแต่อย่างตระหนก สนุกกับการใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง
ข้อมูลสุขภาพ : บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) : BDMS
หน้าร้อนแนะวิธีเลือกซื้อ "อาหารทะเล" เลี่ยงสารเคมีเป็นพิษต่อร่างกาย
เคล็ดลับปาร์ตี้ “ปิ้งย่าง-หมูกระทะ”ไม่ให้อ้วนปลอดภัยจากอันตรายแฝง