เปลี่ยนสิทธิ ‘ประกันสังคม’ มาเป็น ‘บัตรทอง’ ทำได้ไหม? มีเงื่อนไขอย่างไร?
สปสช.เผย เงื่อนไขการเปลี่ยนสิทธิรักษาพยาบาลจากสิทธิประกันสังคมมาเป็นสิทธิบัตรทอง ชี้ช่องทางออนไลน์เลือกหน่วยรักษาพยาบาลด้วยตนเอง
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เปิดเผยการ เปลี่ยนสิทธิรักษาพยาบาล จาก ‘ประกันสังคม’ มาเป็น ‘บัตรทอง’ ว่า โดยปกติแล้ว ‘ผู้ที่มีนายจ้าง’ ตามกฎหมายจะต้องเข้าสู่ระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 แต่หาก ‘ลาออกจากงาน’ หรือ ‘ว่างงาน’ แล้วไม่ได้ส่งเงินสมทบต่อ ตามมาตรา 39 สิทธิประกันสังคมจะคุ้มครองต่ออีกเพียง 6 เดือน หลังพ้นระยะเวลาคุ้มครอง 6 เดือนแล้ว
เช็กสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตน ฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าฟรี!
4 วิธีการตรวจสอบสิทธิรักษาพยาบาล “บัตรทอง” ด้วยตนเอง
ผู้ประกันตนคนดังกล่าวจะต้องออกจากระบบประกันสังคม และเข้าระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง หรือ 30 บาท) ซึ่งสามารถลงทะเบียนเพื่อเลือกหน่วยบริการได้กรณีที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดระบบลงทะเบียนแทนให้ และในภายหลัง สามารถเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ (สถานพยาบาล) ได้ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง
ลงทะเบียนออนไลน์ด้วยตนเอง 2 ช่องทาง
- แอปพลิเคชัน สปสช.
- ไลน์ OA สปสช. พิมพ์ค้นหา Line ID @nhso เลือกเมนู เปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง
ติดต่อด้วยตนเองที่
- ต่างจังหวัด: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) / โรงพยาบาลรัฐใกล้บ้าน (วันและเวลาราชการ)
- กรุงเทพมหานคร:สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ
การใช้สิทธิเข้ารับบริการ
- ติดต่อที่หน่วยบริการปฐมภูมิ/หน่วยบริการประจำของผู้มีสิทธิบัตรทอง กรณีเกินศักยภาพจะส่งตัวไปหน่วยบริการที่รับส่งต่อ
- แจ้งความจำนงใช้สิทธิบัตรทองก่อนรับบริการ
- แสดงบัตรประจำตัวประชาชน
สอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วน สปสช.1330 ตลอด 24 ชั่วโมง (โทรฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)
รวมสิทธิประโยชน์ บัตรทอง 30 บาท ด้านทันตกรรม เช็กก่อนไม่พลาดสิทธิ
สิทธิบัตรทอง“เลิกบุหรี่” ผ่านสายด่วน พบร้อยละ 32 เลิกได้สำเร็จ
เปิดเกณฑ์เยียวยา “สิทธิบัตรทอง”กรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล รับสูงสุด 4 แสน