แผลในกระเพาะอาหาร อาการเตือนต้องรีบรักษา ก่อนเจอภาวะแทรกซ้อนอันตราย!
ปวดท้อง แสบท้อง! สัญญาณแผลในกระเพาะอาหาร ต้องรีบดูแลรักษาก่อนภาวะอันตราย แนะวิธีบรรเทาความเจ็บปวดด้วยตัวเองเบื้องต้น
กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่มีน้ำย่อยอาหารซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน ด้วยสาเหตุบางอย่างที่ทำให้ชั้นป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารเสียหายจะส่งผลให้น้ำย่อยในกระเพาะกัดกร่อนเยื่อบุกระเพาะอาหารจนทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหารส่งผลให้เกิดอาการต่างๆในช่องท้อง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ที่ใครไม่เป็นไม่มีทางรู้!
แผลในกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไร ?
- ปวดท้อง แสบร้อน บริเวณกลางท้องหรือท้องส่วนบน
- ท้องอืด
- แสบร้อนกลางอก
- คลื่นไส้ หรืออาเจียน
สัญญาณโรคกระเพาะอักเสบ เป็นหนักขณะไหนเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร?
เคล็บลับคนหลับยาก ลองปรับ 7 พฤติกรรมช่วยให้นอนหลับสบายไม่ต้องพึ่งยา!
อาการปวดท้อง แสบร้อนเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด ในบางรายอาจรู้สึกหายปวดเมื่อรับประทานอาหารบางอย่างเข้าไป แต่ก็มักจะกลับมาปวดซ้ำในช่วงระหว่างมื้ออาหาร และช่วงกลางคืน
แผลในกระเพาะอาการรุนแรง
- อุจจาระสีเข้มหรือดำ (เนื่องจากมีเลือดปน)
- อาเจียนมีเลือดปน
- หน้ามืด เวียนหัวคล้ายจะเป็นลม
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ไม่อยากอาหาร หรือความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง
- การบรรเทาอาการเบื้องต้นเมื่อเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
ภาวะแทรกซ้อนของแผลในกระเพาะอาหาร
- เลือดออกในกระเพาะอาหาร (Internal bleeding) โดยทั่วไปคนที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารคือเกิดการอักเสบบริเวณแผลแต่ไม่จะไม่ถึงขั้นเลือดออก อย่างไรก็ตามภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหารเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบในคนที่เป็นแผลในกระเพาะเรื้อรังได้บ่อยที่สุด การที่แผลในกระเพาะอาหารมีเลือดออกส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจางหรือเสียเลือดอย่างรุนแรงได้
- กระเพาะอาหารทะลุ (Perforation) แผลในกระเพาะอาหารที่ถูกกัดกร่อนอย่างต่อเนื่องและไม่ได้รับการรักษามีความเสี่ยงที่จะส่งผลให้แผลกว้างขึ้นจนเป็นรูโหว่ในกระเพาะอาหาร ภาวะนี้มีอาการปวดท้องเฉียบพลันรุนแรง ทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องท้องจากแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารที่เข้าไปยังเยื่อบุในช่องท้อง การติดเชื้อในช่องท้องยังเสี่ยงต่อการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย หรือที่เรียกว่าการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต
- การอุดตันในทางเดินอาหาร (Obstuction) การสมานแผลที่เกิดขึ้นบริเวณที่ใกล้กับลำไส้เล็กและหากมีขนาดใหญ่พอสมควร อาจทำให้เกิดการกีดขวางทางเดินอาหาร ส่งผลให้กระบวนการย่อยอาหารหยุดชะงัก คนที่มีภาวะนี้มักมีอาการอิ่มเร็ว เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
- มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer) กรณีนี้พบได้ไม่บ่อยนัก แต่แผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการติดเชื้อ H. pylori และแผลบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของเซลล์อาจส่งผลให้เกิดการพัฒนาเซลล์เป็นเซลล์มะเร็งได้เมื่อผ่านไประยะเวลานาน
นั่งนาน ทำงานหนัก! เลือกกินแบบไหน? บำรุงร่างกายทั้งระบบ ลดปวดหลัง-ป่วยบ่อย!
วิธีลดความรุนแรงของแผลในกระเพาะเบื้องต้น
- เปลี่ยนชนิดยาแก้ปวด ในกรณีที่เดิมมีการใช้ยาแก้ปวดเป็นประจำ ลองปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่ายาที่ใช้อยู่มีผลต่อแผลในกระเพาะอาหารหรือไม่ หากเคยใช้ยากลุ่ม NSAIDs ควรเลี่ยงไปใช้ยาแก้ปวดชนิดอื่นแทน
- จัดการกับความเครียด คนที่มีความเครียดขณะที่มีแผลในกระเพาะอาหารมีแนวโน้มว่าจะทำให้อาการเจ็บปวดแย่มากขึ้นหรือนานขึ้น การจัดการความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความทรมานขณะมีอาการได้ และสามารถทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็น การทำสมาธิ การเขียนไดอารี่ การใช้เวลาไปกับเพื่อนฝูง การออกกำลังกาย ฯลฯ
- งดสูบบุหรี่ เนื่องจากส่งผลให้ให้เยื่อบุกระเพาะอ่อนแอ แผลหายช้า และส่งผลให้ร่างกายหลั่งกรดในกระเพาะมากขึ้น
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปทำให้เกิดการระคายเคืองและกัดกร่อนบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจทำให้แผลอักเสบมากขึ้น หายช้าและเสี่ยงต่อการภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา
วิธีเตรียมตัวตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรงดมีเพศสัมพันธ์กี่วัน?
วิธีทำความสะอาดเชื้อราในบ้าน ลดการสะสมเชื้อโรค ป้องกันผลกระทบสุขภาพ