สธ.เผยไข้หวัดใหญ่ไทยพบป่วยแล้ว 1.8 แสนราย เสียชีวิต 14 ราย
กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในไทย หลังพบผู้ป่วยรวม 186,900 ราย รายงานผู้เสียชีวิต 14 ราย โคราชพบ 5 ราย! แนะวิธีป้องกันกลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนลดความรุนแรงได้
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงประเด็นที่มีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์ กรณีพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่มีอาการรุนแรงว่า โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อไวรัสระบบทางเดินหายใจ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง สามารถกินยาตามอาการและหายได้เอง แต่มีส่วนน้อยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงและเสียชีวิต สำหรับกรณีผู้ป่วยที่เป็นข่าว กรมควบคุมโรคไม่นิ่งนอนใจ
รพ.นครปฐม แจงเด็กหญิง 7 ปี ติดเชื้อไข้สมองอักเสบรุนแรง ยันรักษาเต็มที่
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A หรือ B อันตรายกว่ากัน ? เผยรุนแรงไม่ต่างโควิด!
ส่งทีมสอบสวนโรคสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี ดำเนินการสอบสวนร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่วิเคราะห์ผลอย่างละเอียด คาดว่าจะทราบข้อมูลเชื้อภายใน 1 สัปดาห์
สำหรับสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคฯ ของกองระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 - 20 มิถุนายน 2567 มีรายงานผู้ป่วย 186,900 ราย มีรายงานผู้เสียชีวิต 14 ราย
- จังหวัดนครราชสีมา 5 ราย
- นครศรีธรรมราช 2 ราย
- ชัยภูมิ สุราษฎร์ธานี กรุงเทพมหานคร สุโขทัย สมุทรปราการ ภูเก็ต และกาฬสินธุ์ จังหวัดละ 1 ราย
จากข้อมูลการเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในประเทศไทยเฉพาะพื้นที่ (Sentinel Surveillance) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 - 16 มิถุนายน 2567 โดยกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และศูนย์ความร่วมมือไทย - สหรัฐ ด้านสาธารณสุข ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จำนวน 2,284 ราย พบว่าเป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A/H3N2 จำนวน 1,044 ราย (ร้อยละ 45.71) ชนิด B จำนวน 619 ราย (ร้อยละ 27.10) ชนิด A/H1N1 (2009) จำนวน 594 ราย (ร้อยละ 26.14) และชนิด A ไม่ระบุสายพันธุ์ จำนวน 24 ราย (ร้อยละ 1.05)
โควิด-19 รอบสัปดาห์ ติดเชื้อ 1,823 ราย ปอดอักเสบ-ป่วยหนักยังสูง
กรมควบคุมโรค ขอแนะนำให้ประชาชนปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ โดยสามารถป้องกันได้ทั้งโรคโควิด19 เชื้อ RSV และโรคติดเชื้อระบบหายใจอื่น ๆ ซึ่งมีแนวโน้มการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ ดังนี้
- หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ รวมถึงเช็ดทำความสะอาดพื้นผิวและสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู ของเล่น
- เมื่อไอ จาม ต้องใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง
- กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง คือ ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ โรคอ้วน เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ผู้พิการทางสมอง ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป โรคธาลัสซีเมีย และภูมิคุ้มกันบกพร่อง สามารถรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต
- โรงเรียนควรคัดกรองเด็กก่อนเข้าเรียนทุกเช้า หากพบมีอาการไข้ ไอ จาม ขอให้นักเรียนใส่หน้ากากอนามัย และให้ผู้ปกครองมารับกลับไปรักษาที่บ้าน
- ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน พักรักษาตัวเป็นเวลา 3 - 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ และสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง และหากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์โดยเร็ว
- ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก ปิดจมูกด้วยหน้ากากอนามัย ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงไปยังสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านหรือแออัด
หากผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น เช่น หอบเหนื่อย ซึมลง รับประทานอาหารได้น้อย ควรรีบกลับไปพบแพทย์โดยเร็ว หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
โควิดไทย! พีกระลอก JN.1 ไปแล้วตั้งแต่ 15 มิ.ย. ย้ำเฝ้าระวังสายพันธุ์ลูกหลาน
เช็กพิกัด! 30 บาทรักษาทุกที่ หาหมอหลังเลิกงาน ที่คลินิกเวชกรรมชุมชนอบอุ่น