IQ หรือ EQ กับพัฒนาการเด็กมากกว่ากัน แพทย์แนะกิจกรรมเสริมช่วยพัฒนา
เปิดข้อมูลทางการแพทย์ IQ หรือ EQ อะไรสำคัญกว่ากัน สำหรับพัฒนาการของเด็ก แนะกิจกรรมเสริมสร้างสติปัญหาและความฉลาดทางอารมณ์ แสดงให้เห็นว่าการเล่นก็สำคัญเทียบเท่าการเรียน
“IQ และ EQ” เป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญและ เสริมสร้างให้เด็กมีความพร้อมทั้งด้าน IQ และ EQ เพราะเป็นซึ่งงสำคัญที่มีผลต่อ พัฒนาการด้านต่างๆ ก็ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำให้เขากล้าคิด กล้าทำ และสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้เมื่อทำอะไรผิดพลาดไปโดยที่ไม่จำกัดความคิดของเขาแต่กลับเป็นการสอนให้เขารู้จักคิด หรือใช้เหตุผลในการตัดสินใจก่อนทำอะไร และหากเกิดความผิดพลาดก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างๆเขาเสมอ
โนโรไวรัส (Norovirus) ยังไม่มียา-วัคซีนรักษา ระบาดมากในเด็กช่วงหน้าหนาว
ปรับพฤติกรรมเด็กไม่ให้ขี้โกหก ติดเป็นนิสัยจนโตกลายเป็นคนชอบโกหก
Freepik/skawee
พัฒนาการเด็ก

IQ เป็นความสามารถทางสติปัญญา
IQ (ไอคิว)ย่อมาจาก Intellingence Quotient โดยจะมีมาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด ซึ่งช่วงหลังคลอดเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ลูกน้อยต้องปรับตัวให้กับสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัวเองที่มีทั้งดีและไม่ดี ซึ่งครอบครัวจะต้องสอนให้ลูกตระหนักอยู่เสมอว่าสิ่งไหนที่ควรปฏิบัติตามหรือสิ่งไหนที่ไม่ควรปฏิบัติตาม เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้ คิด ตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างมีเหตุผล
ระดับค่า IQ ของลูกน้อยที่พ่อแม่ ต้องใส่ใจ
- 90 – 109 เป็นค่า IQ ที่ปกติ
- 80 – 89 เป็นค่า IQ เป็นค่าที่ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย คือ สามารถเรียนรู้ได้ปกติ แต่อาจช้ากว่าเล็กน้อยในเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะด้านวิชาการ
- 70 – 79 เป็นค่า IQ ที่ต่ำผิดปกติ คือ มีความบกพร่องทางสติปัญญา
กิจกรรมเพิ่มพัฒนาการด้าน IQ
- การต่อบล็อกไม้ จะช่วยฝึกทักษะกระบวนการคิดในการวางแผน และไหวพริบในการแก้ปัญหา
- เกมจับคู่ เป็นการฝึกให้สังเกตลักษณะของรูปทรงสิ่งของหรือสีสันต่างๆ เพื่อให้เขาสามารถแยกแยะถึงความแตกต่างของสิ่งของได้อย่างคล่องแคล่ว
- การระบายสี เป็นการฝึกให้ลูกน้อยได้ทำตามจินตนาการของตัวเอง โดยที่ไม่จำกัดความคิดของเขา เพื่อให้เขาได้กล้าที่จะคิด หรือแสดงออก ผ่านจากผลงานของเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปรับพฤติกรรมเด็กไม่ให้ขี้โกหก ติดเป็นนิสัยจนโตกลายเป็นคนชอบโกหก
EQ เป็นความฉลาดด้านอารมณ์คืออะไร?
EQ (อีคิว) Emotional Quotient ความฉลาดทางอารมร์ต้องควบคุมหรือระงับอารมณ์ของตัวเองให้ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึกด้านอารมณ์ ซึ่งการพัฒนาทักษะด้าน EQ จะช่วยให้ลดอารมณ์ที่ฉุนเฉียว เก็บอารมณ์ได้ดีขึ้น เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจผู้อื่นได้ รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหา พร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ มีความกระตืนรือร้นต่องานที่ได้รับหมอบหมาย ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคที่เกิดขึ้นภายใต้แรงกดดันต่าง ๆ และซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กยุคใหม่ควรมีการพัฒนา EQ ให้สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ดีในทุกสถานการณ์ที่เข้ามา ก็จะทำให้เขาเติบโตขึ้นมาเป็นที่รักของคนรอบข้าง และเป็นที่ยอมรับในสังคม
EQ ต้องวัดเมื่อไร ?
- เมื่อต้องการทราบศักยภาพของตนเอง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- เมื่อต้องทดสอบว่า EQ อยู่ในระดับไหน สามารถแก้ปัญหาร่วมกับผู้อื่นหรือไม่ เช่น พ่อแม่ เพื่อน ครู
- เมื่อมีความผิดปกติทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ เช่น ก้าวร้าว เข้ากับคนอื่นไม่ได้ ไม่มีความอดทน เห็นแก่ตัว ไม่รู้จักแบ่งปัน ทำงานเป็นทีมไม่ได้ ซึมเศร้า และไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต
กิจกรรมเสริมสร้าง EQ
- ให้ลูกมีอิสระทางด้านความคิดที่แสดงความเป็นตัวเอง ผ่านการทำในสิ่งที่ชอบ เช่น ดูการ์ตูน ฟังเพลง เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีทักษะการคิดที่สร้างสรรค์ และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ หรือความรู้สึกโดยไม่มีการปิดกั้น
- สอนให้เรียนรู้พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ว่าสิ่งไหนควรทำ หรือไม่ควรทำ เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ในการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมรอบตัว ให้สามารถรับข้อเสียของตัวเองได้ และสามารถปรับปรุงตามข้อผิดพลาดของตัวเองได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่การยอมรับผิด เพื่อให้ตัวเองได้รู้จักข้อเสียของตัวเอง ว่าเป็นพฤติกรรมที่ควรทำหรือไม่ เพื่อให้เราสามารถมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง
- การเล่านิทานให้ลูกฟังบ่อยๆ โดยการเล่านิทานจะช่วยกระตุ้นจินตนาการของลูกให้เห็นเป็นภาพ เพื่อช่วยให้ลูกได้รับรู้ความรู้ใหม่ๆที่สอดแทรกอยู่ในนิทาน ซึ่งจะเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้กับลูก และเป็นการสร้างความใกล้ชิดให้กับครอบครัวได้อีกด้วย
- การออกกำลังกาย เป็นการช่วยทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้เขามีสมาธิมากยิ่งขึ้น เช่น การเดิน วิ่ง กระโดด
IQ และ EQ อะไรสำคัญกว่ากัน?
IQ เป็นความฉลาดทางเชาว์ปัญญา ซึ่งแต่ละบุคคลมีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด และอาจมีระดับไม่เท่ากับ ซึ่งสามารถวัดและประเมินออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ ส่วน EQ เป็นความฉลาดทางอารมณ์ซึ่งสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ โดยไม่สามารถวัดและประเมินออกมาเป็นค่าที่แน่นอนได้เพราะฉะนั้น ควรนำลูกน้อยมาตรวจประเมินพัฒนาการให้ครบรอบด้าน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
ปัญหา-สาเหตุทำให้เด็กมี“ปัญหาการเรียน”เช็กสุขภาพกาย-สุขภาพจิต
7 เทคนิครับมือ เด็กดื้อ-ก้าวร้าว เผยสาเหตุที่พ่อแม่ยุคใหม่ควรรู้!