จับตาเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยุติ ศบค. "ครม." ผ่านร่างพ.ร.ก.โรคติดต่อ ไม่มีนิรโทษกรรมฝ่ายนโยบาย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ครม.ผ่านร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มีจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จ่อใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564  นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า คณะรัฐมนตรี ( ครม. ) เห็นชอบ ร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 สาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติม เป็นการกำหนดให้มีมาตรการที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ระงับ ควบคุม หรือขจัดโรคติดต่อ ที่มีการระบาดในกรณีปกติ และในกรณีที่มีความรุนแรง ให้ยุติหรือบรรเทาลงโดยเร็ว และเพิ่มหมวดที่เกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข

“เราเที่ยวด้วยกัน” เฟส 3 เริ่มใช้สิทธิ 1 ต.ค. 64 - 31 ม.ค.65

"บ้านอิสระ" ร้านอาหารดังหัวหิน พนักงานติดโควิด 12 คน เตือนลูกค้าสังเกตอาการ

 

นางสาวรัชดา เผยว่า ครม. เห็นชอบ ร่าง พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 สาระสำคัญของการแก้ไขเพิ่มเติม เป็นการกำหนดให้มีมาตรการที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ระงับ ควบคุม หรือขจัดโรคติดต่อ ที่มีการระบาดในกรณีปกติ และในกรณีที่มีความรุนแรง ให้ยุติหรือบรรเทาลงโดยเร็ว และเพิ่มหมวดที่เกี่ยวกับการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เพื่อแยกการจัดการกรณีโรคติดต่อในสถานการณ์ปกติ ออกจากโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง 

"ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดร้ายแรงนี้ ก็จะไม่ต้องออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งสาระหลัก ๆ จะเน้นไปที่ความมั่นคง ถ้าในกรณีมีโรคติดต่อร้ายแรงเช่นนี้ก็จะใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ แทน ก็จะมีความเหมาะสมกับการบริหารจัดการ มากขึ้น"

น.ส.รัชดา ยืนยันว่าในประเด็นสำคัญที่มีการจับตามองว่า สาระของ พ.ร.ก.ฉบับนี้จะเป็นการนิรโทษกรรมให้กับฝ่ายบริหารหรือไม่ ยืนยันว่า สาระสำคัญคือต้องการที่จะคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต โดยกำหนดว่า

"กำหนดให้ยกเว้นความรับผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ ให้แก่เจ้าพนักงานคุ้มครอง พนักงานควบคุมโรคติดต่อ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือ บุคคลใด ซึ่งได้รับมอบหมาย หรือได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เช่นเดียวกับในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข" 

"เรื่องนี้่ไม่มีเนื้อหาสาระใด ที่เป็นการกล่าวถึงที่จะไปคุ้มครองเจ้าหน้าที่ ฝ่ายนโยบาย หรือฝ่ายบริหาร เพราะฉะนั้นโดยสาระขอย้ำว่าเป็นการดูแลเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่จะได้รับประโยชน์จากร่าง พ.ร.ก.ฉบับนี้ ก็จะครอบคลุม เจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้ช่วย อสม. รวมถึงพนักงานกู้ภัย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสนาม ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19"รองโฆษกรัฐบาลกล่าว

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ครม.นัดนี้ ไม่ได้ขยายเวลา การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯออกไป อีก ทำให้ต้องจับตาว่า การประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค.ในวันที่ 27 ก.ย. หากไม่มีการพิจารณาต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จะครบกำหนดในที่ 30 ก.ย.นี้ คาดว่าในเร็วๆนี้จะประกาศใช้  พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แทนพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งจะส่งผลให้ศบค.ที่ตั้งตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน สิ้นสภาพไปทันทีเช่นกัน 

ต่อมาในช่วงเย็นวันเดียวกัน นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แจงเพิ่มเติมว่า ยืนยันว่า วันนี้ครม. เห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 พ.ศ. .... (พ.ร.ก.ควบคุมโรค) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโดยกำหนดให้มีมาตรการที่จำเป็นและมีประสิทธิภาพในการป้องกัน ระงับ ควบคุม หรือขจัดโรคติดต่อที่มีการระบาดในกรณีปกติและในกรณีที่มีความรุนแรงให้ยุติหรือบรรเทาลงโดยเร็ว  และสามารถตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมาเป็นกลไกดำเนินงานได้

"ปัจจุบัน ยังเป็นการบริหารราชการภายใต้พระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ครม. ไม่ได้มีการพูดถึงจะยุบศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19  (ศบค.)และยกเลิก พ.ร.ก ฉุกเฉิน ตามที่มีบางสื่อรายงานข่าวไป 

ทั้งนี้ ร่างพ.ร.ก.ฯยังไม่มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ส่วนการพิจารณาต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือไม่นั้น ทางศบค.และครม.จะพิจารณาต่อไป

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ