สภาฯเตรียมเรียกเงินเกือบ10 ล้านคืนจาก"สิระ เจนจาคะ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เอฟเฟคจากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.กทม. พรรรคพลังประชารัฐ พ้นจากตำแหน่ง พร้อมระบุว่า นายสิระ ขาดคุณสมบัติไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ตั้งแต่แรก ส่งผลให้สภาผู้แทนราษฎร กำลังคำนวณเงินที่ต้องเรียกคืนจากนายสิระ ขณะที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย เรียกร้องให้ กกต. แจ้งความ นายสิระ เพราะแจ้งคุณสมบัติเท็จ มีโทษทางอาญา

พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย แถลงหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่า นายสิระขาดคุณสมบัติความเป็น ส.ส. เพราะเคยต้องโทษในคดีอาญา ในปี 2538 พร้อมเรียกร้องให้ กกต. แจ้งความดำเนินคดีกับ นายสิระ เพราะแจ้งคุณสมบัติเท็จ ตามกฎหมายมีโทษจำคุก 1-10 ปี ไม่รอลงอาญา รวมถึงตัดสิทธิทางการเมือง 20 ปี

ส่วนการเรียกเงินคืน พีพีทีวี ลองคำนวณเงินที่นายสิระ ต้องจ่ายคืนให้กับสภาผู้แทนราษฎร จะพบว่า ตั้งแต่ 24 มี.ค. 2562 นายสิระ ดำรงตำแหน่งเป็นส.ส. ทั้งหมด 33 เดือน

ไม่รอด! ศาลรัฐธรรมนูญ สั่ง “สิระ เจนจาคะ”พ้นส.ส. เหตุต้องคำพิพากษาถึงที่สุดคดีฉ้อโกง

"สิระ-ไพบูลย์" มอบกระเช้าปีใหม่ "เสรีพิศุทธ์" ขออภัยที่เคยล่วงเกิน

ต่อเดือน เขาได้เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง 113,560 บาท หรือ คิดเป็น 3,747,480 บาท รวมถึงตำแหน่งส.ส. กำหนดให้มีผู้ช่วยส.ส. และ ผู้ชำนาญการ รวม 7 คน ซึ่งรับเงินเดือนจากสภาผู้แทนราษฎร 33 เดือน เช่นเดียวกัน  รวมเป็นเงิน 4,257,000 บาท

นอกจากนี้ยังพบว่า นายสิระ เป็นกรรมาธิการ และ อนุกรรมาธิการของสภา รวม 14 คณะ เกือบ 3 ปีที่ผ่านมา เขาเข้าประชุม กรรมาธิการ รวม 170 ครั้ง แต่ละครั้งได้รับเบี้ยประชุมครั้งละ 1,500 บาท คิดเป็นเงิน 255,000 บาท

ส่วนการประชุมอนุกรรมาธิการ ประชุมรวม 23 ครั้ง ได้เบี้ยประชุมครั้งละ 800 บาท รวมเป็นเงิน 18,400 บาทเมื่อคำนวณ เงินทั้งหมด หมายความว่า นายสิระ ต้องจ่ายเงินคืนให้สภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย  8,277,880 บาท

สาเหตุที่บอกว่า เงินกว่า 8 ล้านบาท เป็นเงินอย่างน้อยที่ต้องจ่าย เพราะ ตามข้อมูล นายสิระ ต้องคืนเงิน 7 รายการให้กับสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย เงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาประชุม (ค่าพาหนะ) ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมาธิการ ค่าตอบแทน ผู้ช่วย ส.ส. และ ผู้ชำนาญการประจำตัว ส.ส.  ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่ารักษาพยาบาล และ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมาธิการ

ซึ่งหากเราย้อนดูการทำงานของนายสิระ จะพบว่า เดินทางลงพื้นที่ต่อเนื่อง เช่น 21 ก.ค. 2563 นายสิระ ลงพื้นที่ บ้านกกกอก ติดตามคดีน้องชมพู่ ตอนนั้นไปปีนเขาขึ้นไปที่ภูเหล็กไฟ วันที่18 ส.ค. 2563 นายสิระ ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ตรวจการก่อสร้างคอนโดหรู 28 ส.ค. 2564 นายสิระ ลงพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ติดตามคดีผู้กำกับโจ้

ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง แนะนำว่า กกต.ชุดปัจจุบันควรฟ้องเรียกค่าเสียหายการจัดการเลือกตั้งเขตหลักสี่ เมื่อ 24 มี.ค. 2562 และ การจัดการเลือกตั้งซ่อมที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ เพราะ มองว่า นายสิระ ต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะไม่มีคุณสมบัติที่จะสมัครเป็น ส.ส. ตั้งแต่แรก แต่หาก กกต.ฟ้องเรียกค่าเสียหายแล้ว นายสิระไม่จ่าย หรือ ไม่มีเงินจ่าย นายสมชัย มองว่าต้องบังคับคดียึดทรัพย์ เพื่อนำเงินมาชดใช้แทน  เพราะ นายสมชัยมองว่า พฤติกรรมของนายสิระ เข้าข่ายเป็นการทุจริต

ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง แนะนำว่า กกต.ชุดปัจจุบันควรฟ้องเรียกค่าเสียหายการจัดการเลือกตั้งเขตหลักสี่ เมื่อ 24 มี.ค. 2562 และ การจัดการเลือกตั้งซ่อมที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ เพราะมองว่า นายสิระ ต้องชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะไม่มีคุณสมบัติที่จะสมัครเป็น ส.ส. ตั้งแต่แรก แต่หาก กกต.ฟ้องเรียกค่าเสียหายแล้ว นายสิระไม่จ่าย หรือ ไม่มีเงินจ่าย นายสมชัย มองว่าต้องบังคับคดียึดทรัพย์ เพื่อนำเงินมาชดใช้แทนเพราะ นายสมชัยมองว่า พฤติกรรมของนายสิระ เข้าข่ายเป็นการทุจริต

ส่วนกรณีที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ หัวหน้าพรรคต้องรับรองคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วย  ซึ่งกรณีของนายสิระ มีนายอุตตม สาวยน อดีตหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นคนเซ็นรับรองคุณสมบัติ

ประเด็นนี้ นายสมชัย บอกว่า กกต.ต้องรวบรวมหลักฐานเพื่อยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบว่า นายอุตตม รู้เห็น และ จงใจปกปิดข้อมูลของผู้สมัครเลือกตั้งหรือไม่

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ