เปิดวิสัยทัศน์ “สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์” กรุงเทพฯต้องเป็นเมืองสวัสดิการ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์” โชว์วิสัยทัศน์ กรุงเทพฯต้องเป็นเมืองสวัสดิการ ทวงคืนผิวการจราจร ลดค่าโดยสารรถสาธารณะ

"สุชัชวีร์" แจง ดูรวยขึ้น เพราะทรัพย์สินภรรยา

ปชป.เชื่อ“ดร.เอ้ สุชัชวีร์”ทำกรุงเทพฯเปลี่ยนได้จริง หวังคนกรุงหนุน

วันที่ 23 มีนาคม 2565 สถานีโทรทัศน์ PPTV HD ช่อง 36 ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีเสวนาเรื่อง "กรุงเทพ ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว" ขึ้นที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ให้ผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ ทั้ง 5 คน ร่วมสะท้อนปัญหา แสดงวิสัยทัศน์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

โดยรูปแบบงานได้เชิญวิทยาการจากทางมหาวิทยาลัย 3 ท่าน ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง รศ.ดร.ภาวิณี สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ร่วมตั้งคำถามที่ผู้สมัครผู้ว่ากทม. ประเด็นดังนี้ ปัญหาผังการจราจรและขนส่งสาธารณะ ปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในกทม. ที่ไม่สามารถควบคุมและจำกัดรถยนต์ที่เข้ามาในเมืองกรุงได้ ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากแม้จะมีการซ่อมสร้างบ่อยครั้ง ปัญหาการจัดการพื้นที่สีเขียวมาให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีการเชื่อมโยง และปัญหาคุณภาพชีวิตของคนเมือง

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.พรรคประชาธิปัตย์  แสดงวิสัยทัศน์ ว่า วิสัยทัศน์ที่ตนนำเสนออย่างชัดเจน คือ กรุงเทพฯ ต้องเป็นเมืองสวัสดิการ ที่ทันสมัยต้นแบบของอาเซียน คำว่าเมืองสวัสดิการหมายความว่า ไม่ว่ายากดีมีจนแต่ต้องอยู่ในเมืองนี้เท่าเทียมกัน

และ สวัสดิการนั้นต้องเป็นสวัสดิการที่ฟรีอย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่การศึกษาฟรี ระบบสามาธารณฟรี แต่ไม่มีคุณภาพ ลูกหลานไม่ได้ความรู้ แล้วคุณไปรักษาแล้วไม่หาย หรือว่าการดูแลนั้นไม่เท่าเทียมกัน

ประเด็นแรกเรื่องปัญหาการเดินทางและการเชื่อมต่อ เราต้องรู้ว่ากรุงเทพฯวางแผนผิดตั้งแต่ต้องมาถึงวันนี้ เราก็ต้องแก้ รู้หรือไม่ว่าพื้นที่ถนนของกรุงเทพฯนั้น ไม่ถึง 7 % ของเมืองทั้งหมดและต้องยอมรับว่าเมืองการใช้รถใช้ถนนนั้นมีความจำเป็น วันนี้รู้หรือไม่ว่าการใช้รถบบนทางด่วนมากกว่าปริมาณการสัญจรของรถเมล์ ซึ่งรถเมล์ในปัจจุบันเหลือ 6 แสนคนต่อวันเท่านั้นเอง รถไฟฟ้าบีทีเอสปริมาณ 8 แสนคนต่อวัน รถไฟฟ้าใต้ดินประมาณ 4 แสน รถไฟปริมาณ 1 แสนคนต่อวัน นี่คือคราวๆ

แต่เมืองกรุงเทพฯเป็นเมืองรถฉะนั้นถ้าเปลี่ยนให้คนไม่ใช้รถทันทีก็ต้องบอกว่าเป็นไปไม่ได้ และเมืองหลวงอื่นๆที่เขาเริ่มต้นถูกต้องเพราะถนนของเขากว้าง พื้นที่ถนนของเขาเยอะ อย่างกรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นถนนมีอยู่ 20 % กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสมีถึง 40 % กรุงเทพฯปัจจุบันที่ว่า 7 % นั้นมันไม่ถึงเพราะว่าวันนี้ในการก่อสร้างก็เอาพื้นที่ใช้ไปตั้งเยอะ รถจอดอยู่เต็มซอยมีข่าวว่าไฟไหม้รถดับเพลิงยังเข้าไปไม่ถึงเลย ดังนั้นอันดับแรกเราต้องแก้ไขเฉพาะหน้าก่อน

“รถไฟฟ้าดีสนับสนุนเต็มรูปแบบแต่ว่าวันนี้ก็อยากจะช่วย หากได้เป็นผู้ว่าฯกทม.อยากขอทวงคืนผิวการจราจรกลับมาบ้าง เพราะหากลองชะโงกดูการก่อสร้างรถไฟฟ้าผิวการจราจรหายไป 1ถึง 2 เลน อันนี้ผู้ว่าฯกทม.สามารถดำเนินการได้ทันทีเพราะว่า เขาจะสร้างเขาต้องมาขอเรา เขาจะส่งมองเขาก็ต้องได้รับการอนุมัติจากเรา ตรงนี้ท่านจะได้ผิวการจราจรกลับมาได้ 1 เลน ชีวิตท่านเปลี่ยนทันที”

ประเด็นที่ 2 เรื่องค่าเดินทางของคนกรุงเทพฯทำไมถึงแพงเหลือเกิน ซึ่งก็แพงจริงๆ แพงตั้งแต่รถเมล์ โดยรถเมล์ถ้าเป็นรถแอร์ราคา 25 บาท ถถ้าขึ้นทางด่วนก็ราคา 27 บาทไปกลับก็ 50 กว่าบาทแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าทำไมถึงแพง ปัจจุบันขสมก.มีรถเมล์จำนวน 2,800 คัน เป็นรถใหม่ที่เพิ่งซื้อไปจำนวน 439 คันแต่ว่ารถเมล์ทั้งหมดนั้นไม่มีรถที่เป็นรถไฟฟ้าเลย เป็นรถดีเซลเป็นส่วนใหญ่ ดีเซลวันนี้ 30 บาทต่อลิตรรถที่วิ่งอยู่ในขณะนี้ลิตรหนึ่งวิ่งได้ 2 กิโลเมตร แสดงว่าต้นทุนรถของขสมก.ตกอยู่ที่ 15 บาทต่อกิโลฯและแบบนี้จะให้เก็บราคาโดยสารถูกก็ยาก ขสมก.ตอนนี้เป็นหนี้ประมาณแสนล้านแล้ว แต่วันนี้รถไฟฟ้า 1 กิโลฯราคา 3- 4 บาทแสดงว่ารถไฟฟ้าถูกกว่าใช้รถดีเซลที่เราใช้อยู่ 4 เท่า

“เวลาไปเก็บกับพี่น้องประชาชนก็เก็บแพงตามต้นทุนของเขาอีกทั้งรถเมล์ในปัจจุบันวิ่งยาวทั้งแต่รังสิตมาจนถึงปากน้ำ ไม่มีใครเขาทำกัน ดังนั้นการแก้ไขตรงนี้จะทำให้รถเมล์ราคาถูกได้ก็ต้องเปลี้ยนเป็นรถไฟฟ้า ซึ่งกทม.ก็ทำได้เพราะปัจจุบันรัฐอนุญาตให้กทม.นั้นสามารถดำเนินการเรื่องรถขนส่งได้ด้วยตัวเอง กทม.สามารถทำรถไฟฟ้าได้ตรงนี้เอกชนมาแข่งขันกัน เท่านั้นไม่พอ รถไฟฟ้าที่ต้นทุนกิโลเมตรละ 3 บาทหรือ 4 บาท ถูกกว่ารถเมล์ของขสมก.เราจะทำให้รถเมล์วิ่งสายสั้นขึ้น ซึ่งรถเมล์ในกรุงเทพฯวิ่งยาวมาก แต่ถ้าเป็นผมรถเมล์วิ่งสั้นๆวิ่งบ่อยๆคนไม่ต้องรอและสามารถทำราคาได้ถูก รถเมล์รถไฟฟ้าที่ผมนำเสนอค่าใช้จ่ายเที่ยวหนึ่งไม่เกิน 12 บาท ถูกกว่าครึ่งหนึ่ง”

เช่นเดียวกับรถไฟรถไฟฟ้า รู้หรือไม่ทำไมราคาถึงแพง ยกตัวอย่างกรณีของ BTS เนื่องจากรัฐเองคิดว่าไม่ใช่ตั้งแต่ต้น ตนจึงของย้ำว่า กรุงเทพฯต้องเป็นเมืองสวัสดิการ ซึ่งหมายความว่า ระบบขนส่งมวลชนนั้นถือเป็นระบบสวัสดิการของรัฐ แสดงว่าตอม่อ 88,000 กว่าล้านรัฐต้องแบกรับเป็นภาระ เพราะนี่เป้นการสนับสนุนขั้นพื้นฐานของเมืองสวัสดิการ แต่ส่งที่คนจ่ายก็จ่ายในเรื่องของค่าบริการในการดำเนินการ

“ผมเคยนำเสนอไปแล้วเราสามารถเก็บค่ารถไฟฟ้า 20-25 บาทตลอดเส้นทาง ถ้าค่าโดยสารรถไฟฟ้าอยู่ที่ 20 บาทคนขึ้นจะเพิ่มขึ้นจาก 8 แสนคนเป็น 1 ล้านคนต่อวันทันที ลองนำมาคูณ 20 บาทมาคูณ 1 ล้านก็เท่ากับวันหนึ่งได้ 20 ล้านบาทแล้ว ถ้า 1 ปีจะได้ค่าโดยสารที่ถูกขนาดนี้จำนวน 7 พันกว่าล้านบาทสามารถจ้างบริษัทเดินรถให้เดินรถให้ปลอดภัยและมีคุณภาพได้ ถ้าคำนวนค่าบริการ รถเมล์ที่เปลี่ยนเป็นไฟฟ้า ราคา 12 บาท รถไฟฟ้าราคา 20 บาท ก็เหลือแค่ 30 บาทเท่านั้นเองไปกลับ 60 บาท ซึ่งคิดเป็น 20 % ของรายได้ขั้นต่ำ”

เปิดวิสัยทัศน์ "วิโรจน์" พรรคก้าวไกล ชูแก้ระบบขนส่งสาธารณะ

“สกลธี ภัททิยกุล” ชูนโยบายล้อ ราง เรือ ดึงคนกรุงใช้รถสาธารณะ

ประเด็นที่ 3 เรื่องน้ำท่วม อยากจะบอกอย่างนี้ว่า น้ำท่วมคือของจริงถ้าเรายังทำอยู่แบบเดิม คิดแค่เปลี่ยนท่อระบายน้ำเดี๋ยวมันก็ทรุดอีกและก็ทำแบบนี้อยู่ร่ำไป คิดแบบเดิมทำแบบเดิมก็จะเจอปัญหาที่ใหญ่ขึ้นไม่มีทางแก้ได้ สิ่งที่ทุกท่านคิดว่าสิงคโปร์เขาทำอะไร ญี่ปุ่น ฮ่องกงเขาทำอะไร ปัจจุบันการแก้ปัญหาน้ำท่วมในเมืองเขาใช้ระบบแก้มลิงใต้ดินหมดแล้ว เพราะว่าระบบปั๊มอัตโนมัติช่วยได้จริงและดีกว่าวันนี้แน่นอนแต่ก็แค่ประทังชีวิตเท่านั้น เพราะทุกวันนี้ฝนตกมา 30 นาทีเขาเรียกว่าห่าใหญ่เลย ซึ่งเกินกว่าระบบปั๊มของกทม.ที่จะรับได้ ตรงนี้ที่ต่างประเทศเจอมาก่อนเขาเอาไปพักไว้ใต้ดิน

 

TOP การเมือง
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ