สหรัฐฯ ระงับความช่วยเหลือเมียนมา พร้อมประณามกองทัพ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นอกจากจากการแสดงถึงการคัดค้านการรัฐประหารของคนในเมียนมาร์ตอนนี้ต้องบอกว่ามีจำกัดเพราะทุกอย่างถูกคุมไว้เกือบหมด ความหวังคือ แรงกดดันจากโลกภายนอก โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจ มีมีเครื่องมือสำคัญในการกดดันอย่างหนึ่งคือ การคว่ำบาตรและการตัดความช่วยเหลือ ล่าสุด สหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ระบุระงับความช่วยเหลือทั้งหมดให้กับเมียนมาร์แล้ว

ต่างชาติ ขู่ กลับมาคว่ำบาตรเมียนมา อีกครั้ง

“เจ้ายอดศึก” เตือน รัฐประหารเมียนมา เสี่ยงถูกคว่ำบาตร

กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ระบุชัดเจนว่า การยึดอำนาจของกองทัพเมียนมาคือ การก่อรัฐประหาร การใช้คำว่า รัฐประหาร หรือ Coup มีผลตามมาคือ ความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ไปยังเมียนมาจะหยุดชะงักทันที ความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลแก่เมียนมาทั้งหมดยุติลงทันที ยกเว้นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ซึ่งถือเป็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม

นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมาหลังเมียนมาร์เปิดประเทศ สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือเมียนมาในการพัฒนาประชาธิปไตยรวม 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การระงับความช่วยเหลือเกิดขึ้นหลังโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์ประณามการจับกุมตัวนางออง ซาน ซู จี และการเข้ายึดอำนาจของกองทัพเมียนมาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ในแถลงการณ์ ผู้นำสหรัฐเรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมกันกดดันให้กองทัพสละอำนาจ ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวและนักการเมือง  และทิ้งท้ายว่า สหรัฐฯ จะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในทุกประเทศที่ประชาธิปไตยถูกคุกคาม เป็นการจัดการกับการต่างประเทศงานแรกๆของไบเดน  สถานการณ์ในเมียนมาไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้นำสหรัฐ เพราะในช่วงที่เมียนมาเริ่มเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประชาธิปไตยเป็นช่วงที่เขาเป็นรองประธานาธิบดีในรัฐบาลของบารัก โอบามา เขาเองยังเคยได้พบกับนางออง ซาน ซู จี ในปี 2016 ด้วย

อีกอย่างที่สหรัฐทำเพื่อกดดันกองทัพเมียนมาร์คือ การทำผ่านกลไกขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะในส่วนของคณะมนตรีด้านความมั่นคง ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดใน UN สมาชิกถาวรมี 5 ชาติคือ สหรัฐฯ ,อังกฤษ, ฝรั่งเศส, รัสเซีย และจีน

วันนี้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมด่วนเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาร์ แต่ก็เป็นไปตามคาด ทำอะไรมากไม่ได้แม้แต่การออกแถลงการณ์ประณามการยึดอำนาจ เพราะ 2 ประเทศสมาชิกอย่างรัสเซียและจีนคัดค้าน 2 ชั่วโมงที่ถกเถียงกัน โดยสหรัฐ สหราขอาณาจักรเสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงออกแถลงการณ์ประณามและเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาร์ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน

แต่จีนและรัสเซียใช้สิทธิในการวีโต้หรือยับยั้งความพยายามนี้ และให้เลื่อนการประชุมออกไปก่อนให้เหตุผลว่า ขอใช้เวลาในการพิจารณาเรื่องนี้มากกว่านี้   ทำให้ทูตของสหราชอาณาจักรประจำสหประชาชาติไม่ค่อยพอใจและออกมาพูดแบบนี้ ซึ่งที่ผ่านมาจีนและรัสเซียถือเป็นสองประเทศที่มักใช้อำนาจในการวีโต้ เมื่อสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีการประชุมเพื่อตอบโต้หรือออกมาตรการคว่ำบาตรเมียนมา ในกรณีการกระทำทารุณกรรมชาวมุสลิมโรฮิงญา โดยทั้งคู่ถือว่าเป็นมหาอำนาจที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพเมียนมา

จีนเองเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กับกองทัพเมียนมามาหลายสิบปี ในช่วงที่โลกตะวันตกต่างหันหลังให้เมียนมา จีนถือว่าเป็นเพียงไม่กี่ประเทศที่ยังทำการค้าร่วมกับเมียนมา

ขณะที่รัสเซียเองก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพเมียนมาเช่นกัน นายพลมิน ออง หล่ายผู้ก่อรัฐประหารเคยเดินทางไปกรุงมอสโกว์หลายครั้ง และเคยเข้าพบกับบุคคลสำคัญอย่างรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมของรัสเซีย โดยในงานครบรอบ 75 ปีวันแห่งชัยชนะเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว นายพลมิน ออง หล่าย เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ทหารที่รัสเซียรับเชิญให้เข้าร่วมงาน

จากนี้ท่าทีของจีนกับรัสเซียต่อกองทัพเมียนมาจะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ชี้ว่าโลกตะวันตกรวมไปถึงองค์กรนานาชาติอย่างยูเอ็นเองว่าจะสามารถกดดันกองทัพเมียนมาได้มากน้อยแค่ไหน

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ