อาเซียนเรียกร้องเมียนมาหยุดใช้ความรุนแรง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในส่วนของท่าทีจากประชาคมนานาชาติต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาสัปดาห์นี้ความสนใจถูกพุ่งเป้าไปที่ประชาคมอาเซียน ประชาคมในภูมิภาค เพราะเมื่อวานนี้อาเซียนได้จัดประชุมผ่านวีดีโอคอลเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ของประเทศเมียนมาหลังการประชุมเสร็จ มีสิ่งเดียวที่ทุกประเทศมีท่าทีที่ตรงกันคือ ขอให้ทุกฝ่ายในเมียนมาหยุดการใช้ความรุนแรง และมีเพียง 4 ประเทศที่ไปไกลกว่านั้นคือ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ที่เรียกร้องให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของเทศของเมีย

กองทัพเมียนมาขอตร.-ทหารไม่ใช้กระสุนจริง

สิงคโปร์ จี้กองทัพเมียนมา หยุดทำร้ายประชาชน - ปล่อยตัว “ซูจี”

วันนี้บรูไน ซึ่งเป็นประธานประชาคมอาเซียนประจำปีนี้ออกแถลงการณ์หลังการประชุมกับประเทศสมาชิกเมื่อวานนี้ว่า ประชาคมอาเซียนเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในเมียนมาหยุดการใช้ความรุนแรง หรือการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ขอให้ทุกฝ่ายหันมาพูดคุย แสวงหาแนวทางปรองดอง โดยยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง อาเซียนพร้อมจะช่วยเหลือเมียนมาในเรื่องนี้ ซึ่งตีความ อนุมานได้ว่า อาเซียนคงจะยังไม่ทำอะไรมากเป็นท่าทีที่หลายฝ่ายผิดหวัง แต่ก็เป็นท่าทีที่ไม่เกินความคาดหมาย

อย่างไรก็ตามมีบางประเทศที่แสดงจุดยืนที่มากกว่านั้น อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ 4 ประเทศนี้ทำมากกว่าสมาชิกที่เหลือ นั่นคือ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี เป็น 4 ประเทศที่แข็งขันที่สุดนับตั้งแต่เกิดการรัฐประหาร

โดยหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมเมื่อวานนี้ เร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของอินโดนีเซียที่เป็นแนวหน้าในเรื่องนี้มาตลอด ออกมาแถลงจุดยืนของอินโดนีเซีย

นั่นก็คือ ต้องปล่อยตัวนักโทษทางการเมืองให้หมด และต้องคืนอำนาจประชาธิปไตยให้กับประชาชนชาวเมียนมาร์

หลังจากนั้นอินโดนีเซียพร้อมจะช่วยเช่นเดียวกับฮิสฮัมมุดดิน ฮุสเซ็น รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของมาเลเซีย ออกมาแถลงหลังประชุมในข้อความที่คล้ายกันคือ ให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวนักการเมืองทั้งหมด และมาเลเซียพร้อมจะสนับสนุนให้มีการพูดคุยกันระหว่างทุกฝ่ายในเมียนมา

ด้านนายทีโอโด ล็อกซิน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศฟิลิปปินส์ ระบุว่า กองทัพต้องปล่อยตัวนางอองซานซูจี คืนอำนาจให้รัฐบาลพลเรือน หลังจากนั้นจึงค่อยมีการพูดคุยกันระหว่างทุกฝ่าย

ในส่วนของสิงคโปร์ ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เขาได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซี ที่รายการเราได้เสนอไปแล้วเมื่อวานนี้ว่า เขาระบุว่า การที่กองทัพเมียนมาใช้ความรุนแรงกับประชาชนเป็นสิ่งที่รับไม่ได้และการเข้ามายึดอำนาจของกองทัพครั้งนี้ เท่ากับเป็นการทำให้กระบวนเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลพลเรือนของเมียนมาต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่

ในการให้สัมภาษณ์ นายลี เซียน ลุงพูดว่า การจับกุมนางออง ซาน ซู จี ด้วยข้อหาอย่างการครอบครองวิทยุสื่อสารเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ลำบากและกองทัพเมียนมาต้องปล่อยตัวเธอ

ขณะที่ประเทศไทย ที่ที่ผ่านมามักสงวนท่าทีมาโดยตลอด และไม่ได้ออกมาประณามเมียนมาอย่างจริงจัง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศของไทยได้ออกแถลงการณ์ว่า ประเทศไทยติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมาด้วยความกังวลและหวังว่าทุกฝ่ายในเมียนมาจะสามารถหันหน้ามาเจรจา เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาอย่างสันติภาพ เพื่อประโยชน์ของชาวเมียนมา

ด้านวุนนา หม่อง ลวิน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของเมียนมาที่ถูกกองทัพแต่งตั้ง ได้เข้าร่วมประชุมผ่านวีดีโอคอลด้วย สิ่งเดียวที่พูดคือ เขาตอกย้ำถึงความจำเป็นของการทำรัฐประหาร

โดยวุนนา หม่อง วินระบุว่า มีการโกงการเลือกตั้งในการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และกองทัพจำเป็นต้องเข้ามาแทรกแซง

เพื่อเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับข้อกล่าวอ้างนี้ และล่าสุดกองทัพเมียนมาได้แต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่แทนคณะกรรมการเลือกตั้งชุดเดิมที่ควบคุมดูแลจนทำให้พรรค NLD ของนางซูจีชนะเลือกตั้ง

ในวิกฤตการทางการเมืองของเมียนมาครั้งนี้ ประชาคมอาเซียนถูกประชาคมนานาชาติคาดหวังให้เข้ามามีส่วนช่วยคลี่คลายสถานการณ์ที่แนวโน้มนองเลือกขึ้นมากเรื่อยๆ

จนถึงขณะนี้อาเซียนในฐานะประชาคมยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนออกมา ยกเว้นการขอให้ทุกฝ่ายหยุดใช้ความรุนแรงหรือยั่งยุ

ยกเว้น 4 ประเทศที่ไปไกลกว่านั้นนิดหน่อย ก่อนหน้านั้น อินโดนีเซียเคยเสนอให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ข้อเสนอนี้ถูกชาวเมียนมาต่อต้าน เพราะการเลือกตั้งใหม่เท่ากับเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการรัฐประหาร

สิ่งที่ควรเรียกร้องคือ ให้ทหารคืนอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนที่ชนะเลือกตั้ง  ดูเหมือนว่าอาเซียนจะยังทำอะไรไม่ได้มาก แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าทำอะไรไม่ได้เลยเพราะสไตล์ของอาเซียนให้ ใช้เวลา ดูซ้ายดูขวา ระมัดระวัง

อันที่จริงในอดีตอาเซียนก็เคยมีตัวอย่างความสำเร็จในการแทรกแซงหรือเกี่ยวพันทางการเมืองของประเทศสมาชิกอย่างเมียนมา เช่นในคราวที่เมียนมาร์ถูกถล่มด้วยไซโคลนนากิสในช่วงปี 2008คนเสียชีวิต 140,000 คน 2 ล้านคนไร้ที่อยู่อาศัย เมียนมาในช่วงนั้นถูกคว่ำบาตร แร้นแค้นอย่างหนัก

พอเจอกับไซโคลนถล่มในระดับที่เรียกว่าหายนะ ถึงแม้ว่าเกินกำลังในการจัดการแต่รัฐบาลทหารที่นำโดยนายพลตานฉ่วยก็ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากประชาคมโลกเพราะไม่ไว้ใจ เป็นความเสียหายระดับหายนะที่เมียนมาร์จัดการโดยลำพังไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากประชาคมโลก

ในปีนั้น อาเซียน มีนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ นั่งเป็นเลขาธิการได้เจรจาจนนายพลตานฉ่วยยอม ส่วนหนึ่งเพราะเชื่อใขเนื่องจากเป็นอาเซียนด้วยกันก็เลยทำให้ในที่สุดเมียนมาร์เปิดให้หน่วนงานบรรเทาทุกข์และยูเอ็นเข้าไปได้

เหตุการณ์ในครั้งนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กองทัพเมียนมาร์เริ่มเปิดประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ จนนำมาสู่การปล่อยตัวนางอองซานซูจีและจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2015 ซึ่งถือเป็นเป็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกหลังอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐทหารมาหลายสิบปี

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ