นักวิทย์ถ่ายภาพฉลามเรืองแสงได้เป็นครั้งแรก


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิทยาศาสตร์ถ่ายภาพฉลามเรืองแสงใต้ทะเลลึกได้เป็นครั้งแรก

พบฉลามแถบนิวซีแลนด์ 3 สายพันธุ์ “เรืองแสงได้”

ยังไม่พบฉลามวาฬติดอวน- อธิบดีทช.ระบุเรืออวนลากเป็นปัญหาสัตว์ทะเล

ฉลามที่ว่านี้มีชื่อว่า “ฉลามไคต์ฟิน” (kitefin shark) เมื่อโตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 180 เซนติเมตร ซึ่งทำให้มันเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังเรืองแสดงได้ที่ตัวใหญ่ที่สุดในโลก

งานศึกษาที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (2 มี.ค.) โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาทอลิกลูแว็งในเบลเยียม และสถาบันวิจัยสภาพบรรยากาศและน้ำแห่งชาติของนิวซีแลนด์ (NIWA) ระบุว่า ฉลามตัวนี้ถูกพบใต้ทะเลลึกนอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะใต้ของนิวซีแลนด์

แม้ว่าที่ผ่านมาตัวอย่างไคต์ฟินที่เคยจับได้จะบอกเราว่ามันน่าจะเรืองแสงได้ แต่การพบเห็นหรือสังเกตพวกมันตามธรรมชาติเป็นเรื่องยากมากๆ เนื่องจากพวกมันอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้ทะเลระหว่าง 200 เมตร ถึง 900 เมตร  ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์สามารถเก็บภาพของฉลามชนิดนี้ขณะเรืองแสงได้

การเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต (Bioluminescence) คือ การสร้างพลังงานจากปฏิกิริยาทางเคมีภายในร่างกายที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสง  โดยนักวิจัยเชื่อว่าในบรรดาฉลาม 540 สายพันธุ์ มีฉลาม 57 สายพันธุ์ที่น่าจะเรืองแสงได้

นอกจากฉลามไคต์ฟินแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังพบฉลามน้ำลึกที่มีคุณสมบัติเรืองแสงอีก 2 สายพันธุ์ คือ ฉลามแบล็กเบลลีแลนเทิร์น และฉลามเซาต์เทิร์นแลนเทิร์น

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ