สัมภาษณ์พิเศษปัญหาดินแดนปาเลสไตน์ - อิสราเอล ที่ไร้แสงสว่างของความสันติอันใกล้


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สัมภาษณ์พิเศษ นักวิชาการด้านตะวันออกกลาง กับ ปัญหาดินแดนปาเลสไตน์ -อิสราเอล ที่ไร้แสงสว่างของความสันติอันใกล้ เพราะรากเหง้าของปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข

ล่าสุด การโจมตีเกิดขึ้นอีกครั้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส หลังอิสราเอลได้ผู้นำคนใหม่ นายกรัฐมนตรีนาฟตาลี เบนเนต เพียง 2 วัน (16 มิ.ย.64) โดยย้อนไปช่วงกลางเดือน พ.ค. มุมหนึ่งของโลกเกิดเหตุปะทะครั้งใหญ่ระหว่างชาวปาเลสไตน์และอิสราเอล ยาวนานถึง 11 วัน

อิสราเอลยิงจรวดใส่กาซา หลังได้นายกฯคนใหม่เพียง 2 วัน

ไทม์ไลน์เหตุปะทะครั้งใหญ่ระหว่าง “อิสราเอล-ปาเลสไตน์”

เรื่องนี้จะดูเหมือนไกลจากประเทศไทย แต่ตราบใดที่โลกยังคงเชื่อมต่อกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของ 2 ดินแดนที่เกิดขึ้นในปี 2564 นี้เช่นกัน

 

เหตุการณ์เมื่อ ช่วงกลางเดือน พ.ค. เหตุปะทะกันคร่าชีวิตผู้คนไป 232 ราย และยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายพันคน ขณะเดียวกันไทยสูญเสียแรงงานจากเหตุการณ์ครั้งนี้ด้วยเช่นกัน 2 ราย บาดเจ็บอีก 8 คน

พีพีทีวี นิวมีเดีย มีโอกาสได้พูดคุยกับ ศ.ดร.ชูเกียรติ พนัสพรประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในตะวันออก กลาง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งให้ข้อมูลที่น่าสนใจ ว่า 

เล่านาทีระทึกโจมตีฉนวนกาซ่า ชีวิตแรงงานไทยในอิสราเอล

ในช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. 2564 ก่อนจะยุติการหยุดยิง เมื่อวันที่ 21 พ.ค. และมารอบล่าสุด ซึ่ง ศ.ดร.ชูเกียรติ มองว่า เป็นการยุติการหยุดยิงชั่วคราว เพราะรากเหง้าของปัญหาจะไม่ได้มีการพูดคุยกันรายละเอียดอย่างแท้จริง เพราะ...

รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งระหว่าง 2 ดินแดนนี้ อธิบายง่ายๆ คือ ชาวปาเลสไตน์อยากมีรัฐของตัวเองในขณะที่รัฐบาลอิสลาเอลยังไม่อยากให้เกิดขึ้นในดินแดนที่ตัวเองทำสงครามชนะในปี ค.ศ.1967 ไม่ว่าจะเป็นฉนวนกาซา ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน หรือ ฝั่งตะวันออกของกรุงยูซาเลม  

และเมื่อดูจากปัญหาที่เกิดขึ้นล่าสุด จะพบว่ารัฐบาลอิสราเอลพยายามอยากผลักดันให้ชาวปาเลสไตน์ออกจากฝั่งตะวันออกของกรุงเยลูซาเลม ซึ่งเป็นจุดที่ชาวปาเลนไตน์อยากได้และต้องการยกให้เป็นเมืองหลวงหากได้รับดินแดนมาเป็นของตนเอง แต่เมื่อเกิดการขับไล่ชาวปาเลสไตน์แบบนี้ การปะทะกันจึงเกิดขึ้นอีกครั้ง

อีกฝ่ายอยากมีรัฐของตนเอง(ปาเลสไตน์) อีกฝ่าย(อิมราเอล) ไม่ยอมแน่นอน Two-state solution จึงเลือนลาง

เพราะฉะนั้นรากเหง้าของปัญหาตรงนี้แม้กระทั่งอิสลาเอลก็ยังไม่รู้ว่าจะผ่าทางตันเรื่องนี้อย่างไร เป็นปมขัดแย้งที่มีมายาวนาน ทาง ออกที่เรียกว่า Two-state solution  ในการจัดตั้งรัฐสองรัฐ เพื่อเคียงบ่าเคียงไหลตรงนี้ยากมาก แม้ว่าปาเลสไตน์อยากเห็น แต่อิสราเอลที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น

นอกจากนั้นแล้ว หากมองลึกลงไปมากกว่านัน ปัญหาระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ ไม่ใช่แค่ปัญหาระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ แต่มันเป็นปัญหาที่ ที่หยั่งรากลึกหลายระดับ เพราะมีความขัดแย้งภายในทั้งในกลุ่ม ปาเลสไตน์เอง การเมืองในกลุ่มอิสราเอล การเมืองในโลกอาหรับ  ดังนั้น แนวโน้มปัญหานี้ผมหักคอเลยว่า ไม่มีทางได้เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ในอนาคตอันใกล้แน่นอน

บทบาทของมหาอำนาจ "สหรัฐ" ที่ถูกมองว่าถือหางอิสราเอลอยู่แล้ว

แม้ว่า นายแอนโทนี บลินเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐเริ่มภารกิจเยือนตะวันออกกลางที่อิสราเอลในวันนี้ (25 พ.ค.) เพื่อส่งเสริมข้อตกลงหยุดยิงในพื้นที่ฉนวนกาซ่า และเร่งให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ปาเลสไตน์ซึ่งได้รับความเสียหายจากการสู้รบ 

แต่ในความเป็นจริง สหรัฐเองก็ถูกมัดมือด้วยข้อจำกัดด้านความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกีบอิสราเอลมาตลอด ซึ่งถ้าย้อนกลับไปสมัยรัฐบาลของ โดนัล ทรัมป์ เคยสนับสนุนให้เอาอิสราเอลยึดกรุงเยรูซาเลมตะวันออกมาเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลไปเลย ครั้งนั้นเกือบจุดประกายความขัดแย้งครั้งหนึ่งแล้ว

ต่อมาสมัย โจ ไบเดน ปัจจุบัน แม้ว่าจะมีความเห็นอกเห็นใจในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีไม่สนับสุนนอิสราเอลแบสุดโต่ง แต่ทั้งสองประเทศก็ยังมีความสัมพันธ์ในเชิงประวัติศาสตร์ การเมือง ยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่มีมานาน เพราะฉะนั้นท่าทีของสหรัฐยังไงก็มองได้ว่า ถือหางอิสราเอล  รวมถึงท่าที่ไม่เห็นด้วยกับสหประชาชาติ 3-4 ครั้ง อย่างการออกแถลงการณ์ต่อการปะทะรอบล่าสุด ตรงนี้ก็ชัดเจนระดับหนึ่งว่า สหรัฐสนับสนุนอิสราเอล 

แต่ถ้ามองไปที่ประวัติศาสตร์ร้อยปีจุดเริ่มต้นความขัดแย้งคือ อังกฤษ 

ในปี 1947 สหประชาชาติมีมติให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและชาวอาหรับแยกกัน โดยให้เยรูซาเลมเป็นเมืองนานาชาติแต่ผู้นำชาวยิวตอบรับแผนนี้แต่ฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่ยอมทำตามแผนนั้น

ในปี 1948 ผู้ปกครองชาวอังกฤษและผู้นำชาวยิวประกาศสถาปนาอิสราเอลเป็นรัฐหลังจากไม่สามารถเจรจาแก้ไขปัญหาได้ ชาวปาเลสไตน์หลายคนไม่เห็นด้วย และเกิดเป็นสงครามขึ้น โดยกองทัพจากประเทศอาหรับโดยรอบเข้าร่วมด้วย

ชาวปาเลสไตน์หลายแสนคนถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านของตัวเอง และกว่าจะมีการประกาศหยุดยิงในปีถัดมา อิสราเอลก็เข้ายึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์สำเร็จ จอร์แดนได้ควบคุมพื้นที่ที่เรียกกันว่าเวสต์แบงก์ อียิปต์ได้ครอบครองกาซา ส่วนเยรูซาเลมถูกแยกออกเป็นของกองกำลังอิสราเอลฝั่งตะวันตก และของกองกำลังจอร์แดนในฝั่งตะวันออก

ด้วยความที่ไม่มีการบรรลุข้อตกลงใด ๆ ต่างฝ่ายก็ต่างโทษกันและกัน ว่าเป็นที่มาของความขัดแย้งและการทำสงครามเรื่อยมาอีกหลายทศวรรษ

ชีวิตในกาซา ชีวิตที่ถูกปิดล้อม | 17 พ.ค. 64 | รอบโลก DAILY

เรื่องไกลตัวคนไทย?

ศ.ดร.ชูเกียรติ  บอกว่า คนไทยมองเป็นเรื่องไกลตัว แม้ว่าจะมีความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจอยู่บ้าง ในเฉพาะตะวันออกกลางที่เป็นตัวกำหนดทิศทางราคาน้ำมันดิบของโลก แต่โดยภาพรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในตะวันออก มักจะไม่ค่อยอยู่ในความสนใจของคนไทยโดยทั่วไปเท่าไหร่ ซึ่งน่าประหลาดใจ ยกเว้น เวลามีเรื่องตูมตามขึ้นมาครั้งหนึ่ง

ทั้งที่ในความเป็นจริงเรามีความความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ รวมถึงแรงงานไทยอีกจำนวนไม่น้อยที่เดินทางไปทำงานและยังต้องการการดูแล

เมื่อโลกยังคงหมุนไป ทุกๆจุดบนโลกใบนี้เชื่อมโยงกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ความขัดแย้งในดินแดนอันไกลโพ้นอย่าง อิสราเอลและปาเลสไตน์ ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องไกลตัว

ชีวิตในกาซา ชีวิตที่ถูกปิดล้อม | 17 พ.ค. 64 | รอบโลก DAILY

ข้อพิพาทบนดินแดนศักดิ์สิทธิ์

ฟื้นฟูกาซา ความซับซ้อนที่มากกว่าแค่สร้างเมือง | 26 พ.ค. 64 | รอบโลก DAILY

 

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ