นักเคลื่อนไหวเรียกร้องนานาชาติตื่นตัวแก้วิกฤตโลกร้อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ IPCC ของสหประชาชาติ ได้เปิดเผยรายงานวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศเฉพาะกิจที่ชี้ว่าโลกกำลังร้อนเร็วขึ้น และมนุษย์แทบไม่เหลือเวลาที่จะป้องกันหายนะที่จะเกิดขึ้นตามมากแล้ว ทำให้ล่าสุดบรรดานักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมได้ออกมาเรียกร้องให้โลกเร่งแก้ไขวิกฤตโลกร้อนทันที

รายงานเมื่อวานนี้ได้ชี้ว่า กิจกรรมของมนุษย์คือปัจจัยสำคัญที่ที่ทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศอย่างมโหฬาร

อันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติกล่าวว่า รายงานของ IPCC ชิ้นนี้เปรียบเหมือน ‘รหัสแดง’ หรือสัญญาณฉุกเฉินต่อมนุษยชาติ

โดยหัวข้อสำคัญที่ปรากฎในรายงานชิ้นนี้คือ การคาดการอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลกและผลกระทบที่จะเกิดกับมนุษยชาติ

อังกฤษประกาศให้ “โลกร้อน” เป็นเรื่องฉุกเฉิน

นักวิทย์ชี้ “ก๊าซมีเทน” คือเป้าหมายใหม่ของการลดภาวะโลกร้อน

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2015 เกือบทุกประเทศทั่วโลก ลงนามใน ‘ความตกลงปารีส” เป็นข้อตกลงที่มีเป้าหมายว่า ภายในศตวรรษนี้จะต้องทำทุกทางเพื่อจำกัดไม่ให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ของ IPCC ได้จัดทำแบบจำลองอัตราการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกภายใต้เงื่อนไขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว พบว่า เป้าหมายที่โลกวางไว้ร่วมกันเมื่อปี 2015 แทบเป็นไปไม่ได้แล้ว เมื่อแบบจำลองชี้ว่า อุณหภูมิโลกจะแตะ 1.5 องศาภายในปี 2040 ในทุกสถานการณ์ และถ้าไม่มีการตัดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่านั้นอีก

ทั้งนี้ในระหว่างปี 2011-2020 หรือในช่วงเพียง 9 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นแล้วถึง 1.09 องศาเซลเซียส ซึ่งถือเป็นอัตราที่เร็วและน่ากลัวมาก เพราะในอดีต การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิพื้นผิวโลก 1 องศาเซลเซียสใช้เวลามากกว่า 50 ปี ดังที่เกิดในชาวงปี 1850-1900

นักวิทยาศาสตร์หลายคนระบุว่า เป็นรายงานที่คาดการณ์ได้ชัดเจนว่า มนุษย์จะเผชิญกับหายนะจากโลกร้อนอย่างแน่นอนแล้ว

ผลที่ตามมาหลังอุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียสคืออะไร  คือ สภาพอากาศแบบสุดขั้ว มนุษย์จะได้เห็นคลื่นความร้อนที่รุนแรงและเกิดถี่ขึ้น ฝนตกหนักขึ้นทั่วโลก แทบทุกพื้นที่จะเผชิญภัยแล้งรุนแรงขึ้น และจะเกิดเหตุการณ์ที่ทวีปอาร์กติก เกือบจะไม่เหลือน้ำแข็งอยู่เลย อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนถึงปี 2050 และนี่จะส่งผลต่อระดับน้ำทะเล

ในรายงานนี้ระบุถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับระดับน้ำทะเล โดยนักวิทยาศาสตร์ของ IPCC ได้จัดทำแบบจำลองสถานการณ์ที่ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกระดับ และพวกเขาไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่น้ำทะเลจะสูงขึ้นถึง 2 เมตรภายในปี 2100 หรือเร็วกว่านั้น ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ และจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในสิ้นศตวรรษนี้

หายนะที่เกิดขึ้นจาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศนี้ บางอย่างไม่สามารถแก้ไขให้กลับเหมือนเดิมได้อีกแล้ว และมันจะส่งผลกกระทบต่อโลกไปอีกนาน เช่น มหาสมุทรอาจเป็นกรดไปอีกหลายร้อยปี และธารน้ำแข็งก็จะยังคงละลายอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายร้อยปีเช่นกัน

หลังจากรายงานของ IPCC ถูกเผยแพร่ นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมก็คือออกมาเรียกร้องให้โลกแก้ไขวิกฤตนี้ทันที

หนึ่งในนั้นคือ เกรตา ธันเบิร์ก นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดนวัย 18 ปี ที่ออกมาเรียกร้องและกดดันให้ทุกฝ่ายดำเนินการเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

พร้อมระบุว่า รายงานของ IPCC ถือเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

อีกเสียงมากจาก จอห์น ซูเวน ผู้อำนวยการบริหารของ Greenpeace ในสหราชอาณาจักร ที่กล่าวว่ารายงานของ IPCC เปรียบเสมือนนาฬิกาปลุกที่มนุษย์ไม่สามารถกดปุ่ม snooze เพื่อต่อเวลาหรือเพิกเฉยต่อปัญหานี้ได้อีกต่อไป เพราะหากทำเช่นนั้นวิกฤตนี้อาจจะสายเกินแก้

รายงาน IPCC ถูกเผยแพร่ หลังจากในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา กรีซประสบปัญหาไฟป่ากว่า 150 จุดทั่วประเทศ ส่งผลให้บ้านเรือนจำนวนมากเสียหาย ส่วนประชาชนและนักท่องเที่ยวหลายพันคนต้องเร่งอพยพ

แม้ว่าตอนนี้สถานการณ์ควบคุมได้แล้ว แต่ทางการกรีซยังคงต้องเฝ้าระวังสูงสุด เพราะหลายพื้นที่อาจเกิดไฟลุกขึ้นได้อีกครั้ง

ด้านชาวกรีซต่างแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการรับมือปัญหาไฟป่าของรัฐบาล

เมื่อวานนี้ ชาวกรีซหลายร้อนคนรวมตัวประท้วงที่หน้ารัฐสภาในกรุงเอเธนส์ เมืองหลวง บรรยากาศเป็นไปอย่างสงบ ผู้ประท้วงเหล่านี้มีทั้ง ผู้สนับสนุนอุดมการณ์ทางการเมืองฝ่ายซ้าย และตัวแทนจากองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม

พวกเขาต่างวิพากษ์วิจารณรัฐบาลกรีซว่าไม่จัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยดับเพลิงพิเศษ เพื่อให้มียานพาหนะและอุปกรณ์พร้อมสำหรับควบคุมไฟป่า และยังโจมตีนโยบายของรัฐที่ไม่เอื้อต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย

ด้านคิเรียกอส มิตโซตากิส นายกรัฐมนตรีของกรีซได้ออกมาแถลงการณ์ขอโทษเกี่ยวกับการรับมือกับไฟป่าของรัฐบาลที่ยังคงมีจุดอ่อนหรืออาจไม่แข็งแกร่งพอและเขาเข้าใจความเจ็บปวดของประชาชนอย่างถ่องแท้ ที่ต้องเห็นบ้านเรือนและทรัพย์สินของพวกเขาถูกไฟไหม้ และความวุ่นวายที่ต้องหนีออกจากบ้านอย่างกะทันหัน

และย้ำว่าประชาชนที่ได้รับผลกระทบจะได้รับการชดเชย และรัฐบาลจะปลูกป่าใหม่ในพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ และจะเร่งติดตั้งแนวกั้นน้ำท่วมทันที

พร้อมระบุว่า ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา คือช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดของกรีซในรอบหลายสิบปี ซึ่งกรีซกำลังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ก่อนหน้าไฟไหม้ครั้งใหญ่ในกรีซ ยุโรปเพิ่งเจอกับอุทกภัยที่รุนรนแรงที่สุดในรอบ 100 ปี

กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เกิดฝนตกหนักส่งผลให้ตอนกลางของยุโรปเผชิญกับน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายศตวรรษ โดยเยอรมนีได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐนอร์ทไรน์เวสต์ฟาเลียและรัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ทางตะวันตก ที่มีปริมาณฝนถึง 150 ลิตรต่อตารางเมตรในช่วง 24 ชั่วโมง ส่งผลให้แม่น้ำที่เคยสงบนิ่งเซาะตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 103 ราย สูญหายมากกว่า 1,000 ราย

ขณะที่เบลเยียมได้รับความเสียหายรองจากเยอรมนี มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย สูญหายอีกราว 20 ราย ส่วนลักเซมเบิร์ก นายกรัฐมนตรี ซาวีเยร์ เบตแตล ประกาศภาวะภัยพิบัติทางธรรมชาติ และเผยว่าลักเซมเบิร์กไม่เคยพบน้ำท่วมสูงระดับนี้ในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา

วิกฤตไฟป่าในกรีซและภัยพิบัติธรรมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกคือสัญญาณเตือนที่ชี้ชัดว่า วิกฤตโลกร้อนกำลังทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นวิกฤตที่มนุษย์ต้องลงมือแก้ไขอย่าสุดกำลังโดยทันที

TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ