โลกร้อนพ่นพิษ งานวิจัยเผยภาวะโลกร้อน ทำนกอัลบาทรอสทิ้งคู่มากขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




งานวิจัย เผย ภาวะโลกร้อนอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้นกอัลบาทรอส ซึ่งเป็นนกทะเลขนาดใหญ่ ทิ้งคู่มากขึ้น

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร "รอยัลโซไซตี้" (Royal Society) เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (24 พ.ย.) ได้ทำการศึกษานกอัลบาทรอส 15,500 คู่ ในหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นเวลา 15 ปี โดยพบว่าในปีที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น มีนกอัลบราทรอสทิ้งคู่ของตัวเองถึง 8 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปกติแล้ว นกอัลบาทรอส จะใช้เวลาเลือกคู่ค่อนข้างนาน แต่เมื่อพบคู่ของมันแล้ว ก็จะครองคู่เพียงตัวเดียวไปตลอดชีวิต โดยโอกาสที่พวกมันจะแยกทางกับคู่ตัวเองนั้นมีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์

“นกอัลบาทรอส” อายุมากสุดในโลก วางไข่ให้กำเนิดลูกน้อย ในวัย 70 ปี

ภาวะโลกร้อนทำให้ “นกในป่าแอมะซอน” เริ่มปรับตัว ขนาดเล็กลง-ปีกยาวขึ้น


 

ฟรานเซสโก เบนตูรา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิสบอนและผู้ร่วมการวิจัยในงานวิจัยนี้ บอกว่า มีสองทฤษฎีที่เป็นไปได้ที่ทำให้นกอัลบาทรอสทิ้งคู่ของพวกมันมากขึ้น ทฤษฎีแรกเป็นเรื่องของ “รักแท้แพ้ระยะทาง” โดยน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นทำให้นกต้องออกไปหาอาหารไกลขึ้นและนานขึ้น ซึ่งหากกลับมาไม่ทันฤดูกาลผสมพันธุ์ คู่ของมันก็อาจจะไปหาคู่ใหม่

WHO ถกด่วน หลังเจอโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.529 ในแอฟริกาใต้ พบกลายพันธุ์กว่า 30 ตำแหน่ง

ภาคใต้ ระวังฝนตกหนักมาก น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนความเครียดที่สูงขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายขึ้น เช่น เวลาที่น้ำทะเลอุ่นขึ้น เงื่อนไขการผสมพันธุ์ที่ยากขึ้น และการขาดแคลนอาหาร ทำให้นกอัลบาทรอสเครียดมากขึ้น จนถูกคู่ของมันมองว่า “หย่อนสมรรถภาพ” จนนำไปสู่การแยกทางในที่สุด

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ต่างประเทศ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ