นักวิชาการ เชื่อ อเมริกายังเผชิญความท้าทายต่อสถานะต้นแบบประเทศประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม


เผยแพร่




วิกฤติการณ์ทางทางการเมืองของสหรัฐอเมริกา ที่ดูเผินๆเหมือนจะผ่านพ้นไปแล้ว หลังพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของนายโจ ไบเดน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีความเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิดีโดนัลด์ ทรัมป์ ออกมาประท้วงไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง ตามที่ทรัมป์ ระบุว่า ถูกโกงการเลือกตั้ง จนเป็นผลให้กลุ่มมวลชนบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาจนเกิดเหตุการณ์วุ่นวายเป็นประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐ


 
แต่ในสายตาของนักวิชาการอย่าง ผศ.ดร.วิบูลย์พงศ์ พูนประสิทธิ์ ที่ปรึกษาสมาคมอเมริกาศึกษาในประเทศไทย อาจารย์สาขาวิชาการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมทั้ง ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเห็นตรงกันว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะยังคงมีบทบาทอย่างสูงในการเมืองเอมริกาต่อไป รวมทั้งยังมีอิทธิพลในพรรครีพับลิกัน เพราะได้สร้างระบบชุดความคิดอีกรูปแบบหนึ่ง ฝังรากลึกลงไปในกลุ่มชาวอเมริกันดั้งเดิม จนทำให้เห็นภาพความขัดแย้งในสังคมอเมริกันอย่างชัดเจน และได้รับแรงผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีทรัมป์ที่มาลงคะแนนให้ถึง 74 ล้านเสียง ซึ่งถือเป็นความท้าทายต่อการรักษารากฐานความเป็นต้นแบบประชาธิปไตย การรักษาหลักกฎหมายและหลักนิติธรรมของสหรัฐ
 
ในงานเสวนา RoLD Virtual Forum หัวข้อ THE UNITED STATES UNDER BIDEN’S PRESIDENCY : A Test for Rule of Law and Shifting Global Landscape ที่จัดขึ้นโดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ ผ่านระบบ ZOOM และถ่ายทอดทาง Facebook Live เริ่มด้วยการตั้งคำถามของผู้ดำเนินการรายการ นายเทพชัย หย่อง จากสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
 
ทำไม “ทรัมป์” เพียงคนเดียว จึงสามารถสั่นคลอนระบบประชาธิปไตยและหลักการอันแข็งแกร่งของสหรัฐอเมริกาได้มากขนาดนี้


 
ผศ.ดร.วิบูลพงศ์ เห็นว่า ทรัมป์เป็นผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะ สนใจในเรื่องของธุรกิจ ซึ่งต้องมีผู้ชนะและมีผู้แพ้ในการแข่งขัน ซึ่งต่างจากหลักรัฐศาสตร์ ที่ใช้หลัก win – win จะไม่สร้างศัตรู นั่นทำให้ตลอดการบริหารประเทศของทรัมป์ รวมถึงการลงเลือกตั้ง ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับหลักนิติธรรมมากนัก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า ทรัมป์ อยู่ในสถานะที่ได้รับข้อมูลและแวดล้อมไปด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนเท่านั้น จนทำให้เขาเชื่อจริงๆว่า หากพ่ายแพ้ จะต้องมากการถูกโกงการเลือกตั้ง และด้วยจิตวิทยาการสื่อสารผ่านโซเชี่ยล มีเดีย ของทรัมป์ ก็ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุน มีความเชื่อแบบเดียวกับเขาไปด้วย เช่นเดียวกับที่เขาเคยถูกมองเป็นตัวตลกในการลงสมัครเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีก่อน แต่กลับสามารถหยิบยกประเด็นชาตินิยมแบบดั้งเดิมที่นักการเมืองคนอื่นไม่กล้าพูดในสาธารณะออกมานำเสนอ จนทำให้ได้รับความนิยมจากคนอเมริกันดั้งเดิมที่ไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบายประเทศและได้เป็นประธานาธิบดี จึงเชื่อด้วยว่า ยังมีโอกาสที่ทรัมป์จะกลับมาลงรับสมัครชิงตำแหน่งในอีก 4 ปีข้างหน้า
 
ดร.อาร์ม เห็นว่า การบริหารประเทศของทรัมป์ ได้เปลี่ยนแปลงอเมริกาไปในหลายด้าน ทั้งการยกเลิกข้อตกลงต่างๆในองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งเรื่องการสู้กับสภาวะโลกร้อน การประกาศสงครามทางการค้ากับจีน การถอนทหารออกจากซีเรีย หรือแม้แต่การไปจับมือพูดคุยยกับผู้นำเกาหลีเหนือ ภายใต้หลักการ America First จึงเป็นผู้นำที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูงมาก ดังนั้นไม่ควรสรุปว่า ผู้สนับสนุนทรัมป์มาจากเหตุผลเดียวกัน จึงจัดกลุ่มคนอเมริกันที่สนับสนุนทรัมป์ เป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ต่อต้านชนชั้นนำ ซึ่งอาจไม่ได้ชื่นชอบทรัมป์ แต่ไม่ชอบตัวเลือกเดิมๆที่มักมีแต่ชนชั้นนำจากทั้งสองพรรค 2.กลุ่มที่สนับสนุนนโยบายของพรรครีพับลีกัน ไม่เห็นด้วยกับนโยบายเปิดรับชาวต่างชาติ ผู้ลี้ภัย และ 3.กลุ่มที่ชื่นชอบมีความเชื่อในตัวทรัมป์จริงๆ ซึ่งแม้จะเป็นกลุ่มเล็ก แต่ก็เป็นกลุ่มที่สำคัญ และจากนี้ไปก็ต้องติดตามของประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งกล่าวในพิธีสาบานตนว่า ต้องรับฟังซึ่งกันและกัน ยึดหลักประชาธิปไตยโดยการรับฟังความเห็นที่แตกต่าง นั่นจะสามารถทำให้คนในกลุ่มที่ 1 และ 2 เปลี่ยนใจได้หรือไม่ อีกประเด็นที่สำคัญในมุมกลับ คือ บทบาทของ ทรัมป์ ในตำแหน่งประธานาธิบดี ทำให้กลุ่มเสรีนิยมที่เป็นคนรุ่นใหม่ในสหรัฐ หันมาสนใจการเมืองและออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้น จนทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิ์มากกว่าร้อยละ 60 สูงที่สุดในประวัติศาสตร์
 
การใช้ “สื่อ” และการลบบัญชี ทรัมป์ ออกจากโซเชี่ยล มีเดีย ต่อหลักการสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นของอเมริกา
 
ผศ.ดร.วิบูลพงศ์ นำเสนอประเด็นนี้ด้วยการตั้งคำว่า ในประเทศที่ชู “หลักนิติธรรม” เป็นหลักใหญ่ แต่เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชี่ยล มีเดียต่างๆ ที่เป็นบริษัทเอกชน กลับสามารถลบบัญชีผู้ใช้ของประธานาธิบดีออกไป จะไม่ขัดต่อหลักสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีข้อถกเถียงกันมาก แต่หากมองในอีกมุมหนึ่ง ก็จะเห็นว่า ในแพลตฟอร์มโซเชี่ยล มีเดีย ต่างๆ จะมีข้อตกลงที่อาจเรียกว่า “มาตรฐานชุมชน” ซึ่งผู้ใช้ต้องอ่านและยอมรับเงื่อนไขก่อน จึงจะสมัครบัญชีผู้ใช้งานได้ แม้ในความจริงแล้วคนส่วนใหญ่อาจจะไม่มีอ่านเลย แต่เมื่อผู้ใช้คนใดละเมิดข้อตกลงนี้ ก็ต้องถูกลบบัญชีออกไปทุกคน ทำให้เห็นได้ว่า แม้จะเป็นประธานาธิบดี หากละเมิดข้อตกลงการใช้งาน ก็ต้องถูกลบบัญชีโดยไม่ละเว้น นั่นก็คือความแข็งแรงของหลักนิติธรรม ที่มาจากภาคเอกชน ส่วนการที่คนส่วนใหญ่เห็นข้อมูลในด้านลบของทรัมป์ จากสื่ออเมริกา ทั้ง CNN ภาพยนต์ HOLLWOOD หรือ NETFLIX ซึ่งเป็นสื่อที่เผยแพร่ไปทั่วโลก แต่ทรัมป์ ให้ความสำคัญกับสื่อที่เข้าถึงเฉพาะภายในสังคมอเมริกันดั้งเดิม จึงเป็นเหมือนตัวแทนการต่อสู้ของกลุ่มอนุรักษ์นิยม


 
ดร.อาร์ม หยิบยกรัฐธรรมนูญของสหรัฐ ที่ระบุถึงหลักการที่จะละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นไม่ได้ แต่เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชี่ยล มีเดีย เป็นหน่วยงานภาคเอกชน ไม่อยู่ภายใต้รัฐบาล จึงสามารถทำได้ แม้จะทำให้มีนักกฎหมายที่ผลักดันเรื่องหลักสิทธิเสรีภาพออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยก็ตาม และจากปรากฏกาณ์การใช้โซเชี่ยล มีเดีย สื่อสารโดยตรงกับผู้สนับสนุนของทรัมป์ ทั้งทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือสื่อทีวีของตัวเอง จนสามารถชนะการเลือกตั้ง ทั้งที่สื่อกระแสหลักเกือบทั้งหมดต่างโจมตีเขา ทำให้เห็นว่า สื่อใหม่มีอิทธิพลต่อการเมืองของสหรัฐมาก โดยเฉพาะการมีอัลกอริทึ่มที่ทำให้ผู้ใช้เห็นแต่เนื้อหาของคนที่คิดเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในสังคมอย่างรุนแรง อย่างในการเลือกตั้งครั้งนี้ แม้แต่ในสวิง สเตท คะแนนถูกแบ่งเป็นเขตเมือง และเขตชนบทอย่างชัดเจน และยังเห็นได้ชัดว่าภาคเอกชนที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม ก็กลายเป็นผู้ที่มีบทบาทกำหนดให้ใครพูดอะไรได้ หรือไม่ได้ไปด้วย นี่จึงเป็นเรื่องที่อเมริกากำลังให้ความสำคัญอย่างมาก
 
อเมริกาในยุคของ “ไบเดน” จะเปลี่ยนแปลงภายในไปอย่างไร
 
ผศ.ดร.วิบูลย์พงศ์ มองว่า ไบเดน เป็นนักการเมืองมา 40 ปี แต่คนไม่ค่อยรู้จัก แต่ถูกเลือกมาชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะเป็นตัวเลือกเดียวในพรรคเดโมแครต ที่มีโอกาสจะชนะทรัมป์ได้ แต่พรรคเดโมแครตมีฐานเสียงกว้างมาก ในระยะแรกจึงต้องรวบรวมฐานเสียงเหล่านี้ให้ได้ก่อน เพราะในอนาคตอันใกล้อาจจะมีปัญหาเรื่องภายใน เช่น นโยบายภาษี จึงเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่เดโมแครตอาจจะต้องเสียเสียงข้างมากในสภาได้ในอีก จากการเลือกตั้ง ส.ส.และ ส.ว.ใหม่ในอีก 2 ปีข้างหน้า พร้อมตั้งข้อสังเกตถึงท่าทีของผู้นำประเทศอื่นๆ อย่างฝรั่งเศส หรือ เยอรมนี ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองของสหรัฐ จากการเปลี่ยนนโยบายเพราะเปลี่ยนผู้นำ ทั้งประเด็นความสัมพันธ์ ข้อตกลงระหว่างกันที่จะเปลี่ยนไปในช่วงนี้ เพราะมีความเป็นไปได้ว่า อเมริกาอาจจะเปลี่ยนนโยบายอีก ใน 4 ปีข้างหน้า หาก ทรัมป์ กลับมาชนะการเลือกตั้ง
 
ดร.อาร์ม วิเคราะห์จากการกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนของ ไบเดน ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ไบเดน จะไม่ได้เข้ามาสร้างความตื่นเต้นอะไรในอเมริกา เพียงแต่จะนำอเมริกา กลับไปอยู่ในจุดเดิมก่อนจะมี ทรัมป์ เป็นประธานาธิดี ข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ รวมทั้งเรื่องสภาวะโลกร้อนที่ยกเลิกไปจะกลับมา นโยบายสร้างกำแพงที่ชายแดนเม็กซิโกถูกยกเลิกไป ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคโอบามา 2 เพราะคณะทำงานที่เลือกมาเกือบทั้งหมด เป็นคนที่เคยทำงานในสมัยประธานาธิบดีโอบามา แต่ก็จะมีหลายนโยบายจากยุคทรัมป์ ที่คงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ โดยเฉพาะนโยบายที่ต้องสร้างชาตินิยมเพื่อกลับมาเป็นผู้นำโลก เพียงแต่คำว่า “ค่านิยม” ในยุคของไบเดน จะกลับมาเป็นค่านิยมทางการเมือง เรื่องหลักนิติธรรม หลักประชาธิปไตย และภูมิใจในความเป็นอเมริกา ต่างจากค่านิยม America First ในยุคของ ทรัมป์
 
บทบาทอเมริกาต่อประเทศไทยในยุคไบเดน จะเข้ามามีบทบาทต่อทิศทางทางการเมือง สิทธิมนุษยชน มากขึ้นหรือไม่
 
ผศ.ดร.วิบูลย์พงศ์ วิเคราะห์จากจุดยืนของพรรคเดโมแครต จะแตกต่างจากในยุคของทรัมป์อย่างแน่นอน เพราะที่ผ่านมา ทรัมป์ จะสนใจไทยเฉพาะเรื่องการค้าเท่านั้น ไม่สนใจปัญหาทางการเมือง แม้แต่ปัญหาในไต้หวันหรือฮ่องกง อเมริกาก็มีบทบาทน้อยมาก แต่ในยุคของ ไบเดน จะไม่เหมือนกัน เพราะพรรคเดโมแครตมีรากฐานจากนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งทูตของสหรัฐเงียบมาโดยตลอดในยุคของทรัมป์ อาจจะเปลี่ยนแปลงและแสดงบทบาทต่อเรื่องการเมืองมากขึ้น หรือประเด็นมาตรฐานการดูแลแรงงานต่างด้าว รัฐบาลสหรัฐในยุคไบเดน อาจมองในเชิงลึก ไปถึงการใช้แรงงานไม่เป็นธรรม การใช้วัสดุในการผลิตสินค้าที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไหม และไทยต้องเตรียมรับมือไว้ล่วงหน้า เพื่อไม่ให้กระทบกับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) อีก
ผศ.ดร.วิบูลย์พงศ์ ยังมองว่า ไทยควรเตรียมกระบวนการต่อรองกับสหรัฐในรูปแบบเชิงรุก เข้าไปอธิบายมาตรฐานเกี่ยวกับหลักนิติธรรมของไทยก่อน โดยอาจหาตัวกลางที่จะช่วยสื่อสารกับรัฐบาลสหรัฐให้เข้าใจในปัญหาต่างๆของไทยได้ แต่ต้องทำให้เห็นว่า การต่อรองนี้ ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสหรัฐด้วย
 
ดร.อาร์ม ชี้ให้เห็นจากปรากฏการณ์ที่ สมาชิกวุฒิสภาลูกครึ่งไทย-อเมริกัน แทมมี่ ดักเวิร์ธ ทำหนังสือเรียกร้องให้สหรัฐสนับสนุนกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศไทยก่อนหน้านี้ ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อ ไบเดน เป็นตัวแทนของพรรคที่มีค่านิยมประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม จึงเชื่อว่า นโยบายต่างประเทศของ ไบเดน จะสอดคล้องกับนโยบายของพรรคเดโมแครต ไม่เฉพาะกับประเทศไทย แต่จะรวมถึงสถานการณ์ในฮ่องกง ไต้หวัน หรือกลุ่มอุยกูร์ ในซินเจียงของจีนด้วย เพราะพรรคเดโมแครตจะมองในมุมว่า การต่อสู้ของกลุ่มคนเหล่านี้ แป็นตัวแทนประชาธิปไตยตามค่านิยมของสหรัฐ
 
สหรัฐยุคไบเดน จะยังคงทำสงครามการค้ากับจีน ส่งผลถึงการบีบให้ไทยต้องเลือกข้างหรือไม่
 
ผศ.ดร.วิบูลย์พงศ์ เห็นว่า ส่วนที่น่าจะกระทบกับประเทศไทยก่อน คือ ประเด็นของทะเลจีนใต้ การทำสัญญา Trans-Pacific Partnership (TPP) หรือ ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก การทำสัญญาComprehensive and Progressive Trans-pacific Partnership (CPTPP) หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ดังนั้น ไทยอาจจะถูกบังคับให้เลือกข้างระหว่างสหรัฐกับจีน ไทยจึงควรหารือในอาเซียน เพื่อให้การแสดงท่าทีต่อเรื่องนี้ในนามของอาเซียน ซึ่งคิดว่ามีอำนาจต่อรองเพียงพอ เพราะสังคมของอเมริกา เป็นสังคมที่มีเหตุผล ถ้าไทยและอาเซียนสามารถอธิบายได้ว่า ในบางเรื่องจำเป็นที่จะยังต้องร่วมมือกับจีน เช่น เส้นทางสายไหม การพัฒนารถไฟความเร็วสูง ซึ่งไม่ใช่ประเด็นที่กระทบกับสหรัฐ แต่ขณะเดียวกัน ก็จะต้องยังคงความเป็นพันธมิตรทางการทหารกับสหรัฐไว้ อย่างการฝึกคอบร้า โกลด์ ก็ต้องคงไว้ต่อไป
 
ดร.อาร์ม เห็นว่า นโยบายต่อจีนในเชิงหลักการ ในยุคของ ไบเดน จะเป็นหนึ่งในนโยบายที่ไม่เปลี่ยนไปจากยุคของ ทรัมป์ มากนัก เพราะความรู้สึกว่าจีนกำลังเป็นภัยคุกคาม จะเป็นมหาอำนาจรายใหม่ กลายเป็นความรู้สึกร่วมของทั้งเดโมแครตและรีพับลิกัน แต่รูปแบบการรับ

TOP ประชาสัมพันธ์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ