อีก 12 ปี “ขยะพลาสติก” หมดไปจากไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ปี 62 พลาสติกหุ้มฝาขวดต้องหมดไป และภายในปี 2565 พลาสติกประเภทหูหิ้วหนา 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก และหลอดดูดพลาสติกต้องไม่มี

ปัญหาขยะพลาสติกกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ทั่วโลกเร่งแก้ไขรวมถึงประเทศไทย ซึ่งเริ่มชัดเจนตั้งแต่ปีนี้ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโรดแมปการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 แล้ว โดยได้วางเป้าหมายลดขยะพลาสติก 7 ชนิด

ไทยผลิตถุงก๊อบแก๊บปีละ 45,000 ล้านใบ

ไทยถูกจัดเป็นประเทศที่พบ "ขยะทะเล" เป็นอันดับ 6 ของโลก

ปี 62 เลิกใช้พลาสติกจำนวน 3 ชนิด

ทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ 1.พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม 2.พลาสติกผสมสารอ็อกโซ่ (OXO) ซึ่งเป็นสารที่มีส่วนผสมของพืชและมีน้ำมันปิโตรเคมีในกระบวนการผลิตในกระบวนการผลิตไมโครบีด (Microbead) เช่น ถุงที่ใช้ตามซูเปอร์มาเก็ตชั้นนำ "สามารถย่อยสลายได้เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนและแสงแดดจะแตกสลายกลายเป็นผุยผง แต่ยังไม่มีผลวิจัยรองรับว่าจะสามารถย่อยสลายหายไป ไม่หลงเหลือสิ่งตกค้างในธรรมชาติ จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก"

และ 3.พลาสติกประเภทสารโพเอทิลีนขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรหรือเล็กกว่าเม็ดทรายซึ่งกำจัดได้ยากมาก โดยเคยมีงานวิจัยพบพลาสติกประเภทนี้ในตัวอย่างอุจจาระของคนที่เข้าร่วมวิจัยจากยุโรป รัสเซีย ญี่ปุ่น และอีก 8 ประเทศ จากการทดสอบ 10 รูปแบบ ทำให้ นักวิจัยคาดว่าอาจมีเม็ดพลาสติกขนาดจิ๋วอีกจำนวนมากตกค้างอยู่ในระบบย่อยอาหารของมนุษย์ 

โดยพลาสติกจิ๋วคือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร พบในสินค้า เช่น สารเร่งการผลัดเซลล์ผิว (exfoliant) หรือการย่อยสลายมาจากพลาสติกขนาดใหญ่กว่า ทั้งจากการเสื่อมสภาพ, สภาพอากาศ, การผุพัง และการฉีกขาด ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมักพบในขยะพลาสติกในมหาสมุทร ยังพบพลาสติกประเภทสารโพเอทิลีนขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ในน้ำประปา, น้ำบรรจุขวด, ปลา, เนื้อเยื่อของหอยแมลงภู่ และแม้แต่ในเบียร์ 

รู้ไหม? ขวดน้ำพลาสติกที่ดื่มหมดแล้วไม่ควรใช้ซ้ำ!!

ขอให้วาฬนำร่องครีบสั้นเป็นตัวสุดท้ายที่ “ตาย” เพราะกินขยะพลาสติก

ปี 2565 เดินหน้าต่อยกเลิกอีก 4 ชนิด

จากนั้น ภายในปี 2565 จะยกเลิกพลาสติกประเภทหูหิ้วขนาดความหนา 36 ไมครอน(ใช้แล้วทิ้ง) กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก และหลอดดูดพลาสติก ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็ก

เป้าหมายที่ 2 นำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ 100%

ภายในปี 2570 จะเข้าสู่ เป้าหมายที่ 2 คือการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ 100% โดยจะมีการศึกษาและกำหนดประโยชน์และส่วนที่เป็นประโยชน์กลับมาใช้ประโยชน์ หรือนำไปจัดการขยะเพื่อเป็นพลังงาน

"การเดินหน้าโรดแมปนี้ คาดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะพลาสติกได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี  และสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดการขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3,900 พันล้านบาทต่อปี"

ถุงพลาสติกภัยร้ายทำลายโลก

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยใช้พลาสติกภายในประเทศจำนวนมากโดยในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีขยะพลาสติกเกิดขึ้นประมาณปีละ 2 ล้านตัน แต่กลับไปใช้ประโยชน์ประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นเศษขยะถุงพลาสติกที่ปนเปื้อน เช่น ถุงร้อน ถุงเย็นบรรจุอาหาร ถุงหูหิ้ว เป็นต้น เนื่องจากขยะพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนับร้อยปี ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณและพื้นที่ฝังกลบ ตลอดจนสร้างปัญหาขยะลอยในแม่น้ำลำคลอง โดยเฉพาะปัญหาขยะพลาสติกลงสู่ท้องทะเล ส่งผลกระทบต่อแหล่งปะการังและสัตว์ทะเล

ที่มา : เว็บไซต์ PLASTICITY,กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตและสิ่งแวดล้อม,the Guardian

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ