คลังยันเดินหน้าเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15% ตัดช่องทางผู้มีเงินฝากเกิน 4 ล้าน เลี่ยงภาษี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้ที่มีเงินฝากธนาคาร และได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี จะถูกเก็บภาษีเงินได้ 15 เปอร์เซ็นต์ จากเดิมเก็บภาษีเฉพาะผู้ได้ดอกเบี้ยเงินฝากเกิน 20,000 บาท โดยธนาคารมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ส่งให้กรมสรรพากร แต่กรณีได้ดอกเบี้ยเงินฝาก ไม่เกิน 20,000 บาท หากทำหนังสือยินยอมกับทางธนาคาร ให้ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร จะได้รับการยกเว้นเก็บภาษี

วันนี้ (19 เม.ย.62) นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า กฎหมายเรื่องการเก็บภาษีจากดอกเบี้ยที่ได้รับจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นั้นเป็นเรื่องปกติที่มีมานานแล้ว และมองว่าสิ่งที่กรมสรรพากรดำเนินการนั้นทำถูกต้อง เพราะต้องการแก้ไขปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีของผู้ที่มีเงินฝากสูงเกิน 4 ล้านบาท ที่จะมีรายได้จากดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทต่อปี ซึ่งที่ผ่านมา มีสถาบันการเงินบางแห่งเอื้อประโยชน์ให้ลูกค้ารายใหญ่หลบเลี่ยงภาษี ณ ที่จ่าย 15 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการปิดบัญชี เมื่อรายได้จากดอกเบี้ยใกล้ถึง 20,000 บาท ก่อนไปเปิดบัญชีใหม่ และกระจายแยกบัญชีออกจากกัน โดยยอมรับจะกระทบกับผู้มีบัญชีออมทรัพย์รายใหญ่มากกว่าประชาชนรายย่อย ซึ่งผู้ได้ดอกเบี้ยเงินฝากไม่เกิน 20,000 บาท จะได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษี

สะเทือนใจคนมีเงินฝาก "คลังรีดภาษีดอกเบี้ย"

ด้าน นายปิ่นสาย สุรัสวดี โฆษกกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ระหว่างนี้ขอให้ประชาชนที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ มาให้ความยินยอมกับสถาบันการเงินที่มีเงินฝาก ให้ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร แม้มีประชาชนกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ได้รับผลกระทบก็ตาม แต่ควรมาแสดงความยินยอม เพราะหากไม่ดำเนินการจะมีภาระเสียภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 15 เปอร์เซ็นต์ทันที โดยอัตโนมัติ แม้ได้ดอกเบี้ยเงินฝาก ไม่เกิน 20,000 บาท ก็ตาม และสามารถขอคืนภาษีดังกล่าวในช่วงปลายปีได้

โดยหลังจากนี้สถาบันการเงินจะต้องไปหาแนวทางจัดส่งข้อมูลดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้า มาให้กรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ปีละ 2 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม และเดือนพฤศจิกายน เพื่อนำรายได้จากดอกเบี้ยดังกล่าวมาคำนวณภาษี และเสียภาษีในช่วงสิ้นปี

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ