น้ำโขงผันผวนหนัก เดี๋ยวแห้ง เดี๋ยวมาก ปลาในกระชังตายเกลื่อน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สถานการณ์น้ำโขงผันผวน หลังปลายเดือนน้ำแล้ง ต้นเดือนน้ำมาก ปลาในกระชังปรับตัวไม่ทันตายเกลื่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำในแม่น้ำโขงยังคงผันผวน จากปลายเดือนที่ผ่านมาที่เรียกว่าแห้งขอด แต่ปัจจุบันกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ล่าสุด ระดับน้ำโขงที่หนองคาย ยังขึ้นต่อเนื่องและรวดเร็วอีกวัน โดยปัจจุบันทะทะลุ 4 เมตรแล้ว  กระทบต่อปลากระชังที่เลี้ยงในแม่น้ำโขง ที่ปรับตัวไม่ทัน ติดเชื้อและตายเป็นจำนวนมาก

                        ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่ไหลผ่านจังหวัดหนองคายยังขึ้นอย่างรวดเร็วอีกวัน ล่าสุดระดับน้ำโขงวัดที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 4.10 เมตร เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของเมื่อวานนี้  40 ซม. ต่ำกว่าตลิ่ง 8.10 เมตร พรุ่งนี้มีแนวโน้มมีแนวโน้มทรงตัวและลดลง เนื่องจากระดับน้ำทางตอนเหนือทั้งที่เชียงแสนและเชียงของ จังหวัดเชียงราย  และเชียงคาน จังหวัดเลย วันนี้ลดลงทั้งหมด

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ที่สถานีวัดระดับน้ำโขงที่หนองคายเมื่อวันที่  17 ก.ค. ระดับน้ำอยู่ที่เพียง 80 ซม. เท่านั้น

แม่น้ำโขงวิกฤต แห้งขอด เผย “ไซยะบุรี” เริ่มทดลองปั่นไฟ ระวังน้ำ ลด – ขึ้น กระทันหัน

วิกฤตน้ำโขง หวั่น ทำระบบนิเวศสูญสลาย

ร้องยุติโครงการสร้าง “เขื่อนปากแบง” กั้นน้ำโขง

                        จากระดับน้ำโขงที่แปรปรวน ลดลงต่ำสุดกว่าระดับน้ำโขงต่ำสุดในรอบ 50 ปี และขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ปลากระชังที่เลี้ยงในแม่น้ำโขงตายเป็นจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เริ่มตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมาจนถึงขณะนี้ ช่วงที่ตายมากที่สุดคือช่วงที่ระดับน้ำโขงต่ำสุดแล้วมีระดับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สาเหตุของการตายคาดเกิดจากปลาปรับตัวไม่ทันและมีการติดเชื้อ ซึ่งลักษณะการตายจะไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นเหมือนที่ผ่านมา ขณะนี้สำนักงานประมงจังหวัดหนองคาย ได้นำปลาที่ตายส่งไปตรวจพิสูจน์หาสาเหตุแล้ว  

                        นายยศ ทบอาจ อายุ 53 ปี เกษตรกรชาวบ้านพร้าวใต้ ต.หินโงม อ.เมือง จ.หนองคาย ตนเลี้ยงปลากระชังทั้งหมด 8 กระชัง แต่ละวันปลาที่เลี้ยงตายมากว่า 50 ตัว รวมน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 50 กิโลกรัม ปกติแต่ละกระชังจะเลี้ยงปลา 2,000 – 2,500 ตัว ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้ปลาตายเป็นจำนวนมากครั้งนี้ แต่ที่สังเกตการณ์ขึ้นลงของน้ำโขงมีผลกับการตายของปลาที่เลี้ยงเป็นอย่างมาก หากน้ำโขงแดงขุ่นและขึ้นเร็วปลาก็จะตายมากขึ้น จากการที่ปลาตายเป็นจำนวนมาก ก็จะส่งผลให้เกษตรกรที่เลี้ยงขาดทุนอย่างแน่นอน ส่วนปลาที่ตายก็จะนำไปทำปลาร้าขาย ในราคากิโลกรัมละ 20 – 22 บาท

                        ทางด้าน นายชาติชาย จิตมาน อายุ 57 ปี เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังที่บ้านพร้าวใต้ บอกว่า ปลาที่เลี้ยงตายเป็นจำนวนมากเช่นกัน ตนก็ไม่ทราบสาเหตุที่ปลาตายครั้งนี้ ซึ่งปลาเริ่มตายตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมาที่ระดับน้ำโขงเริ่มลดลงมาก ๆ แต่ตอนนี้ระดับน้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นแล้วปลาที่เลี้ยงก็ยังตายอยู่ ตนเลี้ยงปลาทั้งหมด 8 กระชัง ปลาตายไปแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ตัน (2 พันกิโลกรัม) ช่วงที่ปลาเริ่มตายมากคือช่วงที่น้ำโขงมีระดับลดต่ำสุดจนน้ำโขงเริ่มขึ้นก็ยังตาย และตายมากขึ้นกว่าเดิมอีก สำนักงานประมงก็ได้นำปลาที่ตายส่งไปตรวจหาสาเหตุการตายแล้ว แต่ตนคิดว่า หากปลาได้ตายแล้ว ก็จะตายต่อเนื่องไปอีก ลักษณะของปลาที่ตายจะจมไปตายใต้กระชัง ไม่ได้แสดงอาการให้เห็นเหมือนปกติที่ผ่านมา จะเห็นอีกครั้งก็ลอยเกลื่อนในกระชังแล้ว ตายแบบไม่รู้สาเหตุ เฉลี่ยตายวันละ 150 กิโลกรัมขึ้นไป การแก้ไขก็จะลดอาหารลงครึ่งหนึ่งจากที่เคยให้ ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง ตอนนี้ปลาที่เลี้ยงจับไปบางส่วนเหลือรอจับอยู่ 5 กระชัง แต่ละวันก็ยังตายเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งปลาที่ตายจะเป็นปลาขนาดใหญ่พร้อมจับ ตัวละไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ปลายิ่งอายุการเลี้ยงมาก น้ำหนักมาก ยิ่งตายมาก ไม่เฉพาะปลาที่ตนเลี้ยง ที่เกษตรกรคนอื่นเลี้ยงก็ตายเช่นเดียวกัน ปลาที่ตายเคยผ่าดูพบว่า มีลักษณะท้องบวม อวัยวะภายในเน่าเปื่อย

น้ำโขงยังวิกฤต ระดับน้ำสูงไม่ถึง 1 เมตร

แม่น้ำโขงเพิ่มระดับ - ชาวบ้านเตรียมปรับตัวในอนาคต

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ