นายกแพทยสมาคมฯ หนุน รบ.ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า หลังพบอเมริกาตาย 7 ราย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ย้ำจุดยืนสนับสนุนรัฐบาลไทยห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า หลังพบข้อมูลของศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา เผยออกมาว่า มีผู้เสียชีวิตเพราะสูบบุหรี่ชนิดนี้แล้ว 7 ราย

เมื่อวันที่ (19 ก.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การร่วมกันแถลงข่าวจากหลายหน่วยงาน ภายในงาน หยุดสูบ หยุดตาย จากบุหรี่ไฟฟ้า โดย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า วัยรุ่นมีความเข้าใจผิดร้ายแรงว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีอันตราย โดยคิดว่าควัน ไอละอองจากบุหรี่ไฟฟ้า เป็นเพียงละอองน้ำ ไอน้ำมีเพียงสารปรุงแต่งให้มีกลิ่นหอม อ้างว่าสูบชนิดที่ไม่มีนิโคติน แต่ในความเป็นจริงควันไอละอองจากบุหรี่ไฟฟ้าที่เห็นมีฝุ่นขนาดเล็กกว่า PM 2.5 มีสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น ฟอร์มาร์ลดีไฮด์ ไดอะซิทิล อโครลิน โลหะหนักที่เป็นพิษ อย่าง นิกเกิล ดีบุก ตะกั่ว ซึ่งอาจมาจากน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์สูบที่โลหะหนักหลุดลอยจากขดลวดที่ชุบน้ำยา และยังมีการวิจัยพบว่า แม้จะสูบบุหรี่ไฟฟ้าชนิดที่ไม่มีนิโคตินก็ทำให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอด และระบบไหลเวียนโลหิตได้

พบผลสำรวจเยาวชนไทยสูบ “บุหรี่ไฟฟ้า” เพิ่มขึ้น เร่งป้องกันนักสูบหน้าใหม่

“อินเดีย” แบนบุหรี่ไฟฟ้า

สมาคมแพทย์อเมริกันแนะหยุดสูบบุหรี่ไฟฟ้า

ด้าน ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า แพทยสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เรียกร้องให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพราะมีผลกระทบต่อการเกิดโรคปอด ซึ่งเป็นวิกฤติทางด้านสาธารณสุขของประเทศ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้คนไทย "หยุดการสูบบุหรี่ไฟฟ้า" เช่นกัน เพราะที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนแล้วว่า มีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้ว 7 ราย

ดังนั้น แพทย์หญิงเริงฤดี ปธานวนิช อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงขอเสนอให้รัฐบาลตรวจสอบการดำเนินงานของกลุ่มลาขาดควันยาสูบประเทศไทย ที่ออกมาเคลื่อนไหวไม่ให้ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า มีเบื้องหลังและได้รับการสนับสนุนจากองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทบุหรี่หรือไม่ เพราะการเคลื่อนไหวดังกล่าว เป็นไปในทางเดียวกับบริษัทบุหรี่ยักษ์ใหญ่ ที่พยายามกดดันให้ไทยนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้าได้เสรี  

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ