นาซาเผยข้อมูลชุดแรกจากยานสำรวจดวงอาทิตย์ระยะประชิด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ยานสำรวจดวงอาทิตย์ของนาซาเผยข้อมูลใหม่ที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจเกี่ยวกับลมสุริยะและสภาพอวกาศมากขึ้น ระหว่างมุ่งสู่บรรยากาศชั้นนอกสุดของดวงอาทิตย์

ยานสำรวจนาซาเผยภาพระยะใกล้ของดวงอาทิตย์

นาซ่าเลื่อนส่งยานสำรวจดวงอาทิตย์เป็นวันที่ 6 ส.ค. นี้

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากนาซาเผยแพร่ผลการค้นพบจากยานสำรวจพาร์กเกอร์ โซลาร์ พร็อบ (Parker Solar Probe) ชุดแรก เมื่อวานนี้ (4 พ.ย.) ในวารสาร เนเจอร์ (Nature)   โดยที่ผ่านมา ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ พร็อบ ได้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ด้วยระยะห่าง 24 ล้านกิโลเมตร เพื่อรวบรวมข้อมูลดังกล่าว โดยบินผ่านส่วนนอกสุดของชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า [MOS]“โคโรนา” ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของ “ลมสุริยะ” หรือกระแสของอนุภาคพลังงานสูงที่พัดไปทั่วระบบสุริยะจักรวาล

หนึ่งในการค้นพบที่สร้างความประหลาดใจมากๆ คือ การตรวจพบการเพิ่มความเร็วอย่างฉับพลันของลมสุริยะที่รุนแรงถึงกับทำให้สนามแม่เหล็กพลิกกลับด้าน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า "สวิตช์แบ็ก" หรือ การย้อนกลับของลมสุริยะ โดยการย้อนกลับนี้อาจเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายวินาทีจนถึงหลายชั่วโมง ก่อนจะพัดกลับออกมาตามทิศทางเดิม 

ก่อนหน้านี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการแกว่งในความเร็วลมสุริยะจะค่อยๆ ลดลงเมื่อพุ่งออกจากชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ คล้ายๆ กับคลื่นที่เกิดขึ้นเมื่อดีดสายกีตาร์ซึ่งจะค่อยๆ เบาลงจากตรงกลาง

การค้นพบครั้งนี้จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับลมสุริยะและสามารถพัฒนาวิธีเตือนล่วงหน้าหากเกินพายุสุริยะที่สามารถส่งผลกระทบต่อดาวเทียมสื่อสารและอุปกรณ์ไฟฟ้าบนโลก หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของนักบินอวกาศที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่นอกโลกได้

ทั้งนี้ ยานพาร์เกอร์ โซลาร์ พร็อบ ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว มีเป้าหมายที่จะเดินทางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ที่ระยะห่าง 6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งยังอยู่ในชั้นบรรยากาศโคโรนา แต่ก็ถือว่าเป็นยานสำรวจที่เข้าใกล้พื้นผิวดวงอาทิตย์มากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ