เหตุแห่ง 'ฆาตกรต่อเนื่อง' อาจมาจากปมวัยเด็ก แนะป้องกันก่อนกลายเป็นตัวตน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จิตแพทย์ย้ำเคสผู้กระทำผิด หากป่วยจิตเวช ไม่มีผลเกี่ยวกับโทษ เพราะตามขบวนการรักษาหายก็ต้องรับโทษตามความเป็นจริง

“การที่คนหนึ่งจะกลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้ที่สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากครอบครัวแตกแยก  มีการใช้ความรุนแรงจนเป็นปมในใจตั้งแต่เด็ก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด...”  นพ.ศรุตพันธุ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวขึ้นเมื่อถูกถามถึงสาเหตุของการทำร้ายคนจนกลายเป็นฆาตกร

พลเมืองดี เล่านาทีเจอ “สมคิด พุ่มพวง” ฆาตกรต่อเนื่อง

ด่วน! จับแล้ว 'สมคิด พุ่มพวง' ฆาตกรต่อเนื่อง ตร.รวบตัวสถานีปากช่อง

นพ.ศรุตพันธุ์ อธิบายว่า จริงๆ กรณีของนายสมคิด พุ่มพวง  เรายังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่า มีอาการป่วยหรือไม่ แต่ที่สำคัญ คือ เมื่อจับตัวได้แล้วควรมีการส่งตรวจอาการทางจิตเวชว่า ป่วยจริงหรือไม่ ซึ่งต้องย้ำ ว่า แม้ผู้ต้องหา ป่วยก็ไม่ได้มีผลต่อโทษที่จะได้รับ เนื่องจากหากป่วยทางจิตเวชจริง ก็ต้องเข้ากระบวนการรักษาจากนั้นจึงเข้าสู่โทษที่จะได้รับอยู่ดี  อย่างไรก็ตาม ส่วนสาเหตุของคนที่จะทำความรุนแรงจนกลายเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงฆาตกรรมบุคคล 2 คนขึ้นไป การจะทำได้หากพิจารณาตามทฤษฎีทางวิชาการ คือ 1. เป็นกลุ่มผู้ป่วย ที่มีการวินิจฉัยแล้วว่า มีอาการทางจิตเวช ซึ่งเขาอาจไม่รู้ตัว หูแว่ว ทำให้มีพฤติกรรมรุนแรง

2.กลุ่มไซโคพาธ (Psychopaths) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคบุคลิกภาพต่อต้านสังคม ไม่ใช่กลุ่มโรคจิตเวช แต่เป็นเรื่องบุคลิกภาพ  อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่อมีการรีวิวประวัติย้อนหลัง จะพบว่า มีประวัติครอบครัวแตกแยก ถูกเลี้ยงโดยคนอื่น และตอนเด็กๆมีประวัติถูกกระทำความรุนแรงทางร่างกายและจิตใจ รวมทั้งบางกรณีอาจเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทำให้สูญเสียความมั่นใจ และเมื่อโตขึ้นก็จะเริ่มกระทำความผิดเล็กๆน้อยๆ เช่น ขโมยของ ทำร้ายสัตว์  จนกระทั่งทำร้ายคน และต่อมาก็นำไปสู่การฆ่าคน หรือการเป็นฆาตกรต่อเนื่อง

“ดังนั้น ตามทฤษฎีหากได้รับความรักในวัยเด็กไม่เพียงพอก็อาจเป็นไปได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าครอบครัวแตกแยกทุกคนจะต้องเป็นแบบนี้  สิ่งสำคัญคือ การเลี้ยงดูในวัยเด็ก ไม่จำเป็นต้องพ่อแม่ แต่เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือพ่อเลี้ยงเดี่ยว ก็ได้ทั้งหมด อยู่ที่ว่าเราให้ความรักมากน้อยแค่ไหน สิ่งสำคัญต้องป้องกันก่อน เพราะหากบุคคลนั้นๆมีพฤติกรรมเข้าข่ายไซโคพาธแล้ว ยิ่งหากอายุ 18 ปีขึ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นตัวตนของเขา ซึ่งก็จะยากที่จะแก้ไข แต่ก็พอควบคุมได้ด้วยการเข้ากลุ่มบำบัดพฤติกรรม แต่ป้องกันก่อนจะดีที่สุด” นพ.ศรุตพันธุ์ กล่าว

นพ.ศรุตพันธุ์ จักรพันธุ์ ณ อยุธยา

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ระบุว่า อาการหลักๆ ของไซโคพาธ คือ ขาดความสำนึกผิด ขาดความเห็นใจผู้อื่น ความรู้สึกด้านชา ไม่เกรงกลัว ขาดความยับยั้งชั่นใจ เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง อาการแสดงจะมีลักษณะจิตใจที่แข็งกระด้าง  มีพฤติกรรมตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง โดยไม่สนใจผู้อื่นในสังคม มีความผิดปกติทางอารมณ์ และความคิดโดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าสังคม  และมักทำความรุนแรงช้ำๆ และก่อให้เกิดอาชญกรรม สำหรับการรักษาจะเป็นการปรับพฤติกรรม เน้นการพัฒนาสิ่งที่สนใจในแง่ดี และการให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมดี  การลงโทษไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ เนื่องจากอาการด้านชาทางอารมณ์

ตร.เชื่อ"สมคิด"ฆาตกรต่อเนื่องเสพติดความรุนแรง

ความเห็นจิตแพทย์ ต่อกรณี “สมคิด พุ่มพวง” ฆาตกรต่อเนื่อง

 

 

  

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ