นักวิชาการทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์มาตรการ ‘ชิมช้อปใช้’ กระตุ้นศก.จริงหรือ...


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ ถูกนำออกมาใช้หลายมาตรการด้วยกัน แต่มาตรการที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคงจะเป็น โครงการ ชิมช้อปใช้ กระตุ้นเศรษฐกิจจริงหรือไม่...

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในปีนี้ คงหนีไม่พ้น “ชิมช้อปใช้” ที่จัดมาตรการสนับสนุนการใช้จ่าย การท่องเที่ยว โดยแจกเงินให้แก่ผู้ที่ลงทะเบียนจำนวน 1,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” และยังให้เงินคืน หรือ แคชแบ็ก สูงถึง 20% หากเติมเงินของตนเองเข้าไปใช้จ่ายในกระเป๋าที่ 2 หรือ g-Wallet ช่อง 2

ทีดีอาร์ไอ ชี้ “ชิมช้อปใช้” ไม่ลงสู่ชุมชน เอื้อรายใหญ่ ดันเศรษฐกิจได้ 0.01%

“สมคิด” สั่งลุยท่องเที่ยว ค้ำยัน ศก.ไตรมาส 4 พร้อมเดินหน้า “ชิมช้อปใช้” เฟส 2

สำหรับการเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนรอบแรก 10 ล้านคน ได้รับการตอบรับอย่างถล่มทลาย จบเว็บไซต์ล่ม เนื่องจากเปิดรับวันละ 1 ล้านคน ประชาชนอดหลับอดนอนแห่กดจองสิทธิ์ลงทะเบียนกันจนเต็มในเวลาไม่ถึงชั่วโมง และความนิยมไม่ได้ลดลงเลย จนโครงการนี้ถูกขยายไปถึงระยะที่ 3 ใช้เงินไปกว่า 19,000 ล้านบาท แถมยังออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายแจกของรางวัลสูงกว่า 12 ล้านบาท

สอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารกรุงไทย ที่ระบุว่าจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการนี้มีสูงถึง 12 ล้านคน หรือคิดเป็น 30% ของประชากรวัยทำงานทั้งหมด ทำให้ภาครัฐได้ข้อมูลในระบบเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้  ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้คาดการณ์ไว้ว่า มาตรการ "ชิมช้อปใช้" จะสามารถกระตุ้นจีดีพีให้ขยายตัวเพิ่มได้ไม่ต่ำกว่า 0.2-0.3% จากเป้าหมาย 3% ด้วยเม็ดเงินที่จะเข้าไปสู่ระบบเศรษฐกิจประมาณ 6 หมื่นล้านบาท โดยเป็นเงินอุดหนุนจากภาครัฐ 1 หมื่น 9 พันล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการใช้จ่ายจากกระเป๋า 2 ของประชาชนนั่นเองครับคุณมาสิรี

  
แม้ทางรัฐบาล จะบอกว่า การใช้งบประมาณหลักหมื่นล้านบาท ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ ควรดันตัวเลขได้เกือบๆ 0.1 % ของตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพี
 

ด้าน นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้ข้อคิดเห็นว่า  ท้ายที่สุดแล้ว จากมาตรการนี้ จะดัน จีดีพีโตได้เต็มที่ไม่เดิน 0.01 % จีดีพี เท่านั้น เพราะ มองว่า การใช้สิทธิ์ชิมช้อปใช้ 1,000 บาทต่อคน เป็นเพียงสิทธิ์ที่รัฐบาลมอบให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ประชาชนแต่ละคนต้องใช้จ่ายในแต่ละเดือนอยู่แล้ว เพียงแค่เปลี่ยนสถานที่ในการซื้อสินค้า หรือ รับบริการ เป็นพื้นที่โครงการกำหนดเท่านั้น เหมือนได้ส่วนลดจากการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากกว่า ไม่ได้เป็นการกระตุ้นให้เกิดเงินก้อนใหม่ในระบบ

นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ยังอธิบายว่า การเติมวงเงินในกระเป๋าที่ 2 ที่ได้เงินคืน 15-20 % ผู้ใช้สิทธิ์ ก็คือคนที่ต้องใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าอยู่แล้ว เพียงแต่ลงทะเบียนเพื่อรับส่วนเท่านั้น ซึ่งอาจเกิดประโยชน์กับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนได้เลือกใช้สิทธิ์กระเป๋า 2 นี้ เพื่อซื้อสินค้ามาจำหน่ายด้วย / เท่ากับว่า หากจะเพิ่มเม็ดเงินใหม่ๆ ได้จริง อาจมีสัดส่วนแค่เพียงเล็กน้อย 0.01 % ของจีดีพีเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมองว่า โครงการนี้ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะระบบไม่ได้ออกแบบให้ เม็ดเงินถูกใช้ไปยังผู้ประกอบการรายเล็กๆ

นักวิชาการ แนะหากจะให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังได้รับผลกระทบจากการซบเซาของเศรษฐกิจ / ในฟากของผู้ประกอบการ รัฐ ควรออกแบบออกระบบใหม่ ให้คัดกรองแต่ผู้ประกอบการรายเล็กตัวจริงเท่านั้น ส่วนในฝั่งผู้ใช้เงิน รัฐควรพิจารณาแจก ให้แก่ ผู้สูงอายุ เด็ก คนว่างงาน และเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติก่อน บรรเทาผลกระทบความเดือนร้อนจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้า ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก หลายหน่วยงานต่างก็ออกมาปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีของไทยปีหน้า ทำให้ต้องจับตาว่า รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใดเพิ่มเติมอีกในปีหน้า

 

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ