ธนาคารโลก ชี้ คนไทยยากจนเพิ่มขึ้นเฉียด 7 ล้านคน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ธนาคารโลก เปิดตัวเลข จำนวนประชาชนที่อาศัยอยู่อย่างยากจนในประเทศไทยที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พร้อมรายงานว่าประเทศไทยมีความไม่เท่าเทียมกันเชิงเศรษฐกิจที่มากเป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยอัตราความยากจนของไทยเพิ่มขึ้นเป็น 9.8% จาก 7.2% ระหว่างปี 2558 ถึงปี 2561 และจำนวนผู้อยู่อาศัยอย่างยากจนเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 ล้านคนจาก 4.85 ล้านคน

เคาะแล้ว! คนจน เกษตรกร ฟรีแลนซ์ รับเงิน 2,000 บาท ช่วยเศรษฐกิจลดผลกระทบโควิด 19

นาย Birgit Hansl ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทยกล่าวว่า แนวโน้มความยากจนล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแม้ไทยจะยังมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอยู่ก็ตาม แต่ภาคครัวเรือนยังคงอ่อนแอต่อแรงกระแทกและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

ขณะที่ อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยต่ำกว่าเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่กำลังพัฒนา ประกอบกับภัยแล้งในปีที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ยากจนที่สุดของสังคม

เขาบอกด้วยว่า หากไทยต้องการบรรลุสถานะขึ้นเป็นกลุ่มประเทศรายได้สูง ครัวเรือนไทยจะต้องไม่มีมีปัจจัยที่มาทำให้รายได้ลดลง เช่น การเจ็บป่วย ภาวะตกงาน  ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

เอกชน ขานรับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรบ.วงเงินแสนล้าน

นอกจากนี้ ในรายงานยังบอกด้วยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประสบปัญหาความยากจนเพิ่มขึ้นหลายครั้งตั้งแต่ปี 2543 โดยที่ผ่านมาผู้บริหารของไทยต้องเผชิญกับความท้าทายหลายครั้ง ตั้งแต่ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น จนถึงภัยแล้ง และล่าสุดการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย รวมถึงความไม่สงบทางการเมืองและการรัฐประหารหลายครั้งในประวัติศาสตร์ ยังเป็นหนึ่งในตัวการขัดขวางเศรษฐกิจ

ภัยแล้ง ส่งผลแม่น้ำแห้งขอด กระทบหลายพื้นที่

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ