อย.เร่งกระจายหน้ากากอนามัย ส่ง “รพ.-บุคลากรทางการแพทย์” วันละ 700,000 ชิ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเร่งกระจายหน้ากากอนามัยหน่วยงานสาธารณสุข 6 ส่วน พร้อมแนะปชช.หากเจ็บป่วย ไอ จามสวมหน้ากากอนามัย หากไม่ป่วยใส่หน้ากากผ้า

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ของโรคโควิด-19 ที่เกิดการระบาดขึ้นในประเทศต่าง ๆ นั้น ทำให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์เป็นที่ต้องการของทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย หรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไป ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  รวมถึงผู้ผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศไทย ได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อตกลงในการกระจายสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศไทยซึ่งมีอัตราการผลิต1.2ล้านชิ้นต่อวัน 

กรมอนามัยยืนยัน “หน้ากากผ้า” มีขนาดใยเล็ก ป้องกันเชื้อได้ 59%  

หน้ากากอนามัยผ้า เย็บเองอีกทางเลือกท่ามกลางไวรัสโคโรนา

เบื้องต้นได้มีการกระจายสินค้าให้กับหน่วยงานในระบบสาธารณสุข  700,000 ชิ้นต่อวัน ได้แก่ 

1. สถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาล ในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค และกรมอื่น ๆ  ได้รับการจัดสรร 400,000 ชิ้นต่อวัน 

2. หน่วยงานนอกกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ โรงพยาบาลค่าย โรงพยาบาลตำรวจ กาชาด โรงพยาบาลรัฐวิสาหกิจ หรือโรงพยาบาลเทศบาลต่าง ๆ เป็นต้น ได้รับจัดสรรจำนวน 30,000 ชิ้นต่อวัน ทั้ง2กลุ่มนี้มีองค์การเภสัชกรรมช่วยในการกระจายสินค้า 

3. โรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยและคณะทันตแพทย์ได้รับการจัดสรร 60,000 ชิ้นต่อวัน  โดยทาง UHosNet ช่วยในการจัดสรร 

4. โรงพยาบาลเอกชนและคลินิกต่าง ๆ ได้รับการจัดสรร 140,000 ชิ้นต่อวัน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและสมาคมโรงพยาบาลเอกชนช่วยจัดสรร  

5. โรงพยาบาล       ในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้รับการจัดสรร 70,000 ชิ้นต่อวัน โดยสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานครเป็นผู้จัดสรร ทั้งนี้ หากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 มีการเปลี่ยนแปลงจะดำเนินการจัดสรรให้เป็นไปตามความเหมาะสมอีกครั้ง

กระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นความสำคัญของการจัดหา หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ให้มีความเหมาะสมและเพียงพอแก่บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นด่านหน้าที่จำเป็นต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วย นับว่าเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญสูงสุดในสถานการณ์การระบาดขณะนี้ รวมถึงผู้ป่วยที่มาติดต่อกับโรงพยาบาลซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง นอกจากนั้นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ยังต้องใช้ในการทำหัตถการอื่นด้วย เช่น การผ่าตัด การทำฟัน เป็นต้น การร่วมมือร่วมใจกันจะทำให้ประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยดี” นพ.สุรโชค กล่าว

 

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ