สทท. – นักวิชาการ หนุนช่วย 5,000 บ. แต่ต้องเข้าถึงได้จริง


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ภาคเอกชนด้านท่องเที่ยว และ นักวิชาการ ประสานเสียงเห็นด้วยกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล โดยเฉพาะการเยียวยาเงิน 5,000 บาท 3 เดือน แต่ขอให้เข้าถึงประชาชนและผู้ที่เดือดร้อนได้จริง ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ มีผล 1 เม.ย.นี้ หลังคาดจีดีพีปีนี้ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 22 ปี หรือ ติดลบ 5.3%

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 26 มี.ค.63

อัปเดตข่าวโควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 26 มี.ค. 63

รัฐบาลได้ออกชุดมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา โควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2 เพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการเยียวยาเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน กับลูกจ้างนอกระบบที่ตกงาน หรือได้รับผลกระทบ

สธ.ประเมินตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19  คาดสิ้น เม.ย.ติดเชื้อรวม 3,500 รายทั้งประเทศ

นายชัยรัตน์ ไตรรัตนจรัสพร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวพีพีทีวี ระบุว่า ตัวชุดมาตรการที่ออกมาถือว่าดูดีกว่าชุดที่ผ่านๆมา เนื่องจากชุดมาตรการต่างๆที่เคยออกมาก่อนหน้านี้ไม่สามารถปฎิบัติจริงได้ ผู้ประกอบการเข้าไม่ถึง แต่วันนี้น่าจะดีขึ้น ขอเพียงให้มาตรการที่ออกมาเข้าถึงประชาชนจริงๆ ให้ผู้ประกอบการและผู้ที่เดือดร้อนได้รับการช่วยเหลือจริง ไม่ใช่มีมาตรการออกมาแต่จับต้องไม่ได้ ด้วยข้อกำหนดจำนวนมาก

รพ.บันนังสตา พบ “หมอ-พยาบาล” ติดโควิด-19 จำนวน 3 คน

ขณะที่มุมมองของนักวิชาการอย่าง ศ.วิทวัส รุ่งเรืองผล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า มาตรการที่ออกมา ถือว่ามีความเหมาะสมในภาวะวิกฤต ณ ปัจจุบันแล้ว ด้วยความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เงินจำนวน 5,000 บาท เฉลี่ยอยู่ที่วันละ 166 บาทเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เป็นเงินที่มาก เพียงแต่ช่วยให้รอดพ้นภาวะวิกฤตนี้ไปได้ แต่หากมองภาพระยะยาวอาจจะส่งผลกระทบกับการจัดเก็บรายได้ของรัฐในอนาคตที่อาจจะหลุดกรอบการจัดเก็บไปมาก จึงต้องทำเป็นระยะสั้นๆเท่านั้น

อีกแง่มุมหนึ่งหากรัฐนำเอาแรงงานนอกระบบกลุ่มนี้มาขึ้นทะเบียนแล้วตรวจสอบได้ จะเป็นการทำให้รัฐมีฐานข้อมูลของแรงงานที่นำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมาก ส่วนมาตรการอื่นๆ อย่างการเสริมสภาพคล่อง ผ่อนผัน ขยายเวลา ถือเป็นมาตรการที่ใช้ได้ เพราะมีความหลากหลายและครอบคลุมทุกกลุ่ม

ชาตรามือ เปลี่ยนโลโก้รณรงค์ล้างมือสู้โควิด-19

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 2563 จะหดตัวสูงถึง 5.3%จากประมาณการในเดือนธันวาคมที่คาดว่าจะเศรษฐกิจขยายตัว 2.8% เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค Covid-19  โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าและบริการที่จะหดตัวรุนแรงเป็นหลัก ก่อนที่เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัว 3.0% ในปี 2564 

นอกจากนี้ ธปท. ยังประกาศมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป ซึ่งครอบคลุมสินเชื่อบัตรเครดิต ส่วนบุคคล เช่าซื้อ บ้าน และสินเชื่อภาคธุรกิจรายย่อยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.เป็นต้นไป เช่น

รองโฆษก รัฐบาล ลบทวิตด่วน! หลังเผยแพร่ข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ผ่าน สธ.

-ลดอัตราผ่อนชำระบัตรเครดิตและสินเชื่อเงินสดหมุนเวียนขั้นต่ำจากเดิม 10% เหลือ 5% เป็นระยะเวลา 1 ปี  และทยอยปรับเป็นอัตราปกติในปี 2566

 -สินเชื่อที่ผ่อนชำระเป็นงวด และ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ให้เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน, หรือลดค่างวดอย่างน้อย 30% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 เดือน

- สินเชื่อเช่าซื้อ ได้แก่ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และลีสซิ่ง กำหนดให้ เลือกดำเนินการระหว่างเลื่อนการชำระค่างวด 3 เดือน หรือ พักชำระหนี้เงินต้น เป็นเวลา 6 เดือน

- สินเชื่อบ้าน วงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ไมโครไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท ให้พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามสถานการณ์ของแต่ละราย

แจกหน้ากากอนามัยปลุกเสกสร้างกำลังใจชาวบ้าน

ภูเก็ตหลายพื้นที่เงียบเหงา หลังมีมาตรการเข้ม

ชาวหนองเสือร้องตรวจสอบบ่อนพนันหวั่นแพร่เชื้อโควิด-19

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ