ราคาอสังหาฯ ช่วง “วิกฤตโควิด -19” ควรซื้อหรือยัง?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ช่วงวิกฤตแบบนี้ อาจเห็นหลายธุรกิจดิ้นหนีตาย ลดราคากันอย่างรุนแรง ซึ่งรวมถึงภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่หลายค่ายก็ออกแคมเปญกันอย่างดุเดือด แต่ในจังหวะวิกฤตควรซื้อหรือไม่ แล้วการลดราคาสูง ๆ ลดได้จริง หรือเป็นเพียงการตลาด

ความเดือดร้อนจากไวรัส โควิด-19 แพร่กระจายไปทั่วทุกอุตสาหกรรม ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของเศรษฐกิจไทยอย่างภาคอสังหาริมทรัพย์ก็หนีไม่พ้น หลังจากยอดขายหดหายไปกว่า 30-40% โดยมุมมองของนักวิชาการ ได้สะท้อนว่า วิกฤต โควิด-19 นี้ไม่ได้มีความน่ากังวลขนาดนั้น เพราะในช่วง 1-2 เดือนนี้ ยังมีการเปิดโครงการใหม่ได้อยู่ราว 15-20 โครงการ แต่การที่ผู้ประกอบการบอกว่า ลดกระหน่ำ 40-50% เป็นเพียงการตลาดที่จะกระตุ้นให้คนตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น ซึ่งหนึ่งในข้อดีของวิกฤตครั้งนี้คือ จะทำให้ระดับราคาที่เคยสูงกว่าความเป็นจริง กลับมาอยู่ในราคาที่ควรจะเป็นมากขึ้น

IMF คาด เศรษฐกิจเอเชียปีนี้หยุดชะงักครั้งแรกในรอบ 60 ปี

โดยส่วนกรณีที่หลายคนหวังว่าจะให้ราคาปรับลดลงมาเหมือนในช่วง วิกฤตต้มยำกุ้ง ในปี 2540 ที่ราคาลดลงเฉลี่ย 20% แล้วค่อยซื้อนั้น ต้องบอกว่า เรื่องนี้จะไม่เกิดขึ้น เพราะผลกระทบกับภาคอสังหาฯ ไม่ได้รุนแรงเหมือนที่ผ่านมา แต่หากต้องการซื้อบ้าน-คอนโด อยู่แล้ว และมีความพร้อม ดร.โสภณ พรโชคชัย ก็ให้คำตอบอย่างชัดเจนว่า ตอนนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมแล้ว โดยมีเคล็ดลับง่าย ๆ เพียงทำการเปรียบเทียบสัก 10 แห่ง เพื่อให้มีข้อมูลจริงทั้งหมดก่อนการตัดสินใจซื้อ

สำหรับความต่างกันกันของวิกฤต ปี 2540 กับ วิกฤต ปี 2563 คือในอดีตเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ระดับเจ้าสัวที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ในวันนี้กลับกันเป็นชาวบ้านสามัญชน ที่ได้รับผลกระทบ ทำให้กำลังในการซื้อที่อยู่อาศัยก็หดหายตามไปด้วย

ขณะที่ข้อมูลจากผู้ประกอบการภาคอสังหาริมทรัพย์ ชี้ให้เห็นว่า การปิดเมืองป้องกันโรคระบาด โควิด-19 ส่งผลกระทบกับธุรกิจอย่างหนัก โดยอัตราการเข้าชมโครงการลดลงกว่า 80-90% จนทำให้รายได้จากการขายหายไปถึง 95% เมื่อขายไม่ได้ แต่รายจ่ายไม่หยุด

อสังหาฯ จ่อ ปลดคน-ปิดกิจการ หาก โควิด-19 ยืดเยื้อ

7 New Normal ที่อาจได้เห็นในสังคมไทยในวันที่ โควิด-19 หายไป

หากดูกันที่เม็ดเงินในอุตสาหกรรม ภาคอสังหาริมทรัพย์มีมูลค่าการโอนในปีที่ผ่านมาสูงถึง 8.75 แสนล้านบาท รวมถึงมีตัวคูณอีก 3 เท่า ทำให้เงินจะสะพัดถึง 2.6 ล้านล้านบาท ผู้ประกอบการ จึงมองว่ารัฐบาลควรออกมาตรการกระตุ้นที่ตรงจุด โดยให้คนระดับกลางและระดับบนมาใช้เงิน ด้วยการลดค่าธรรมเนียม (ปลดล็อกทุกระดับราคาบ้าน) รวมถึงการซื้อจากชาวต่างชาติ ที่ในปี 2562 มีเงินสดจากต่างชาติเข้ามาในธุรกิจอาคารชุด สูงถึง 90,000 ล้านบาท โดยการปลดล็อก ขยายวีซ่าการพักอาศัย จากคราวละ 3 เดือน ให้เป็น 1 ปี เป็นระยะเวลา 10 ปี สำหรับผู้ที่ซื้ออาคารชุดมูลค่า 5 ล้านบาทขึ้นไป

ทั้งนี้การที่หลายโครงการออกมาประกาศลดราคาอาคารชุดกว่า 40-50% นั้นไม่ใช่สภาวะวิกฤต แต่เป็นแคมการตลาด ที่อาจนำเอาห้องด้อยที่ยังเหลือขาย ที่ปรับราคาขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วทำการตลาดลดราคา จึงเห็นว่าอัตราส่วนลดสูงจนผิดปกติ หากวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงแล้ว ดร.อาภา บอกว่า ที่ดินที่ใช้สร้างอาคารชุด เป็นที่ดินโดดเด่น ใกล้ห้างสรรพสินค้า สถานที่สำคัญ และเป็นที่ดินที่จำกัด โอกาสที่ต้นทุนของคอนโดมิเนียมจะถูกลงจึงไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ เพียงแต่เพิ่มน้อยหรือเพิ่มมากตามภาวะเศรษฐกิจเท่านั้น

โควิด-19 กระทบแรงงาน 1.6 พันล้านคนทั่วโลก

เศรษฐกิจป่วยเรื้อรัง จากวิกฤตปี 40 ถึงปี 63

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ