ภาษีดิจิทัล อี-เซอร์วิส ส่งผลอย่างไรต่อคนไทย?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายเก็บภาษีแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ หรือ อี-เซอร์วิส (e-Service) เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 63 ที่ผ่านมานั้น

ภาครัฐยืนยันว่า ไม่เป็นภาระกับผู้ใช้บริการ เพราะปัจจุบันมีทั้งเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ดาวน์โหลดหนัง เพลง เกม การจองโรงแรม จากแพลตฟอร์มต่างประเทศโดยไม่เสียมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกระทรวงการคลังคาดว่า จะสร้างรายได้ให้รัฐได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปี

ครม.เห็นชอบ ร่างกฎหมายเก็บภาษีแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ (อี-เซอร์วิส)

ลดภาษีที่ดินสิ่งปลูกสร้างปี 63 ในอัตรา 90 เปอร์เซ็นต์

โดย อี-เซอร์วิส จะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ เป็นการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งประกอบกิจการให้บริการโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประมวลรัษฎากร

โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศแก่ผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในประเทศ หากผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศมีรายรับจากการให้บริการดังกล่าวเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ด้าน คุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com ให้ความเห็นว่า จากการรายงานของกระทรวงการคลังซึ่งคาดว่า ภาษีอี-เซอร์วิสจะสร้างรายได้ให้รัฐได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปีนั้น จะทำให้คำนวณกลับมาได้ว่า ในปีหนึ่ง ๆ คนไทยสูญเสียรายได้ออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่

“ตรงนี้ไม่มีใครทราบได้ แต่ตัวเลขจากข่าวมีการประมาณการว่า รัฐบาลน่าจะเก็บภาษีในส่วนนี้ได้ 3,000 ล้านบาท โดยถ้าคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จาก 3,000 ล้านบาท รัฐบาลที่คิดว่าจะได้ น่าจะคำนวณไว้ว่า คนไทยจ่ายเงินออกไปยังบริการออนไลน์ต่างประเทศปีนึง ไม่น้อยกว่า 4.2 หมื่นล้านบาท”

คุณภาวุธระบุว่า จากการเก็บภาษีอี-เซอร์วิส จะทำให้คนไทยได้เห็นตัวเลข การขาดดุลย์การค้าด้านดิจิทัล ที่คนไทยจ่ายเงินออกไปนอกประเทศ ว่าจ่ายออกไปเท่าไรกันแน่

ค้านลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ 50% หวั่นซ้ำรอย "รถคันแรก"

ปัจจุบันมีหลายประเทศได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีรูปแบบนี้ไปแล้วได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ส่วนอินโดนิเซียจะเริ่มจัดเก็บในวันที่ 1 กค. นี้ โดยเก็บที่อัตรา 10% ซึ่งในส่วนของประเทศที่ริเริ่มการจัดเก็บภาษีอี-เซอร์วิสไปแล้วนั้น คุณภาวุธบอกว่า ยังไม่ทราบว่าผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นอย่างไรบ้าง ส่วนของไทยคาดว่าจะจัดเก็บที่ 7% เท่ากับภาษีมูลค่าเพิ่ม

คุณภาวุธมองว่า การมีภาษีอี-เซอร์วิสจะทำให้การแข่งขันของตลาดดิจิทัลมีความ “แฟร์” มากขึ้น “ปกติบริการออนไลน์เหล่านี้ ไม่เคยเสียภาษีมาก่อน ทำให้ราคาของเขาาถูกกว่า เมื่อเทียบกับบริการภายในประเทศ ทำให้การแข่งมันก็เป็นธรรมมากขึ้นกับธุรกิจในประเทศ”

อย่างไรก็ตาม ผลที่อาจตามมาคือ ภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนผู้บริโภคที่อาจเพิ่มขึ้น แม้โดยหลักการจะจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากแพลตฟอร์มดิจิทัลจากต่างประเทศ แต่ผู้ให้บริการหรือแพลตฟอร์มเหล่านั้นก็อาจจำต้องขึ้นราคาเพื่อให้ได้ผลประกอบการเท่าเดิม

“ผู้บริโภคคนไทยอาจจะต้องจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น จากภาษีที่ทางผู้ให้บริการออนไลน์จากต่างประเทศที่จะพลักภาระส่วนนี้มาให้กับลูกค้าคนไทย แต่มันก็คุ้มค่ากว่า ที่ประเทศของเราเสียหายต่อไปในอนาคตโดยที่เราไม่รู้ ไม่เห็นอะไรเลย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ คือสิ่งหนึ่งที่คนไทยต้องยอมรับร่วมกัน ไม่ใช่เพื่อตัวเราเอง แต่เพื่อประเทศของเรา”

กรมสรรพสามิต ให้สิทธิทางภาษีผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือป้องกันโควิด 19

คุณภาวุธบอกว่า ความท้ายของรัฐคือทำอย่างไรจึงจะเชิญชวนให้บริษัทออนไลน์ต่าง ๆ จากต่างประเทศ ให้มาหักภาษีให้กับรัฐไทย

โดยรัฐควรขอความร่วมมือจากธนาคารไทยทุกแห่ง เพื่อสรุปรายการที่คนไทยจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตออกไปต่างประเทศมากที่สุด เช่น จ่าย Google, Microsoft, Apple แล้วสรุปออกมา “แล้วรัฐบาลก็นำรายชื่อเหล่านั้นมาดูว่าหากเขาามีรายได้จากคนไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เราก็ประสานบริษัทนั้น ๆ ให้มาขึ้นทะเบียนเสียภาษี VAT กับรัฐบาลไทย เราจะได้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น”

ตัวเลขเหล่านี้จะกระตุ้นทำให้เกิดการแข่งขัน การลงทุนในอุตสาหกรรมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องในด้านนั้น ๆ ในไทย จากเดิมที่ไม่เคยเห็นข้อมูลมาก่อน เช่น หนัง เพลง ซอฟต์แวร์ โฆษณา แต่เราอาจจะไม่ได้แข่งกับเขาตรงๆ แต่เราเห็นขนาดตลาดในไทย (Market Size) และสามารถใช้กลยุทธ์สร้างฐานลูกค้าเฉพาะ (Niche Market) ของเราได้จากข้อมูลที่เห็น

“รวมไปถึงรัฐบาลสามารถไปชวนบริษัทเหล่านี้มาลงทุนตั้งออฟฟิศในประเทศไทยอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เพื่อทำให้เกิดการลงทุนที่มากขึ้น มีการใช้จ่าย จ้างงาน คนไทยมากขึ้นก็เป็นได้”

คุณภาวุธบอกว่า การมีภาษี อี-เซอร์วิส จากต่างประเทศนั้น มีผลดีกับประเทศไทยในระยะยาว เพราะในอนาคต คนจะใช้บริการด้านนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนผลดีต่อผู้บริโภคนนั้นอาจมาในรูปแบบของระบบหักภาษี การลดหย่อนภาษี ซึ่งที่ว่าระบบการจัดเก็บท้ายสุดแล้วจะเป็นอย่างไรและเอื้อประโยชน์ให้ผู้บริโภคได้มากน้อยเพียงใด

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ