ป.ป.ช.เน้นย้ำ ทุจริต “เงินกู้ 4 แสนล้าน” จะไม่เกิด ด้วยพลังของประชาชน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เพื่อป้องกันการทุจริตในส่วนของเงินกู้เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 4 แสนล้านบาท ป.ป.ช. ยืนยันว่า การป้องกันที่ดีที่สุดต้องมาจากภาคประชาชน ขณะเดียวกันก็เตรียมระบบและการทำงานที่อำนวยให้ประชาชนรายงานเหตุทุจริต ทั้งเตรียมเปิดเว็บไซต์มอนิเตอร์โครงการต่าง ๆ รวมถึงปรับระบบให้เร่งรัดการตรวจสอบคดีได้ทันทีเมื่อมีการร้องเรียน

15 มิ.ย. 63 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “การตรวจสอบเงินกู้ 4 แสนล้าน – เงินสะสมท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาโควิด-19” โดยมี นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการ ป.ป.ช., นายพิเชฐ พุ่มพันธ์ รองเลขาธิการ ป.ป.ช.ด้านการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน, นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการ ป.ป.ช.ด้านการปราบปรามการทุจริต และนายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการ ป.ป.ช.ด้านการป้องกันการทุจริต ร่วมเสวนา

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 16 มิ.ย. 63

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 16 มิ.ย. 63

โดย สรุปข้อเสนอโครงการเบื้องต้น ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2563 มีหน่วยงานเสนอโครงการรวมทั้งสิ้น 34,263 โครงการ วงเงินรวม 841,269 ล้านบาท ทำให้เกิดความกังวลเรื่องโปร่งใสในการใช้เงินจากการกู้เงินวงเงิน 4 แสนล้านบาทของรัฐบาล

ป.ป.ช. จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาติดตามการใช้งบประมาณเงินกู้ 4 แสนล้านบาทขึ้นมา โดย ป.ป.ช. ได้มีการศึกษาที่มาและที่ไปของงบประมาณ วิเคราะห์ความเสี่ยงและความจำเป็นของโครงการ ศึกษาแผนงานใช้เงินกู้ เพื่อที่หากมีผู้ร้องเรียนมาก็จะสามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที

นายวรวิทย์ ระบุว่า การที่ประชาชนทุกคนช่วยกันเฝ้าระวัง และแจ้งเรื่องการทุจริตมายัง ป.ป.ช. จะเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้กระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะลำพังแค่ ป.ป.ช. หน่วยงานเดียวคงไม่สามารถดูแลได้ทั้งหมด

ทั้งนี้ ป.ป.ช. ได้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบทุจริต โดยมีการเสนอให้จัดทำเตรียมจัดทำเว็บไซต์เฉพาะกิจขึ้นมา โดยจะมีโครงการของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชน และเครือข่ายพันธมิตร เข้าไปตรวจสอบเรื่องเงินกู้ 4 แสนล้านบาทได้โดยง่ายตลอดเวลา

นายวรวิทย์ กล่าวว่า “เว็บไซต์ดังกล่าวจะติดตามและตรวจสอบโครงการใช้เงินกู้ 4 แสนล้านบาท ว่า แผนงานใด หน่วยงานไหนได้รับอนุมัติแล้ว มีการใช้งบถูกต้องตามวัตถุประสงค์ฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือไม่ จับตาการดำเนินงานไปทุกขั้นตอน ว่ามีผลสำฤทธิ์ของงานหรือไม่ เพราะเงินจำนวนมาก เป็นประวัติศาสตร์ของบ้านเรา ที่มีการกู้เงินจำนวนมหาศาล มาเยียวยากระตุ้นเศรษฐกิจ ขอให้พี่น้องประชาชนทุกคนเป็นหูเป็นตา พบเห็นเบาะแสเร่งส่งข้อมูลเข้ามา เพราะต้องใช้เงินภาษีประชาชนทุกคนไปจ่ายชำระเงินกู้”

ป.ป.ช.ขู่พบทุจริตเงินกู้ 4 แสนล้าน ขึ้นสถานะเป็นคดีเร่งด่วน

ด้านนายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการ ป.ป.ช.ด้านการป้องกันการทุจริต กล่าวว่า แม้ว่าเงินกู้จำนวน 4 แสนล้านบาทจะเป็นตัวเลขที่มหาศาล แต่ไม่ใช่สถานการณ์แรกที่ ป.ป.ช.ได้เข้าไปตรวจสอบ เพราะก่อนหน้านี้ ป.ป.ช.เคยตรวจสอบทั้งโครงการมิยาซาว่า และโครงการไทยเข้มแข็ง อย่างไรก็ตามกระบวนการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดต้องอาศัยกลไกภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงสื่อต้องช่วยกัน

“โดยเฉพาะสื่อมวลชน ต้องสร้างความตระหนัก การมีส่วนร่วม โควิด-19 มีเชื้อ แต่คอร์รัปชันไม่มีเชื้อ เพราะมันเป็นเรื่องจิตใจ เรื่องคุณธรรม การจะแก้ไขได้คือต้องมีคุณธรรมนำความรู้ ไม่ใช่ความรู้คู่คุณธรรม ยิ่งมีความรู้มากเท่าไหร่ยิ่งมีความอันตรายมากขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นเราจึงปลูกฝังเด็กให้มีคุณธรรม”

นอกจากนี้ นายอุทิศยังเสริมว่า ต้องมีมาตรการสอดส่องดูแล ไม่ให้ผู้มีอำนาจ ซึ่งอาจมีธุรกิจส่วนตัวอื่น ๆ เข้ามาสัมผัสกับโครงการต่าง ๆ เปรียบเหมือนการเว้นระยะห่างทางสังคม หากผู้มีอำนาจแยกตัวเองออกจากผลประโยชน์ได้ การทุจริตก็จะไม่เกิด เช่นเดียวกับที่คนจะไม่ติดโควิด-19 หากไม่มีการสัมผัสเชื้อไวรัส

ขณะที่ นายนิวัติไชย เกษมมงคล รองเลขาธิการ ป.ป.ช.ด้านการปราบปรามการทุจริต กล่าวว่า วันนี้ ป.ป.ช.คงรับปากไม่ได้ว่าจะไม่ให้เกิดการทุจริตแม้แต่บาทเดียว แต่เรื่องนี้ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันตรวจสอบ

“ยกตัวอย่างกรณีแจกแคร์เซ็ตที่ จ.ลำพูน เมื่อประชาชนพบเห็น จนเกิดเรื่องร้องเรียนและปรากฏเป็นข่าว ป.ป.ช.ก็จะเข้าไปตรวจสอบทันที และทำงานได้อย่างรวดเร็ว” นายนิวัติไชย กล่าว

เขายังเสริมว่า การปราบปรามจะเกิดขึ้นหลังเกิดเหตุทุจริต ดังนั้นการป้องกันจึงสำคัญกว่า ประชาชนต้องเลือกคนที่น่าไว้ใจ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น “เมื่อคุณมีสิทธิ์ที่จะเลือกบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ ต้องเลือกคนที่มีคุณภาพ ที่สามารถไว้ใจว่าจะทำงานให้ประชาชน หมู่บ้าน ท้องถิ่นได้ อย่าเลือกเพราะผลประโยชน์ การรวมตัวของคน กลุ่มชุมชน สร้างอำนาจต่อรอง ถ้าชุมชนเข้มแข็ง เหตุทุจริตก็ไม่เกิด เป็นจุดที่ท่านจะเห็น เพราะประชาชนจะเป็นคนเห็นการทุจริตในพื้นที่ก่อนใคร”

ป.ป.ช.สั่งไต่สวน นายก อบจ.ลำพูน ปมจัดซื้อ“Care Set”แพง

ป.ป.ช. เผยว่า สำหรับประเด็นเงินกู้ 4 แสนล้านบาทนั้น จะเน้นการทำงานในเชิงป้องกันตั้งแต่ต้นทาง โดยหากพบการทุจริต จะขึ้นสถานะคดีนั้นเป็นคดีเร่งด่วน และจะมีการลงโทษทันที

“การใช้จ่ายเงินกู้ก้อนนี้ ป.ป.ช. จะถือเป็นเคสพิเศษที่ต้องมีการตรวจสอบและจัดการให้คดีเห็นผลทันที เพราะถือว่าเป็นแผนงานที่มีเงินเข้ามาเกี่ยวข้องจำนวนมาก ขณะเดียวกันหากประชาชนพบความผิดปกติเกี่ยวกับโครงการต่าง ๆ ขอให้รีบส่งข้อมูลให้ ป.ป.ช.ดำเนินการตรวจสอบทันที” นายวรวิทย์ กล่าว

เมื่อ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องร้องเรียนก็จะเร่งรัดการตรวจสอบคดี เพื่อนำไปสู่การชี้มูลความผิดและลงโทษผู้กระทำความผิด ดังนั้นการชี้ช่องเบาะแสจึงเป็นเรื่องสำคัญประชาชนไม่ควรเพิกเฉยหากพบเห็นการทุจริต

เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวถึงการตรวจสอบเงินสะสมท้องถิ่นที่ถูกใช้ไปในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ว่า ปัจจุบันมีเรื่องร้องเรียนที่ ป.ป.ช.รับไว้ตรวจสอบแล้วทั้งหมด 23 เรื่อง แบ่งเป็นภาคเหนือ  3 เรื่อง ภาคกลาง 10 เรื่อง อีสาน 7 เรื่อง และภาคใต้ 3 เรื่อง ในส่วนนี้ตั้งอนุกรรมการไต่สวนแล้ว 1 เรื่อง คือเรื่องจัดซื้อแคร์เซ็ตที่ จ.ลำพูน ส่วนที่เหลือเข้าสู่กระบวนการสอบในขั้นต้นทั้งหมดแล้ว

“ทั้ง 23 เรื่องที่ร้องเรียนมีหลากหลายประเภท ทั้งเรื่องซื้อของแพงเกินกว่าความเป็นจริง เรื่องติดตั้งอุโมงค์ฆ่าเชื้อ รวมถึงการซื้อยาเวชภัณฑ์ เจลล้างมือ แอลกอฮอล์ จัดซื้อหน้ากากอนามัย ถุงยังชีพ ตลอดจนเรื่องเรียกรับเงิน ในส่วนนี้มีทั้งเรื่องเล็กและเรื่องใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องใหญ่ ที่ใหญ่ทั้งขนาดโครงการและตัวคนที่เข้าไปเกี่ยวข้อง” นายวรวิทย์กล่าว

กมธ.ป.ป.ช.สภาฯ  จี้ “บิ๊กตู่-เสี่ยหนู” สั่งสอบปลัดสธ. ปล่อยรพ.สธ.รับหัวคิว 5 %

หน่วยงาน แห่เสนอกว่า 28,400 โครงการใช้เงินกู้ รวมวงเงินเกือบ 6 แสนล้าน

สศช.เผยหน่วยงานเสนอโครงการใช้เงินกู้ 4 แสนล้านทะลัก

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ