ทหารอินเดีย 3 นายเสียชีวิตหลังปะทะจีน ปมแนวชายแดนเทือกเขาหิมาลัย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทหารอินเดีย 3 นายถูกสังหารหลัง “การเผชิญหน้ากันอย่างรุนแรง” กับกองทหารจีนบริเวณแนวชายแดนของประเทศในแถบเทือกเขาหิมาลัย

เหตุการณ์การปะทะกันระหว่างทหารอินเดียจีนเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (15 มิ.ย. 63) บริเวณหุบเขากัลวาน (Galwan Valley) ในพื้นที่ อักไซชิน ฝั่งลาดักห์ (Aksai Chin-Ladakh) ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองกำลังทหารจากทั้ง 2 ฝ่าย ขณะที่ผู้บัญชาการทหารระดับสูงเพิ่งมีการเจรจาพูดคุยกันเมื่อเดือนที่ผ่านมา

อัปเดตข่าว สถานการณ์ โควิด-19 ทั่วโลก ล่าสุด 16 มิ.ย. 63

อัปเดตข่าวสถานการณ์ โควิด-19 (COVID-19) ล่าสุด 16 มิ.ย. 63

ตามคำแถลงของกองทัพอินเดีย มีการสูญเสียเกิดขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย คือเจ้าหน้าที่อินเดีย 1 นาย และทหารอินเดีย 2 นาย แต่จำนวนผู้เสียชีวิตฝ่ายจีนยังไม่มีความชัดเจน โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหารอาวุโสจากทั้ง 2 ฝ่ายกำลังประชุมกันเพื่อคลี่คลายสถานการณ์

ด้านโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของจีน จ้าวลี่เจี้ยน (Zhao Lijian) กล่าวว่า “ทหารอินเดียฝ่าฝืนฉันทามติของเรา และข้ามเส้นเขตแดนมาเพื่อกระทำการที่ผิดกฎหมาย 2 ครั้ง กระตุ้นและโจมตีบุคลากรชาวจีน ซึ่งนำไปสู่เหตุความรุนแรง”

จ้าวลี่เจี้ยนเสริมว่า “จีนได้ยื่นประท้วงและเป็นตัวแก่ฝ่ายอินเดีย และเราขอให้ฝ่ายอินเดียปฏิบัติตามฉันทามติอีกครั้ง และควบคุมกองกำลังแนวหน้าอย่างเคร่งครัด และไม่ข้ามเส้นเขตแดน และไม่กวนน้ำให้ขุ่น นั่นอาจทำให้เรื่องยุ่งยาก เราทั้ง 2 ฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหานี้ผ่านการเจรจา และพยายาทำให้สถานการณ์ผ่อนคลาย และส่งเสริมสันติภาพและความสงบสุขในพื้นที่ชายแดน”

อย่างไรก็ตาม นายจ้างไม่เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตจากฝ่ายจีนหรือไม่

สถานการณ์ปมเขตแดนบริเวณเทือกเขาหิมาลัยระหว่างอินเดียและจีนคุกรุ่นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา โดยรัฐบาลนิวเดลีและรัฐบาลปักกิ่งต่างกล่าวหากันและกันว่า มีการก้าวข้าม “เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริง (LAC)” ที่แยกดินแดนทั้งสอง พื้นที่ชายแดนดังกล่าวเป็นประเด็นการโต้เถียงมาเป้นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งและการทะเลาะกันทางการทูตมาตั้งแต่ปี 1962

เส้นแบ่งเขตควบคุมตามความเป็นจริงพาดผ่านระหว่าง อักไซชิน ฝั่งลาดักห์ กับ อักไซชิน ฝั่งซินเจียง (Aksai Chin-Xinjiang) เกิดมาจากข้อพิพาทชายแดนอินเดีย-จีนใน ปี 1962 แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่เคยสรุปร่วมกันว่า เส้นแบ่งดังกล่าวนั้นอยู่ที่พิกัดใดและมีความยาวเท่าใด

พื้นที่อักไซชินส่วนหนึ่งถูกบริหารงานโดยจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลซินเจียง แต่รัฐบาลอินเดียอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาดักห์

สั่งบึ้ม!! สำนักงานติดต่อประสานงานระหว่าง "เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้"

WHO แนะเร่งหาที่มาโควิด -19 ในตลาดปักกิ่ง ยอดป่วยทะลุ 100 ราย

เรียบเรียงจาก CNN

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ