ภัยเงียบ "ไขมันพอกตับ" มีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้กับทุกคน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




"ไขมันพอกตับ" เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ ไตรกลีเซอไรด์ ในเซลล์ตับ คือ มีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากเกินความต้องการ จนตับนำไปสร้างเป็นไขมัน (Lipogenesis)

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ ระบุว่า โรคตับที่พบบ่อยในชาวเอเชีย และคนไทย นอกจากไวรัสตับอักเสบบี, ซี และโรคตับแข็งจากการดื่มแอลกอฮอลล์แล้ว ปัจจุบันยังพบภาวะไขมันสะสมในตับ หรือ "ไขมันเกาะตับ" ในผู้ป่วยชาวไทยเพิ่มขึ้น

เตือนดื่ม “ชานมไข่มุก”บ่อย เสี่ยงโรคอ้วน-เบาหวาน-หัวใจ

อาหารลดไขมันพอกตับ ยิ่งทานยิ่งดีต่อสุขภาพ

ภาวะไขมันสะสมในตับ คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันภายในเซลล์ตับ ในรูปของไตรกลีเซอไรด์ ในคนไข้บางรายอาจพบการอักเสบของตับร่วมด้วย ซึ่งการปล่อยให้ตับอักเสบเรื้อรังอาจนำไปสู่การเกิดพังผืดในตับ หรือ ภาวะตับแข็ง ได้ในที่สุด

ในคนปกติระดับน้ำตาลจะถูกควบคุมโดยอินซูลิน (Insulin) ซึ่งผลิตมาจากตับอ่อน (Pancreas) เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง ตับอ่อนจะหลั่งอินซูลินออกมามากขึ้น โดยอินซูลินจะออกฤทธิ์ที่ตับ กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมันเพื่อให้ใช้น้ำตาล

“ไขมันทรานส์” ทำเกิดโรคหัวใจ-หลอดเลือด ส่อกระทบธุรกิจขนาดกลาง-เล็ก

แต่ในภาวะที่ดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance)  อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ (Genetic Predisposition) หรือจากพฤติกรรม (Imbalance Lifestyle), การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันมากเกินไป (High Carbohydrate and High Fat Diet) จะทำให้เซลล์ต่าง ๆ ไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ทำให้ตับอ่อนต้องผลิตอินซูลินเพิ่มมากขึ้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ เมื่อภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ตับมีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

"ในยุคนี้ไม่มีน้ำตาลไหนจะอันตรายไปกว่า High Fructose Corn Syrup ที่อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่มนำมาใช้ปรุงแต่งผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มสำเร็จรูปทั้งหลายอันเป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดที่นำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับ"

ร่างกายดื้อฮอร์โมนอิ่ม กุญแจสู่ "ความอ้วน"

ไม่ดื่มเหล้า ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ใช่ว่าจะรอด

ข้อมูลจากนักโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ไขมันพอกตับ ไม่ได้มาจากแอลกอฮอล์เท่านั้น แต่มาจาก น้ำตาลฟรุกโตส และ น้ำตาลอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า high fructose corn syrup ซึ่งมีอยู่ในอาหารมากกว่า 70% อันตรายกว่าการดื่มเหล้า ดื่มแอลกอฮอล์ เสียอีก ซึ่งคนที่ไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เลย และมีไขมันพอกตับ เรียกว่า Nonalcohol fatty liver

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทำได้คือ "เลิกทานอาหารที่มีน้ำตาลฟรุกโตส และ High fructose corn syrup" ซึ่งหากเลิกเด็ดขาด 6-8 เดือน ร่างกายจะกำจัดไขมันพอกตับ ไม่ใช่ว่าออกกำลังกายหรือรับประทานอาหารเสริมอย่างเดียวจะทำให้ไขมันพอกตับหายไปได้

อาหารที่เสี่ยงเกิด "ไขมันพอกตับ"

เปิดค่าไขมันทรานส์ในโดนัทช็อกโกแลตหลายยี่ห้อ สูงเกินเกณฑ์ WHO

ขนมและเครื่องดื่ม ประเภท ขนมปัง เค้ก เบเกอรี่ น้ำอัดลม ชานม ชาไข่มุก  พวกเครื่องดื่มอร่อยๆ ที่มีรสหวาน น้ำหวาน ของหวาน คุกกี้ แครกเกอร์ โดนัท ขนมขบเคี้ยว รวมถึงการรับประทานผลไม้หวานทีละมากๆ ก็เป็นต้นเหตุให้มีไขมันพอกตับเช่นกัน 

อ้วนซ่อนรูป ซึ่ง 1 ใน 4 กลุ่มนี้พบภาวะไขมันสะสมในตับ

ข้อมูลจากโรงพยาบาลกรุงเทพ ระบุด้วยว่า ไขมันเกาะตับอาจดูไม่รุนแรง แต่แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงเป็นโรคตับแข็งในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะคนอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักเกิน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แต่ก็ใช่ว่า คนที่มีรูปร่างผอมบาง จะไม่มีความเสี่ยง โดยเฉพาะคนอ้วนซ้อนรูป ซึ่ง 1 ใน 4 กลุ่มนี้พบภาวะไขมันสะสมในตับ

โรคฮิตช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหลังตรวจพบครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา

จากอุบัติการณ์ที่พบทำให้โรคไขมันสะสมในตับกลายเป็นโรคยอดฮิตในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากตรวจพบครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา จากคนอ้วนกลุ่มหนึ่งที่มีค่าตับที่สูงขึ้น และเมื่อตรวจอย่างละเอียดในคนไข้กลุ่มนี้ ทำให้พบว่า มีไขมันเกาะอยู่เต็มเนื้อตับ ปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มคนเอเชียที่มีรูปร่างเล็ก ผอมบาง แต่มีภาวะอ้วนลงพุง จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต กินดีอยู่ดี ไม่ชอบออกกำลังกาย

รู้ทัน “คอเลสเตอรอล”   อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง!!

อย่างไรก็ตาม ภาวะไขมันเกาะตับมีความเชื่อมโยงกับโรคเบาหวาน ความดันสูง คลอเรสเตอรอลสูง และน้ำหนัก และรอบเอวเกิน หรือรวมเรียกว่า โรคเมตะบอลิคซินโดรม ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน ในขณะที่บางรายที่เป็นมานาน จะเริ่มมีอาการจุกแน่นบริเวณชายโครงด้านขวา หรือมีอาการเริ่มต้นของภาวะตับแข็ง เช่น อ่อนเพลีย ท้องโต ปรากฎให้เห็น ในอดีตคนไข้ที่พบภาวะเสี่ยงตับแข็งหรือไขมันเกาะตับในระยะเริ่มต้น แพทย์จะทำการเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อตรวจหาความผิดปกติ และให้ยารักษา ในขณะที่ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้พัฒนาเครื่องวัดความยืดหยุ่นของตับ Fibroscan with CAP (Controlled Attenuation Parameter) ที่ให้ผลวิเคราะห์ที่แม่นยำด้วยเทคนิค อัลตร้าซาวน์ แทนการเจาะชิ้นเนื้อ เพื่อลดอาการเจ็บปวด และผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาพักรักษาตัว

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ