นักวิทย์ ชี้ แม้มีวัคซีน แต่โควิด-19 ยังอยู่อีกนาน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นักวิทยาศาสตร์ระบุ ประเทศไทยยังต้องอยู่กับโควิด-19 ไปอีกนาน ถึงแม้ว่าจะมีวัคซีนแล้ว เพราะตัวเชื้อจะมีการปรับตัว เพื่อให้อยู่ในร่างมนุษย์ได้นานที่สุด แต่คาดว่าจะไม่รุนแรงเท่ากับช่วงแรก หรือ อาจจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไปได้เช่นกัน

นักวิจัยไทย เริ่ม ทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในลิง คาด ทดสอบในคน ส.ค.นี้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ระบุว่า ตอนนี้โรคที่เราเจอในมนุษย์ส่วนใหญ่มาจากสัตว์ทั้งนั้น ทั้งอีโบล่า ซาร์ส ไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู รวมทั้งโควิด-19 เป็นเพราะประชากรของมนุษย์มีจำนวนมากขึ้น พอขยายพื้นที่ก็เข้าไปรบกวนพื้นที่ของสัตว์มากขึ้น โดยเฉพาะค้างคาว ซึ่งเป็นแหล่งรังโรค หลายๆ ชนิด อีกทั้งตัวโรค มีการกระโดดข้ามสายพันธุ์ จนมาสู่มนุษย์เมื่อร่างกายไม่มีภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดโรคค่อนข้างรุนแรง และติดต่อจากคนสู่คน จนนำไปสู่การเกิดแพร่ระบาดใหญ่ ถึงแม้ว่าในอนาคตจะมีวัคซีนป้องกัน แต่โรคต่างๆ เหล่านี้ จะมีการพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้อยู่กับพาหะ นั่นก็คือมนุษย์ได้ต่อเรื่อยๆ แต่คาดว่าจะไม่รุนแรงเท่าช่วงแรกแล้ว ดังนั้น ตัววัคซีนก็ต้องพัฒนาต่อเรื่อยๆ ทั้งประเทศไทยเอง และทั่วโลก

ส่วนการเปิดประเทศในอนาคตข้างหน้า ดอกเตอร์ อนันต์ ระบุว่า ยังไงก็ต้องเปิด เพราะประเทศเราต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่กระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่จะต้องเข้มงวด ซึ่งที่ผ่านมาในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ คิดว่าประเทศไทยก็ทำได้ดี ทั้งการที่จะต้องกักตัวก่อน 14 วัน ชุดตรวจที่ทราบผลรวดเร็วขึ้น และคิดว่าก็คงจะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับประโยชน์มากที่สุด

นอกจากนี้แล้ว ทีมวิจัยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กำลังเร่งพัฒนาวัคซีนโควิด-19 โดยใช้เทคโนโลยี ไวรัล เวกเตอร์ ซึ่งรูปแบบจะเป็นการใช้ “พาหะ” หรือ “เวกเตอร์” นำพาชิ้นส่วนของพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เข้าสู่เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันได้โดยตรง

โดยวิธีการคือ แฝงเข้าไปกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่เราใช้ทุกวันนี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายของผู้รับ เวกเตอร์ที่มีชิ้นส่วนของพันธุกรรมเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จะเข้าสู่เซลล์ของผู้รับแล้วทำให้ผลิตโปรตีนภายในเซลล์ของร่างกาย เป็นกลไกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการติดเชื้อโดยธรรมชาติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งอยู่ระหว่างการทดลองในหนูขาว ซึ่งพบว่ามีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี และหลังจากนี้ จะทดสอบในหนูแฮมสเตอร์ต่อ เพราะสามารถเกิดโรคโควิด 19 คล้ายกับมนุษย์ หากได้ผลดี ก็จะขออนุญาตหน่วยงานเพื่อทดสอบในมนุษย์ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 เฟส ต่อไป

อินเดียจะมีบทบาทสำคัญในการผลิตวัคซีนโควิด-19

 

 

 

 

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ