“โจ ไบเดน” เคาะเลือก สว.ผิวสี เป็นผู้ท้าชิงรองปธน.สหรัฐฯ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




อีกประมาณ 2 เดือนครึ่ง สหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 3 พฤศจิกายน เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 และความขัดแย้งเรื่องสีผิวและเชื้อชาติ

นอกเหนือจากผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งตอนนี้ชัดเจนแน่นอนแล้วว่า ทางพรรคเด โมเครตจะส่ง โจ ไบเดน เป็นตัวแทนพรรค ส่วนทางพรรครีพับลิกัน ตัวแทนของพรรค คือ โดนัลด์ ทรัมป์ สิ่งที่คนให้ความสนใจมากอีกคือ ทั้งสองคนจะเลือกใครเป็น Running Mate หรือคู่หา เสียง ซึ่งจะเป็นคนที่ได้เป็นรองประธานาธิบดีหากชนะเลือกตั้ง

“โจ ไบเดน” คว้าตัวแทนเดโมแครต ชิงเก้าอี้ปธน.สหรัฐฯ กับ “ทรัมป์”

สำหรับโดนัล ทรัมป์ แน่นอนว่า ต้องเลือกไมค์ เพนน์ รองประธานาธิบดี เพราะคือทีมเดิมทีมเดียวกัน ส่วนของโจ ไบเดน หลังจากคาดการณ์กันอยู่ระยะหนึ่ง ในที่สึดก็มีการประกาศแล้วว่า Running Mate คือ คาร์มาลา แฮร์ริส สมาชิกวุฒิสภาหญิงเชื้อสายแอฟริกัน-เอเชีย

ด้าน โจ ไบเดน ประกาศผ่านอีเมลแถลงการณ์ว่า ตัดสินใจเลือก คาร์มาลา แฮร์ริส เป็นคู่ ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี เธอเป็นคนที่เหมาะสมที่สุดในการช่วยเขาที่จะต่อสู้กับ โดนัลด์ ทรัมป์ และไมค์ เพนซ์ ในการเลือกตั้งครั้งนี้

โจ ไบเดนยังได้โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ด้วยว่า คาร์มาลา แฮรริส เป็นนักสู้ผู้ไม่กลัว และหนึ่งในนักต่อสู้เพื่อคนต่างๆมากมาย โดยเฉพาะเยาวชน เด็ก ๆ และสตรีที่ถูกล่วง ละเมิด

ด้าน คาร์มาลา แฮร์ริส โพสต์ข้อความบนทวิตเตอร์เช่นกันว่า ไบเดนจะสามารถทำให้อเมริกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ สามารถทำให้สหรัฐฯ ดำเนินไปตามแนวทางอุดมคติ ซึ่งเธอ พร้อมจะสนับสนุนเขาให้เป็นผู้นำประเทศอย่างเต็มที่

ขณะที่โจ ไบเดน  และ คาร์มาลา แฮร์ริส จะ มีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์พร้อมกันในวันพรุ่งนี้ (13 ส.ค. 2563) ส่วนการประชุมใหญ่ของพรรคเพื่อเลือกผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและคู่หาเสียง อย่างเป็นทางการในวันจันทร์หน้า

 

การประกาศชื่อของ คาร์มาลา แฮริส เป็นคู่ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของโจ ไบเดน ต้องบอกว่าไม่น่าแปลกใจมาก เพราะชื่อของเธอติดโผมาโดยตลอด ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา เธอจากเคยออกมาวิพากษ์วิจารณ์ โจ ไบเดนหลายครั้ง คำถามที่น่าสนใจคือ ทำไม โจ ไบเดนจึงเลือกเธอ ทำไมเธอจึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในขณะนี้

สำหรับ คาร์มาลา แฮร์ริส เกิดในเมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย แม่ของเป็นชาวอินเดีย พ่อ ของเธอเป็นชาวจาไมการ์ ทั้งคู่ย้ายมาตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกาจนได้สัญชาติอเมริกัน แม่ของแฮร์ริสเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านมะเร็งเต้านม ที่เดินทางมาศึกษาต่อระดับ ปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในสหรัฐอเมริกา ขณะที่พ่อของเธอ เดินทางมาศึกษาต่อด้านเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เช่นกัน และปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณด้านเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟ อร์ด

โดยแฮริส ศึกษาระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยโฮแลนด์ในกรุงวอชิงตัน ดีซี มหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยของ ชาวผิวสีในอดีต

เริ่มเส้นทางอาชีพน่าสนใจ เริ่มจากตำแหน่งผู้ช่วยอัยการประจำเขตในรัฐแคลิฟอร์เนีย จนเป็นอัยการเขตผิวสีคนแรกของเมืองซานฟรานซิสโกในปี 2004 เป็นดาวรุ่ง ไต่เต้าเส้นทางอาชีพมาเรื่อย ๆ ชนะการเลือกตั้งเป็นอัยการสูงสุดผิวสีคนแรก ของรัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2011 จนต่อมาชนะการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี 2017 จนถึงปัจจุบัน เป็นที่รู้จักกันดีว่า เธอมักผลักดันนโยบายเกี่ยวกับเยาวชน และการปฏิรูประบบยุติธรรม เพื่อความเท่าเทียมด้านสีผิวและเชื้อชาติ เป็นคนหนึ่งที่ต่อต้านนโยบายพรากลูกจากผู้อพยพของโดนัลด์ ทรัมป์อย่างสุดกำลัง

จริง ๆ แล้ว แฮร์ริสได้ลงแข่งขันเพื่อขอรับเลือกเป็นตัวแทนของพรรคเดโมเครตในการชิง ตำแหน่งประธานาธิบดีในครั้งนี้ด้วย พูดง่าย ๆ คือ เธอเคยคิดเป็นคนที่ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเอง แต่ในที่สุดก็ขอถอน ตัว เปิดทางให้ โจ ไบเดน ได้เป็นผู้แทนของพรรคแทน ซึ่งในระหว่างที่แข่งขันเป็นตัวแทนพรรค เธอเคยขึ้นเวทีดีเบทกับโจ ไบเดน และวิพากษ์ วิจารณ์โจ ไบเดนอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการแบ่งแยกสีผิวและเชื้อชาติ หลังจากเธอถอนตัวจากการเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เธอก็หันมาเดินสายหา เสียงสนับสนุนโจ ไบเดนอย่างเต็มที่

อีก 100 ล้านโดส! สหรัฐฯตกลงซื้อวัคซีนโควิด-19

ก่อนหน้านี้มีนักการเมืองหญิงอีก 3 คน ที่อยู่ในลิสต์รายชื่อตัวเต็งที่ไบเดนอาจเลือกเป็น คู่หาเสียง ทั้งอลิซาเบ็ท วอร์เรน สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแมสซาชูเสตส์  ซูซาน ไรส์ นักการทูตหญิงเชื้อสายจาไมการ์ อดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลสมัยบารัก โอบามา  และแทมมี ดักเวิร์ธ สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐอิลลินอยส์ ลูกครึ่งไทย-อเมริกัน คุณสมบัติเยี่ยม ทุกคนดูดีหมด เพียงแต่ว่าในสถานการณ์ขณะนี้ คามาลา แฮร์ริส อาจจะ เหมาะสมที่สุดที่จะมาเคียงคู่ ช่วยเหลือ โจ ไบเดน เพื่อโค่นประธานาธิบดีทรัมป์

เป็นการเลือกที่พรรคเดโมเครตได้ถอดบทเรียนจากการเลือกตั้งคราวที่แล้ว ที่ตัวแทน ของพรรคคือ ฮิลลารี่ คลินตัน พ่ายแพ้ทรัมป์ไปอย่างเฉียดฉิว และบทเรียนแรกคือ ทำอย่างไรที่จะดึงคนผิวดำให้มาลงคะแนนเสียงให้มากที่สุด คราว ที่ฮิลลารี่แพ้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เป็นการเลือกตั้งที่คนผิวดำออกมาใช้สิทธิ์น้อยที่สุดในรอบ 20 ปี

คาร์มาลา แฮร์ริส ไม่ได้มีเพียงเชื้อสายแอฟริกัน แต่เธอเป็นลูกครึ่งแอฟริกัน-เอเชีย พื้นเพความหลากหลายของเธอจะช่วยเป็นสัญลักษณ์ของความหลากหลายให้กับโจ ไบ เดน ในเวลาที่สังคมอเมริกันต้องการมากที่สุด การผลักดันเรื่องความเท่าเทียมทางสีผิวและเชื้อชาติตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี และ จุดยืนของเธอต่อเรื่องความรุนแรงของตำรวจถือว่ามาเสริมโจ ไบเดน และตัดขาตัด คะแนนทรัมป์ได้เป็นอย่างดี ที่น่าสังเกตุคือ เธอมีอายุเพียง 55 ปี ซึ่งถือว่าเด็กมากสำหรับการลงการเมืองสนามนี้ จึงถูกมองว่า การเลือกเธอนอกจากจะเรียกเสียงสนับสนุนจากคนดำแล้ว ยังต้องการดึง เสียงคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นคนกลุ่มที่ไม่ออกมาเลือกตั้งคราวที่แล้วเพราะไม่ชอบฮิลลารี่ เพราะพวกเขามองว่า ฮิลลารี่เป็นตัวแทนของทุนวอลสตรีท ไม่มีหัวปฏิรูปหรือคิดถึงคน รากหญ้า พอกลุ่มคนที่เป็นฐานเสียงหลักของพรรคไม่ออกมา ฮิลลารี่ก็เลยแพ้ไป เพราะในอีกทาง ทรัมป์ประสบความสำเร็จที่ดึงคนหัวอนุรักษ์นิยมหรือฝ่ายขวาออกมาลงเสียงให้เขาได้

อีกประเด็นที่มีการวิเคราะห์กันว่า กมลา แฮร์ริสเป็นตัวเลือกที่เหมาะคือ เธอเป็นคนที่กัดทรัมป์ไม่ปล่อยในหลายๆประเด็น โดยในปี 2017 เธอเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาที่ไต่สวน Jeff Sessions อัยการสูงสุด ที่ถูกตั้งขอกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันกับรัสเซียในการแทรกแซงผลการเลือกตั้งให้ทรัมป์ชนะ ระหว่างการสืบสวน Jeff Sessions พูดกับคามาลาว่า เธอทำให้ฉันประหม่า

 

และสุดท้ายที่สำคัญในการเมืองทุกประเทศคือ เรื่องเงิน การเลือกตั้งสหรัฐ ประเทศประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก การชนะเลือกตั้ง ไม่เพียงแค่ต้องมีคุณสมบัติที่เป็นที่ต้องการของคนส่วนใหญ่แล้ว สำคัญไม่แพ้กันคือ เรื่องกลยุทธ์การหาเสียงและเงินทุนสนับสนุน ที่สหรัฐ นอกเหนือจากประชาชนทั่วไปจะบริจาคเงินให้ผู้สมัครที่ตนชื่นชอบได้ กฎหมาย ยังอนุญาตให้มีการระดมเงินทุนจากบริษัทใหญ่ๆ มหาเศรษฐีได้อย่างไม่จำกัดจำนวน ด้วย ที่เรียกกันว่า Super Pack ใครระดมเงินได้เยอะ กระสุนเยอะ โอกาสชนะก็เยอะ

มีรายงานว่า กมลา แฮร์ริส มีความสามารถในการระดมเงินทุนได้ เธอได้รับการสนับสนุนเยอะ และนั่นอาจคือเหตุผลหนึ่งที่เธอได้รับเลือก โดยเธอได้จัดอีเวนท์ระดมทุนให้โจ ไบเดนในเดือนมิถุนายน ที่สามารถระดมทุนเงินได้ มากกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าอีเวนท์ที่ฮิลลารี คลินตันจัด ระดมทุนให้กับโจ ไบเดนเสียอีก

 

อีกประเด็นสำคัญที่น่าจับตามองคือ นี่เป็นกลยุทธ์ของเดโมเครตหรือไม่ในการ Tranform หรือการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงพรรค เป็นอีกหนึ่งของการถอดบทเรียนจาก การแพ้การเลือกตั้งในคราวที่แล้ว

โดยตั้งแต่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง พรรคเดโมแครตได้พยามปฏิรูปพรรคให้มีนโยบายที่ ก้าวหน้ามากขึ้น ชูประเด็นความหลากหลายมากขึ้น และที่สำคัญให้ความสำคัญกับคน รุ่นใหม่มากขึ้น เห็นได้ชัดจาก อเล็กซานเดรีย โอคาซิโอ คอร์เทซ ชาวอเมริกันเชื้อสาย ลาติน หรือ อิลาน โอมาร์ ผู้อพยพชาวมุสลิมจากโซมาเลีย ที่เข้ามาเป็นสมาชิกรัฐสภาที่ มีบทบาทมากในการเมืองอเมริกัน

ไบเดนมีอายุ 77 ปี ถ้าชนะเลือกตั้ง ในวันที่สาบานตนเข้ารับตำแหน่ง เขาจะมีอายุ 78 ปี ซึ่งจะถือเป็นเป็นประธานาธิบดีที่อายุมากที่สุดในวันเข้ารับตำแหน่ง ในขณะที่แฮร์ริส มีอายุเพียง 55 ปี มีการส่งสัญญานมาแล้วว่าถ้าชนะเลือกตั้งปีนี้ โจ ไบเดนจะไม่ลงต่อในสมัยที่ 2 (ซึ่งถือว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ) และถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ในการเลือกตั้งปี 2024 คนที่จะลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจะคือ คามาลา แฮร์ริส  

ไบเดนเคยพูดไว้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า การลงสมัครเลือกตั้งครั้งนี้ของเขา เขา มองตัวเองเป็นสะพานที่เชื่อมการเมืองอเมริกันกับผู้นำรุ่นใหม่ ที่เป็นอนาคตของประเทศ การพูดของเขาครั้งนั้นเกิดขึ้นระหว่างที่เขาหาเสียงเคียงคู่กับแฮร์ริส ความตั้งใจของไบเดนถูกตีความว่า เขาอาจเปิดทางให้แฮร์ริสลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2024 และการทำเช่นนั้นก็เพื่อส่งสัญญาน ส่งเสียงไปถึงกลุ่มคนที่เป็นฐานของพรรคไม่ว่าจะ เป็นคนผิวดำ ผู้หญิง คนรุ่นใหม่ ว่าเดโมเครตกำลังเปลี่ยนแปลง และเดโมเครตฟังเสียง ของคนเหล่านั้น

ด้านประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปีนี้จากพรรครีพับลิกัน ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เขารู้สึกประหลาดใจกับการตัดสินใจครั้งนี้ของไบเดน และยังพูดพาดพิงแฮร์ริสอีกว่า เธอเป็นนักการเมืองที่ผลงานแย่

โดยคาร์มาลา แฮร์ริส มีกำหนดขึ้นโต้วาทีกับ ไมค์ เพนซ์ คู่หาเสียงของโดนัลด์ ทรัมป์ ในวันที่ 7 ตุลาคมที่จะถึงนี้ หากไบเดนชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือนพฤศจิกายนนี้ คาร์มาลา แฮร์ริส จะ กลายเป็นรองประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐอเมริกา และถ้าหากเธอลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2024 และชนะการเลือกตั้ง เธอ จะกลายเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของสหรัฐฯ

ก่อนหน้านี้มีผู้หญิง 2 คนที่เคยได้รับเลือกให้เป็นคู่ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดี หนึ่งใน นั้นคือ ซาร่าห์ เพลิน ที่ลงคู่กับจอห์น แมคเคน จากพรรครีพับลิกันในปี 2008 ที่คราว นั้นแพ้เลือกตั้งให้กับโอบามาไป

คาร์มาลา แฮร์ริส สตรีลูกครึ่งจาไมกา-อินเดีย สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย วัย 55 ปี ได้รับเลือกจากโจ ไบเดน ผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ให้เป็นคู่หาเสียงหรือ Running Mate ในการหาเสียงชิงเก้าอี้ตำแหน่งประธานาธิบดีในวัน ที่ 3 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ซึ่งถ้าหากโจ ไบเดนชนะการเลือกตั้ง คาร์มาลา แฮรริส คู่หา เสียงของไบเดน จะได้เป็นรองประธานาธิบดีไปโดยทันที

คาร์มาลา แฮรริส นับเป็นสตรีเชื้อสายแอฟริกัน-เอเชียคนแรก ที่ได้รับเลือกให้เป็นคู่หา เสียงของผู้ท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกัน

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ