วัคซีนโควิด-19 จากใบยาสูบได้ผลดี ขอ อย.อนุมัติ ผลิตเองในไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หลังจากมีการเปิดเผยความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ไทยจากบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม สามารถพัฒนาวัคซีนโควิด-19 และแอนติบอดีในการยับยั้งไวรัสจากใบยาสูบชนิดพิเศษได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกในการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 นั้น

จุฬาฯ เดินหน้า วิจัยยารักษาไวรัสโควิด-19 จากต้นยาสูบ

อิสราเอลพัฒนาวัคซีนแอนติบอดีต้าน โควิด-19 สำเร็จ

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย CEO และ Co-founder ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ระบุว่า ทีมวิจัยร่วมกันพัฒนาเทคนิคสกัดโปรตีนจากไวรัสโคโรนาผ่านใบยาสูบ หรือ โปรตีน ซับยูนิท  เพื่อนำมาพัฒนาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยมีทั้งหมด 6 ต้นแบบวัคซีน

อัปเดต สถานการณ์โควิด-19 ทั้งในไทยและต่างประเทศทั่วโลก 26 ส.ค.2563

2 ต้นแบบแรก ผ่านการทดลองในหนูขาว และลิงแล้ว โดยฉีด 2 ครั้งห่างกัน 3 สัปดาห์ พบ หนูขาวและลิงมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น โดยในหนูขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสในระดับหลอดทดลองได้ ส่วนลิงสามารถกระตุ้นแอนติบอดีในการติดเชื้อไวรัสได้เช่นกัน ในจำนวนนี้ จะมีการนำวัคซีน 1 ตัวมาฉีดในลิงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อทดลองซ้ำ เนื่องจากครั้งแรกได้ผลดีมาก

ส่วนอีก 3 ต้นแบบ จะฉีดในหนูขาว ภายในเดือนกันยายนนี้ และ อีก 1 ต้นแบบ กำลังอยู่กระบวนการวิจัยเพิ่มเติม  ซึ่งความแตกต่างของวัคซีนแต่ละตัว คือระดับความเข้มข้นของสารที่จะฉีดเข้าไป เพื่อดูผลที่เหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้

ขณะนี้ อยู่ระหว่างขออนุญาต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในการทดลองในมนุษย์ และขอให้สามารถผลิตวัคซีนได้ในประเทศ มีโรงงานของไทยเอง ไม่ต้องรอต่างประเทศ เมื่อ อย.อนุญาตแล้ว ก็จะขอสนับสนุนจากรัฐบาล ในการสร้างโรงงาน เพราะต้องใช้งบประมาณสูงถึง 500 ล้านบาท

นอกจากนี้แล้ว บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ยังวิจัย ยารักษาโควิด-19 จากใบยาสูบด้วยเช่นกัน ซึ่งอยู่ในขั้นตอนเตรียมทดลองในหนูแฮมสเตอร์ เพื่อดูผล โดยการทดลองยาจะต้องฉีดเชื้อไวรัสโคโรนาเข้าไปว่า ยาไปจับกับไวรัส แล้วทำให้หายหรือไม่

โดยทางบริษัทหวังว่า หากการวิจัยยา สำเร็จ จะสามารถช่วยลดการนำเข้า ยาฟาวิพิราเวียร์ที่ต้องสั่งซื้อจาก ต่างประเทศ และใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 เช่นเดียวกับ ฟ้าทะลายโจรของกระทรวงสาธารณสุข ที่ทดลองในผู้ป่วยที่มีอาการน้อยแล้วได้ผลดี

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ