กองทัพเรือ ยกอดีตไทยถูกปิดอ่าว 3 ครั้ง ตอกย้ำซื้อเรือดำน้ำจำเป็น!


โดย PPTV Online

เผยแพร่




โฆษกกองทัพเรือ ออกมาตอบโต้ “ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร” ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย หลังท้าผบ.ทร.ดีเบตเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำ โดยระบุว่า นายยุทธพงศ์ ไม่รู้ว่าความเข้าใจของตัวเองไม่ถูกต้อง พร้อมเผยแพร่บทความผ่านเพจเฟซบุ๊กกองทัพเรือตอกย้ำวามจำเป็นที่ไทยต้องมีเรือดำน้ำ โดยหยิบยกเหตุการณ์ไทยถูกปิดอ่าว 3 ครั้งในอดีต

หมิ่นกองทัพเรือ! ส่งทหารพระธรรมนูญ เอาเรื่อง 'ส.ส.เพื่อไทย' ขยี้ปม 'เรือดำน้ำ' ทำเสียหาย

"ยุทธพงศ์" จ่อร้อง ป.ป.ช.สอบทร. ปมซื้อเรือดำน้ำจีทูจี

เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2563 เพจเฟซบุ๊ก กองทัพเรือ โดย โฆษกกองทัพเรือ เผยแพร่บทความเรื่อง “มีเรือดำน้ำไปทำไม ในบริบทข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์” เพจเฟซบุ๊กนี้มี พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ โฆษกกองทัพเรือ เป็นผู้ดูแล ได้ยกประวัติศาสตร์ ที่กองทัพเรือใช้เป็นข้อมูลยืนยันความจำเป็นของเรือดำน้ำ ระบุว่า ไทยมีข้อจำกัดด้านภูมิศาสตร์ เนื่องจากอ่าวไทยเป็นอ่าวปิดลึกเข้ามาในคาบสมุทร โดยในอดีตไทยเคยถูกปิดอ่าว 3 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งแรก สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ฮอร์ลันดาเอาเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยามาปิดทางออกสู่ทะเลของไทย โดยเหตุการณ์นี้กองทัพเรืออ้างอิงละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ครั้งที่ 2 เหตุการณ์ รศ.112 สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสปิดปากอ่าวไทย จนไทยต้องเสียดินแดนไปเกือบขนาดเท่าในประเทศไทยในปัจจุบัน และครั้งที่ 3 คือ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือดำน้ำสหรัฐฯจมเรือขนส่งน้ำมันชื่อ ชื่อ ร.ล.สมุยบริเวณปากอ่าวไทย ทหารเรือสละชีพไป 36 นาย มีผลทำให้ไม่สามารถขนส่งน้ำมันจากทางทะเลเข้าสู่ประเทศได้ กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจแทบจะหยุดชะงัก ประชาชนก็เดือดร้อนกันทั่ว โดยทั้ง 3 เหตุการณ์ กองทัพเรือ ระบุว่า ล้วนมาจากจุดอ่อนด้านภูมิศาสตร์ของไทย ที่ผู้รุกรานสร้างความเสียหายให้กับไทยไว้อย่างมหาศาล  

จริงหรือ 'เรือดำน้ำ' เทคโนโลยีสงครามราคาสูง กำลังล้าสมัย จ่ายแสนเพง เพื่อถูกล่า!

โดยในบทความนี้ยังได้อธิบายต่อว่า เมื่อไทยมีจุดอ่อนด้านภูมิศาสตร์ลักษณะนี้ต้องแก้ไขอย่างไร  ซึ่งได้นำไปเปรียบเทียบกับเยอรมันที่มีลักษณะเหมือนประเทศไทยกลับหัว มีทะเล 2 ฝั่งแต่ถูกคั่นด้วยประเทศที่ 3 ท่าเรือหลักคือ Hamburg และ Wilhelmhaven อยู่ในทะเลบอลติกและทะเลเหนือ ซึ่งเส้นทางการเดินเรือจะต้องผ่านหลายประเทศ แม้จะมีคลองคีล แต่ในยามสงครามก็ถูกปิดกั้นโดยง่ายจากทุ่นระเบิดวางโดยข้าศึก จึงจำเป็นต้องสร้างศักยภาพในการป้องปรามต่อประเทศที่จะมาคุกคามเส้นทางเดินเรือ และขนส่งพลังงานเข้าสู่ประเทศ ด้วยการคงประจำการเรือดำน้ำพลังงานไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดชั้น 212A จำนวน 6 ลำ แม้จะยกเลิก (สนธิสัญญาวอร์ซอ) Warsaw Pack ไม่มีภัยคุกคามที่เด่นชัดแล้วก็ตาม

ด้วยเหตุนี้กองทัพเรือพยายามทำความเข้าใจกับประชาชนผ่านบทความนี้ว่า เรือดำน้ำ อาจไม่ได้มาจากภัยคุกคามเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความจำเป็นต้องสร้างศักยภาพในการป้องปรามด้วย 

กองทัพเรือ แจงยิบจัดซื้อเรือดำน้ำแบบจีทูจี อย่าโยงการเมือง

ซึ่งภายหลังเผยแพร่บทความนี้ออกไป มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นจำนวนมาก ทั้งเห็นด้วยกับการซื้อเรือดำน้ำ และการแสดงความกังวลเรื่องความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ    

นอกจากนี้  พล.ร.ท.ประชาชาติ ยังกล่าวถึงกรณีที่นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ท้าผู้บัญชาการทหารเรือ ดีเบต พร้อมเปิดเผยเอกสาร Full Powers ว่า "คนเราไม่รู้ว่าที่ตัวเขาเข้าใจน่ะมันไม่ใช่ ที่จะมาเทียบกับการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ เพราะยังมีกฏระเบียบทางราชการของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม และสำนักงานอัยการสูงสุด อีกหลายด่านกว่าเขาจะอนุมัติให้กองทัพเรือไปดำเนินการได้”

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ