3 คำนิยาม สถานะหนี้คนไทย "หนี้นาน หนี้อายุน้อย หนี้เยอะ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




คนไทย หนี้นาน หนี้อายุน้อย หนี้เยอะ 3 คำนิยามที่อธิบายสภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยในปัจจุบันได้ชัดเจนที่สุด สะท้อนจากข้อมูลจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ได้เผยข้อมูลจากเครดิตบูโรพบว่า

1. คนไทยเริ่มเป็น หนี้เร็วขึ้นและเป็นหนี้เสียตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 29-30 ปี โดยช่วงที่เริ่มเป็นหนี้จะอยู่ที่ประมาณ 25 ปี จากสินเชื่ออุปโภคบริโภคหรือหนี้บัตรเครดิต ถือเป็นช่วงอายุที่มีหนี้มากที่สุด และในกลุ่มนี้มี 1 ใน 5 ที่เป็นหนี้เสีย และ 84% ของครัวเรือนก็ยังพึ่งพาหนี้จากสถาบันการเงินกึ่งในระบบและนอกระบบเป็นสัดส่วนสูง

รัฐบาล ประกาศ ลุยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ช่วยปชช. ครอบคลุมทุกมิติ

2. คนไทยเป็น หนี้นานขึ้น

อย่างกล่าวไปว่า คนช่วงอายุ 20-30 ปี เริ่มเป็นหนี้เร็วขึ้น และอยู่ในระดับสูง ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วันเกษียณ หนี้ก็ไม่ได้มีแนวโน้มจะลดลง ซึ่งเฉลี่ยเมื่อถึงวัยเกษียณจะยังคงมีหนี้อยู่ถึง 70,000-80,000 ต่อราย

3. คนไทยมีหนี้มากขึ้น จากข้อมูลระบุว่า มูลหนี้ต่อคนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ในระยะเวลาเพียง 6 ปี จากปี 2553 มีหนี้เฉลี่ย 70,000 บาทต่อคน พอปี 2559 มีหนี้เฉลี่ย 150,000 บาทต่อคน และปัจจุบันมีหนี้สูงถึง 128,000 บาทต่อราย และ 16% ที่มีหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน

ขณะเดียวกันเมื่อมาดูสถานะหนี้ครัวเรือนของไทยพบว่า ไตรมาส 1 ปี 2563 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 80.1%  ขณะที่ในปี 2552 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ที่ 50.4% และเจอปัจจัยซ้ำจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลทำให้ครัวเรือนจำนวนมากมีปัญหาในการชำระหนี้ก็ได้ตอกย้ำถึงความเปราะบางดังกล่าว

โพลชี้ ปชช.ห่วงการเมืองแตกแยก ทุจริต ทุกข์หนักหนี้พุ่ง ของแพง เสี่ยงตกงาน แต่รัฐจะซื้อเรือดำน้ำ!

โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งคือ เจาะความท้าทายใหม่ของหนี้ครัวเรือนไทยในวิกฤติโควิด-19 จากข้อมูลสินเชื่อที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งในตอนหนึ่งของงานวิจัย ศึกษาคุณลักษณะของบัญชีและผู้กู้ที่เข้ามาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมากว่า 8.1 ล้านบัญชี คิดเป็นมูลหนี้ทั้งหมด 2.2 ล้านล้านบาท (หรือประมาณ 70% ของตัวเลขจำนวนบัญชีที่เข้ามาตรการจากธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2563)

ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างสมมติฐานเพื่อแยกแยะบัญชีดังกล่าวจากฐานข้อมูลเชิงสถิติจากเครดิตบูโร ที่ครอบคลุมสินเชื่อรายย่อยจากสถาบันการเงิน 102 แห่ง โดยในข้อมูลไม่ได้มีการรายงานสถานะการเข้ามาตรการจากสถาบันการเงินแต่อย่างใด พบว่า

ณ สิ้นเดือนมิถุนายน สินเชื่อส่วนใหญ่ (59.7%) เข้ามาตรการในเดือนเมษายน โดย 42.4% เข้ามาตรการครบ 3 เดือนในเดือนมิถุนายน ขณะเดียวกันก็มีบัญชีกว่า 16.6% ที่เข้ามาตรการแล้วออกไปก่อนครบ 3 เดือน

ออมสิน ยืดพักชำระหนี้ลูกค้า เจอโควิด-19 ถึงสิ้นปี

และเมื่อพิจารณาลักษณะการเข้ามาตรการของบัญชีทั้งหมด พบว่า

70.5% เป็นการเลื่อนชำระ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจสะท้อนถึงการมีปัญหาในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในวงกว้าง

25.8% เป็นการลดอัตราการชำระ

และ 3.7% เข้ามาตรการสำหรับหนี้เสีย (ปรับโครงสร้างหนี้ หรือคลินิกแก้หนี้)

ขณะเดียกัน ผู้กู้ส่วนใหญ่ (76.1%) มีสินเชื่อเข้ามาตรการเพียง 1 บัญชี แต่ก็มีผู้กู้อีก 7.3% ที่เข้ามากกว่า 2 บัญชี และอีก 4.9% ยังได้สินเชื่อใหม่เพื่อเป็นสภาพคล่องฉุกเฉินด้วย

ธปท. ช่วยลูกหนี้รายย่อย หั่นดอกเบี้ยบัตรเครดิต-สินเชื่อ 2-4%

โควิด-19 ทำเงินหด หนี้บัตรท่วม How To แก้หนี้ ปรึกษาฟรี 'คลินิกแก้หนี้' รับสิทธิลดดอกเบี้ย

 ที่มา : เจาะความท้าทายใหม่ของหนี้ครัวเรือนไทยในวิกฤติโควิด-19 จากข้อมูลสินเชื่อที่เข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือ

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ